ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลนครสมุทรสาคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Aaroadsthai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
|รหัสiso=7499
|พื้นที่=
|ประชากร=55,377
|ประชากร=56,444<!--รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2549 กรมการปกครอง-->
|ปีสำรวจประชากร=25492551
|ความหนาแน่น=
<!-- ข้อมูลสำนักงาน (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
|สำนักงาน= สำนักงานเทศบาลนครสมุทรสาคร เลขที่ 920/186 ถนนสุคนธวิท [[อำเภอเมืองสมุทรสาคร]] [[จังหวัดสมุทรสาคร]] 74000
|โทรศัพท์= 0 4425 6500034-411208
|โทรสาร=
|เว็บไซต์= http://www.nakornsakhon.com/ http://www.nakornsakhon.com/
}}
 
==ประวัติเทศบาลนครสมุทรสาคร==
 
" จากสุขาภิบาลท่าฉลอม สู่ เทศบาลนครสมุทรสาคร "
 
ในปี ร.ศ.๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานดำริในการกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่นขึ้น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศใช้ “พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพ ฯ ร.ศ.๑๑๖“ ขึ้น จากการที่ทรงมอบหมายให้ไปศึกษาดูงานการปกครองในประเทศพม่า มลายู และยุโรป และได้เริ่มทำการทดลองเพื่อเป็นการศึกษาในกรุงเทพ ฯโดยสุขาภิบาลนี้ ในชั้นต้นมีหน้าที่ “…ทำลายขยะมูลฝอย การจัดเก็บที่ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะของประชาชนทั่วไปจัดการห้ามต่อไปในภายหน้า อย่าให้ปลูกสร้างหรือซ่อมโรงเรือนที่จะเป็นเหตุให้เกิดโรค ขนย้ายสิ่งของโสโครกแลสิ่งรำคาญของมหาชนให้พ้นไปเสีย”
 
การบริหารงานของสุขาภิบาลกรุงเทพ ฯ นี้ ดำเนินการโดยข้าราชการทั้งหมดประกอบด้วยกรมสุขาภิบาล สังกัดกระทรวงนครบาลเป็นเจ้าหน้าที่โดยใช้วิธีประชุมเป็นคราวๆไปและเมื่อ พิจารณารูปแบบการปกครองแล้วจึงไม่อาจกล่าวได้ว่าสุขาภิบาลกรุงเท ฯ เป็นการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากประชาชนมิได้มีส่วนร่วมแต่อย่างใด เป็นการดำเนินการโดยข้าราชการทั้งหมดและใช้จ่ายจากงบประมาณส่วนกลาง
มูลเหตุแห่งการเกิดสุขาภิบาลท่าฉลอม
 
ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ.๒๔๔๗) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสตำบลพระประแดง ซึ่งในขณะนั้นยังมีฐานะเป็นเมืองนครเขื่อนขันฑ์ ได้ทรงพบสภาพพื้นที่บริเวณเมืองเลอะเทอะเฉอะแฉะด้วยโคลนตม มีกลิ่นเหม็นอับไม่ต้องด้วยสุขภาพ พอรุ่งขึ้นเสด็จออกประชุมเสนาบดี ทรงเล่าให้ที่ประชุมเสนาบดีฟังว่า ได้ทรงเห็นถนนและตลาดเมืองนครเขื่อนขันฑ์สกปรกโสโครก ทรงกล่าวว่า “สกปรกเหมือนตลาดท่าจีน” ขณะนั้นเมืองนครเขื่อนขันฑ์ขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล ส่วนตลาดท่าจีนที่ทรงกล่าวถึง คือตลาดท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร ขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย มีสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งเสนาบดี
 
