ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลำตัด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
ลำตัด
'''ลำตัด''' เป็น[[การแสดง]]ที่มาจากการแสดง[[ลิเก]]บันตนของ[[มลายู]]
ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงบันตนของแขกมลายู ลำตัดจะมีลักษณะตัด และเฉือนกันด้วยเพลง (ลำ) การว่าลำตัดจึงเป็นการว่าเพลงรับฝีปากของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงโดยตรง มีทั้งบทเกี้ยวพาราสี ต่อว่า เสียดสี แทรกลูกขัด ลูกหยอด ให้ได้ตลกเฮฮากัน สำนวนกลอนมีนัยยะออกเป็นสองแง่สองง่าม เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ กลองรำมะนา ฉิ่ง วิธีแสดงจะมีต้นเสียงร้องก่อน โดยส่งสร้อยให้ลุกคู่ร้องรับ แล้วจึงด้นกลอนเดินความ เมื่อลงลูกคู่ก็จะรับด้วยสร้อยเดิมพร้อมกับตีรำมะนา และฉิ่งเข้าจังหวะการร้องรับนั้นด้วย
 
[[หมวดหมู่:ศิลปะการแสดงไทย]]
ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงลิเกบันตนของมลายู
 
{{โครงวัฒนธรรม}}
ประวัติความเป็นมา
ลำตัด เรียกได้ว่า เป็นเพลงพื้นบ้านพื้นเมืองชนิดหนึ่งของไทย ซึ่ง นิยมร้องกันในเขตภาคกลาง ทั้งนี้ มีต้นตอมาจาก “ลิเกบันตน” ของชาวมลายู ในต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยลิเกบันตนดังกล่าว มีรูปแบบของการแสดงแยกออกเป็น 2 สาขา สาขาหนึ่ง เรียกว่า”ฮันดาเลาะ” และ “ลากูเยา” และลิเกบันตนลากูเยา มีลักษณะของการแสดงว่ากลอนสดแก้กัน โดยมีลูกคู่คอยรับ เมื่อต้นบทร้องจบ ต่อมาเมื่อมีการดัดแปลงกลายเป็นภาษาไทยทั้งหมด จึงเรียกกันว่า”ลิเกลำตัด” ในระยะแรก และเรียกสั้น ๆ ในเวลาต่อมาว่า “ลำตัด” ซึ่งมีลักษณะของเพลงและทำนองเพลงที่นำมาให้ลูกคู่รับ โดยมากก็มักตัดมาจากเพลงร้องหรือเพลงดนตรีอีกชั้นหนึ่ง
 
โดยเลือกเอาแต่ตอนที่เหมาะสมแก่การร้องนี้มาเท่านั้นบัดนี้ชื่อถูกตัดลงไปโดยความกร่อนของภาษาเหลือ เพียงว่า ”ลำตัด” เป็นการตั้งชื่อที่เหมาะสม เรียกง่าย มีความหมายรู้ได้ดีมาก (มนตรี ตราโมด,2518 : 46 – 65) กล่าวคือ ความหมายเดิม “ลำ” แปลว่าเพลงเมื่อนำมารวมกับคำว่า ”ตัด” จึงหมายถึง การนำเอาเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ อีกหลายชนิด ตัดรวมเข้าเป็นบทเพลง เพื่อการแสดงลำตัด เช่นตัดเอา เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงพวงมาลัยและเพลงอีแซว เป็นต้น เข้ามาเป็นการละเล่นที่เรียกว่า ลำตัด (ธนู บุญยรัตพันธ์, สัมภาษณ์)
 
สังคมใดสังคมหนึ่งจะตั้งมั่นและดำรงอยู่ได้อย่างถาวรนั้นจำเป็นจะต้องประกอบด้วยโครงสร้างของสังคมที่มั่นคงแข็งแรงไม่ว่าจะเป็นโครง สร้างทางการเมือง การปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรม (สงบ ส่งเมือง, 2534 : 15) การศึกษาลำตัดซึ่งเป็นกลไกทางสังคมอันหมายถึงศิลปวัฒนธรรมที่ดำเนินอยู่ในสังคมไทยโดยเฉพาะสังคมในระดับท้องถิ่นที่ยังคงความเป็นแบบดั้งเดิม (Tradition)ในครั้งนี้จึงเป็นแนวทางหนึ่งของการอนุรักษ์และสืบสานความเป็นศิลปวัฒนธรรมที่จะชี้ให้เห็นการดำรงอยู่ในบริบททางสังคมวัฒนธรรมไทย
 
ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสศิลปะทุกแขนงย่อมได้รับผลกระทบการจะให้คงความเป็นลักษณะเดิม อยู่ตลอดเวลาจึงย่อมเป็นไปไม่ได้กล่าวคือศิลปะพื้นบ้านทั้งมวลย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามค่านิยมและอิทธิพลจากวัฒนธรรมภายนอกซึ่งจะส่งผล ต่อการเลือนหายการขาดความต่อเนื่องและการผิดเพี้ยนจากของเดิมเพราะฉะนั้นการสืบสานและการอนุรักษ์จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ ดังนั้นด้วยแนวคิดดังกล่าว การศึกษาวิจัย ลำตัดในครั้งนี้
 
จึงจะนำมาซึ่งการรักษาศิลปวัฒนธรรมด้านเพลงพื้นบ้านของชาติให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของเชื้อชาติผู้วิจัยจึงได้สนใจที่จะศึกษาเรื่องเพลง พื้นบ้าน ลำตัด เนื่องจากลักษณะเฉพาะของการละเล่นลำตัด เป็นการรวมเอาเพลงพื้นบ้านหลายชนิดเข้าด้วยกัน การศึกษา รวบรวม และบันทึก “ทำนองเพลง” เพลงลำตัดและของบทเพลงพื้นบ้านที่ปรากฏอยู่ในการละเล่นลำตัด
 
