ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีรถไฟหัวหวาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
ในอดีต สถานีรถไฟหัวหวายเคยเป็นต้นทางของ[[ทางรถไฟขนฟืน สายหัวหวาย-ท่าตะโก]]ที่เปิดใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2450 โดยใช้ทางกว้างขนาด 0.60 เมตร โดยมีปลายทางที่ บ.ปลายราง ต.อุดมธัญญา อ.ตากฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดป่า ตัดฟืน และลำเลียงไปใช้ยังสถานีต่างๆในทางสายเหนือ
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 จึงได้ปรับปรุงเป็นทางกว้างขนาด 1.00 เมตรและปรับแก้เปลี่ยนแนวและปลายทางเดิมจาก บ.ปลายราง ไปเป็นตัวตลาดท่าตะโก ใน อ.ท่าตะโก โดยได้มีการถมคันทางจนแล้วเสร็จถึงบริเวณวัดท่าตะโก บ.ท่าตะโก ต.ท่าตะโก อ.ท่าตะโก และได้ดำเนินการวางรางจนถึงบริเวณบ.หลักสิบเก้า ต.อุดมธัญญา อ.ตากฟ้า แต่ก็ประสบปัญหาเรื่องงบประมาณเรื่อยมา จนในปี พ.ศ. 2507 ก็ได้มีการประกาศยกเลิกการเดินรถและมีการส่งมอบพื้นที่ให้แก่หน่วยราชการอื่นต่อไป
 
ปัจจุบันแนวคันทางรถไฟสายนี้ได้กลายเป็น[[ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3329]] และบางส่วนของถนนสาย บ.ทำนบ - บ.ท่าตะโก ไปแล้วโดยยังมีซากคันทางให้เห็นบริเวณประแจด้านเหนือของสถานีหัวหวาย และบริเวณสามแยกวัดทำนบ ต.ทำนบ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ รวมถึงชื่อหมู่บ้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทางรถไฟสายนี้ เช่น บ.หัวประแจ บ.หลักสิบเก้า และ บ.ปลายราง.
 
==อ้างอิง==