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงละอายพระทัยมาก วันรุ่งขึ้นหลังจากประชุมเสนาบดีสภา คือ วันที่ ๒ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๓ ได้ทรงมีตราพระราชสีห์น้อยที่ ๒๐/๓๙๙๐ ถึงพระยาพิไชยสุนทร ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาคร มีความตอนหนึ่งว่า “ฉันนั่งอยู่ในที่ประชุม รู้สึกละอายใจมาก ที่เมืองนครเขื่อนขันฑ์จะสกปรกหรือสะอาดก็ไม่ใช่ธุระของเรา แต่ความสกปรก ของตลาดท่าจีนซึ่งสกปรกจริง สำหรับเป็นที่ยกตัวอย่างเทียบที่อื่นที่ไม่พอพระราชหฤทัยเช่นนี้ ก็เสมอกริ้วตลาดท่าจีนด้วยเหมือนกัน การเป็นดังนี้จึงรู้สึกร้อนใจมากเห็นว่าถ้าไม่คิดอ่านปัดกวาดจัดถนนในตลาด ท่าจีนให้หายโสโครกแล้ว จะเสียชื่อตั้งแต่ตัวฉัน ตลอดจนผู้ว่าราชการเมือง และกำนันผู้ใหญ่บ้านในตลาดท่าจีน ซึ่งเป็นคนดี ๆ ที่ฉันรู้จักแทบทุกคน ถ้าตลาดท่าจีนยังสกปรกอยู่อย่างนั้น แม้ปีนี้เสด็จอีก เห็นจะไม่เสด็จตลาด จะให้กำนันผู้ใหญ่บ้านในที่นั้นเฝ้าเห็นจะไม่ได้ฉันมีความร้อนใจอย่างนี้ จึงได้มีตราฉบับนี้มายังพระยาพิไชยสุนทร เมื่อรับตราฉบับนี้แล้วขอให้เรียกกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ตลาดท่าจีนมาประชุม อ่านตราฉบับนี้ให้ฟัง และปรึกษากันดูว่าควรจะทำอย่างไร อย่าให้พระเจ้าอยู่หัวทรงติเตียนได้….”
 
พระยาพิไชยสุนทร ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาคร กราบทูลตอบว่า “….ที่ข้าพระพุทธเจ้าไปเป็นผู้ว่าราชการเมืองมิได้จัดทำให้สะอาด ทิ้งไว้จนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวติเตียนดังนี้ พระราชอาญาไม่พ้นเกล้า…” และทูลเสนอปฏิบัติว่าจะซื้ออิฐถนนตลาดท่าจีนหรือท่าฉลอมให้ตลอดทั้งสาย ให้หายสกปรก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกที่ประชุมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จะกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ ทรงมีรับสั่งว่า “สำเร็จเมื่อไรจะออกไปดู”
 
ในเดือนมกราคม ร.ศ. ๑๒๔ พระยาพิไชยสุนทร ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาคร ได้รับดำเนินการปรับปรุงถนน โดยชักชวนพ่อค้าประชาชนในตำบลท่าฉลอม ร่วมกันสละเงินนำมาปรับปรุงตลาดท่าฉลอมให้สะอาด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จออกตรวจดูการดำเนินงานก่อสร้างถนน ในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๔ ทรงทราบข้อมูลเบื้องต้นว่า ถนนสายนี้ข้าราชการและพ่อค้าประชาชนได้เรี่ยไรกันเป็นเงินถึง ๕,๔๗๒ บาท ทำถนนปูอิฐกว้าง ๒ วา ยาว ๑๑ เส้น ๑๔ วา พร้อมด้วยสะพานข้ามคลอง ๓ แห่ง ทำให้องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงเกิดความคิดว่า ถนนสายนี้ราษฎรได้ลงทุนเสียสละเงินเป็นจำนวนมาก หากไม่มีแผนรองรับการซ่อมแซมไว้ให้ดีแล้วก็อาจชำรุดเสียหายไปอย่างน่า เสียดาย จึงทรงเป็นโอกาสดีที่จะใช้ภาษีโรงร้านให้เป็นภาษีสำหรับสุขาภิบาล จึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานเงินภาษีโรงร้านในตลาดท่าฉลอมมาใช้ทำนุบำรุงท้อง ที่ในกิจการ ๓ ประเภท คือซ่อมและบำรุงถนนหนทาง จุดโคมไฟให้มีแสงสว่างในเวลาค่ำคืนตลอดถนนทั้งสาย จัดจ้างคนงานเก็บขยะมูลฝอย ของโสโครกต่าง ๆ ในตำบลนั้นไปเททิ้งที่อื่น
ทางฝ่ายกำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็เห็นด้วยที่จะจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้น ซึ่งจากการสำรวจงบประมาณจากภาษีโรงร้านที่เก็บได้ทั้งปี เป็นเงิน ๑,๒๒๖ บาท ๔ อัฐ ต่อมาพระยาจ่าแสนบดีได้ออกไปราชการที่เมืองสมุทรสาคร ตามรับสั่งของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อประชุมปรึกษาหารือกับพ่อค้าประชาชนและกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในวันที่ ๑ มีนาคม ร.ศ.๑๒๔ ตกลงกันว่า
 
 
๑. จะทำการจุดโคมไฟโดยใช้โคมไฟกระจกสี่เหลี่ยมแขวนกลางถนน ระยะห่าง ๑๐ วาต่อโคม ๑ จุด รวม ๗๐ จุด โคมนี้ใช้น้ำมันถั่วเป็นเชื้อเพลิง โดยมีลูกจ้างคอยเติมน้ำมันจุดตะเกียง ๒ คน รวมเงินค่าใช้จ่ายทุกชนิ ๑,๓๔๐ บาท ๒๐ อัฐ
 
๒. การรักษาความสะอาดโดยจ้างกวาดเทขยะมูลฝอย ๒ คน ทำการเก็บขยะมูลฝอยจากคอกที่ใช้ไม้รวกกั้นไส้ปิดป้ายบอกให้ราษฎรรู้ว่าเป็นที่ทิ้งขยะ ขอให้เทขยะมูลฝอยในคอกนี้แล้วจึงให้คนงานขนไปเททิ้งที่อื่น เมื่อต่อไปมีเงินเหลือจึงจัดทำถังผง (ถังขยะ) ในภายหลังการทำคอกนั้น พระยาพิไชยสุนทรเจ้าเมืองรับจะทำให้ รวมเงินที่ต้องจ่าย ๔๘๐ บาท
 
๓. การบำรุงรักษาถนนและสะพานที่สร้างไว้ประมาณการคร่าว ๆ ว่า ปีละ ๑๐๐ บาท เป็นสำรองจ่าย ค่าใช้จ่ายทั้งสามรายการจึง ตกปีละ ๑,๙๒๐ บาท ๒๐ อัฐ ซึ่งที่ประชุมตกลงกันเป็นมติเอกฉันท์ว่า ควรเก็บภาษีโรงร้าน ปีหนึ่งห้องละ ๓ บาท ส่วนโรงเรือนใดที่ไม่ได้ขายหรือเก็บสินค้าให้เสียห้องละ ๖ สลึง ซึ่งปีหนึ่งจะเก็บได้ ๑,๙๒๙ บาท เมื่อหักรายจ่ายแล้วคงเหลืออยู่ ๘ บาท ๔๔ อัฐ
 
 
ภาษีโรงร้านนี้จะให้พนักงานเก็บให้ โดยกำนันผู้ใหญ่บ้านขอให้เก็บรักษาไว้ในคลังเมืองเมื่อจะใช้คราวใด กำนันจะเป็นผู้ไปเบิกจ่ายในกิจการของสุขาภิบาลเมื่อดูท่าทีว่าจะไปได้ดีแน่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “..ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้า ว่า การลงรูปเข้าทีมากควรจะลงมือจัดการสุขาภิบาลที่ท่าฉลอมนี้ได้ ถ้าจัดได้สำเร็จ แล้วจะจัดต่อไปที่อื่นอีกก็จะง่ายขึ้นมาก สำคัญอยู่ที่ให้ราษฎรเข้าใจและมีความนิยมในประโยชน์ของการสุขาภิบาล ถ้าจัดสำเร็จได้ทั่วไป ก็จะเป็นอันทำการสำคัญสำหรับพระราชอาณาจักรสำเร็จได้อีกอย่างหนึ่ง แลเป็นอันทำการแก้ไขความขัดข้องเรื่องภาษีโรงร้านได้เป็นอย่างดีด้วย..”
 
 
ข้อเสนอในการใช้ใช้ภาษีโรงร้านนี้ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๙ มีนาคม ร.ศ.๑๒๔ และในวันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง คือวันที่ ๑๘ มีนาคม ร.ศ.๑๒๔ (พ.ศ.๒๔๔๘) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินออกไปเมืองสมุทรสาคร โดยทางรถไฟเพื่อที่จะทรงทอดพระเนตรถนนซึ่ง
 
ราษฎรได้สร้างเสร็จแล้ว พระยาพิไชยสุนทร ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาครกราบบังคมทูลขอให้ทรงเปิดถนน ความตอนหนึ่งว่า “…ถนน สายนี้ที่ได้สร้างเสร็จขึ้นก็เพราะข้าพเจ้าทั้งหลายทราบว่าเป็นการชอบด้วย พระราชประสงค์ และเมื่อลงมือทำถนนสายนี้ก็พอประจวบเวลาเสด็จประพาสเมืองสมุทรสาคร ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานกระแสทรงอนุโมทนาให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายบัง เกิดความปิติยินดีพร้อมเพรียงกันอุตสาหะทำถนนสายนี้จนสำเร็จ…”
 
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอบดังนี้ “…เรามีความพอใจที่ได้ทราบตามคำที่กล่าวบัดนี้ และได้เห็นแก่ตาว่าความประสงค์ของเราอย่างเดียว แต่จะให้ประชาราษฎรของเราเป็นสุขทั่วหน้า การที่ท่านทั้งหลายทำตามนี้ ไม่เฉพาะแต่จะได้ความพอใจของเรา แต่จะเป็นความสุขสำราญและความสะดวกแก่ชนทั้งหลายด้วย การที่รักษาถนนอันราษฎรทั้งหลายได้ออกทุนทำครั้งนี้ ถ้าจะทิ้งไว้คอยซ่อมเมื่อชำรุดมากก็จะเหมือนทำใหม่ และยังจะต้องรับความลำบากก่อนเวลาที่ได้ซ่อมไปช้านาน เพราะฉะนั้นเราได้ยอมยกภาษีเรือ โรงร้าน เฉพาะตำบลนี้ให้เป็นเงินรักษาถนนให้สะอาดบริบูรณ์อยู่เสมอและจัดการให้เป็นที่สะอาดตามทุนที่จะทำได้ ให้ผู้ซึ่งอยู่ในท้องที่จัดการรักษาเอง เมืองนี้เป็นผู้ที่ได้พยายามทำถนนโดยลำพังราษฎรในท้องที่เป็นครั้งแรกคงจะ จัดการรักษาถนนตามที่อนุญาตให้ทำได้สำเร็จดีเป็นครั้งแรกเหมือนกัน จะได้เป็นเยี่ยงอย่างแก่เมืองอื่นสืบไป เราขอตั้งชื่อถนนนี้ว่า “ถนนถวาย” เราสั่งให้เปิดถนนนี้ให้มหาชนเดินไปมาเป็นสำเร็จ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอให้ถาวรมั่นคงเป็นประโยชน์ยืนยาว และขอให้ชนทั้งหลายอันอยู่ ณ ที่นี้ จงมีความสุข สิริสวัสดิ์ทั่วกัน เทอญ”
ประกาศแก้ภาษีโรงร้าน จัดตั้งศุขาภิบาลตลาดท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร
 
และในวันนั้นเอง พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ประชาชนในตำบลท่าฉลอมเป็นผู้มีความเสียสละเพื่อส่วนรวมอย่างสูง สมควรทดลองให้โอกาสประชาชนในท้องที่นี้ได้ปกครองทนุบำรุงท้องถิ่นกันเองแบบประชาธิปไตย จะยังให้เกิดผลดีแก่ท้องถิ่นนี้ยิ่งขึ้น พระองค์จึงทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมประกาศแก้ภาษีโรงร้าน จัดตั้งสุขาภิบาลตลาดท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร
 
 
จากการทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบสุขาภิบาลที่ตำบลท่าฉลอมได้ผลดีนำความสุข ความ สะดวกสบายมาสู่ประชาชนได้มาก เป็นที่พอใจของประชาชน จึงทรงพระราชดำริว่า สมควรจะขยายไปจัดทำในที่อื่น ๆ บ้าง จึงได้ทรงมีประกาศ พระบรมราชโองการขยายเขตสุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม เป็นสุขาภิบาลเมืองสมุทรสาคร เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยรวมตำบลมหาชัย ตำบลท่าจีน ตำบลบางหญ้าแพรก และตำบลโกรกกราก ในท้องที่อำเภอเดียวกันอยู่ในเขตสุขาภิบาลเมืองสมุทรสาคร และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลในท้องที่จังหวัดอื่น ๆ ต่อไปด้วย รวมทั้งสิ้น ๓๕ แห่ง และในวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศจัดตั้งเทศบาลเมืองสมุทรสาคร โดยให้โอนทรัพย์สินตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของสุขาภิบาลเมืองสมุทรสาคร เป็นของเทศบาลเมืองสมุทรสาคร และในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2542 เทศบาลเมืองสมุทรสาคร ยกฐานะเป็น เทศบาลนครสมุทรสาคร จนถึงปัจจุบัน
{{ขยายความ}}