จึงจะเป็นการอนุรักษ์ลักษณะของทำนองเพลงทั้งหลายที่เป็นองค์ประกอบในการละเล่นดังกล่าวนั้นให้คงอยู่เป็นแบบฉบับซึ่งจะเป็น แนวทางในการสืบสานที่ถูกต้องและต่อเนื่องตามแบบแผนอีกทั้งจะเป็นการสร้างจิตสำนึกให้คนในสังคมได้เล็งเห็นถึงความมีคุณค่าของเพลงที่ควรแก่การ สืบทอดและการพัฒนาบนพื้นฐานของความเป็นศิลปะพื้นบ้านที่แท้จริงเพื่อเป็นพลังสำคัญสำหรับความอยู่รอดของสังคมวัฒนธรรมของชาติไทยเราสืบไป
 
 
 
 
 
การสื่อถึงลำตัด
ผู้เล่นลำตัดส่วนใหญ่จะเป็นมุสลิมต่างจากลิเกที่ผู้แสดงจะเป็นคนไทยล้วนๆเพราะลิเกต้องไหว้ครูฤาษีซึ่งขัดกับหลักของศาสนาอิสลาม ปัจจุบันคณะลำตัดที่มีชื่อเสียงในอยุธยา จะมีอยู่ 2 คณะ คือ คณะซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายมอญและคณะคนไทยซึ่งเป็นชาวมุสลิมการแสดงลำตัดเป็นการเฉีอนคารมกันด้วยเพลง(ลำ)โดยมีการรำประกอบแต่ไม่ได้ เล่นเป็นเรื่องอย่างลิเกและการแสดงต้องมีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงและเป็นที่นิยมกันมากเนื่องจากเป็นการแสดงโดยการใช้ไหวพริบปฏิภาณใน การด้นกลอนสดส่วนการประชันลำตัดระหว่าง2 คณะ จะใช้เสียงฮาของคนดูเป็นเกณฑ์ คณะใดได้เสียงฮาเสียงปรบมือมากกว่า ก็จะถือเป็นฝ่ายชนะ
 
 
 
 
 
'''ศิลปินแห่งชาติ'''
นางประยูร ยมเยี่ยม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ลำตัด) พุทธศักราช 2537
 
แม่ประยูร มีชื่อและนามสกุลจริงว่า นางประยูร ยมเยี่ยม เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พุทธศักราช 2476 ที่จังหวัดนนทบุรีปัจจุบันอายุ68ปีท่านมีนิสัยรักการอ่านมาตั้งแต่เด็กสามารถอ่านบทร้อยกรองได้อย่างไพเราะทั้งยังมีความทรงจำดีเยี่ยมเมื่ออายุได้ราว 13-14ปีคุณตาของท่านซึ่งมองเห็นแววว่าท่านน่าจะเป็นนักแสดงที่ดีได้จึงสนับสนุนให้เอาดีทางด้านการแสดงโดยการไหว้วานคนรู้จักที่ชื่อนายแดงให้ ช่วยหาครูสอนเพลงพื้นบ้านให้
 
นายแดงจึงได้พาแม่ประยูรไปเรียนกับครูบาง ที่ตำบลบางไผ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งครูบางก็ได้สอนการเล่นลำตัดให้จนแม่ประยูรเล่นได้ดี และเริ่มออกแสดงลำตัดเป็นครั้งแรกเมื่อราวปี 2491 ขณะที่มีอายุได้ 15 ปี
 
ครั้นอายุประมาณ18ปีแม่ประยูรก็ได้สมัครเข้าเล่นลำตัดกับคณะแม่จำรูญซึ่งเป็นลำตัดที่มี ชื่อเสียงมากในสมัยนั้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งแม่จำรูญก็ได้ช่วยถ่ายทอดเพลงพื้นบ้านและลำตัดให้แม่ประยูรอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดความชำนาญและมีประสบการณ์ยิ่งขึ้น สามารถด้นกลอนสด และแต่งคำร้องได้อย่างเฉียบแหลมคมคาย และได้มีโอกาสออกแสดงเป็นประจำ จนเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป
 
ในช่วงที่ร่วมคณะลำตัดกับแม่จำรูญนั้นแม่ประยูรก็ได้พบกับ“หวังเต๊ะ”และได้ร่วมประชันลำตัดกันอย่างสม่ำเสมอจน กลายเป็นคู่ประชันลำตัดยอดนิยมสูงสุดจากนั้นก็ได้แต่งงานอยู่กินกันจนมีบุตรด้วยกัน 2 คนก่อนที่จะหย่าขาดจากกันแต่ก็ยังคงแสดงลำตัดร่วมกัน ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน(ซึ่งผมก็ได้เล่าความยิ่งใหญ่และโด่งดังของทั้ง 2 ท่านนี้เอาไว้แล้วในฉบับก่อน จึงจะไม่ขอเล่าซ้ำอีก)
 
นอกจากลำตัดแล้ว แม่ประยูรยังมีความสามารถในการแสดงเพลงพื้นบ้านอีกหลายประเภท ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ และเพลงขอทาน เป็นต้น
 
ท่านได้ตระเวนออกแสดงเพลงพื้นบ้านต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งลำตัดไปทั่วประเทศและยังเป็นผู้ริเริ่มใน การนำลำตัดมาจัดทำเป็นเทปคาสเซ็ทท์ และวิดีโอออกจำหน่ายหลายชุด ได้แก่ ชุดจุดเทียนระเบิดถ้ำ ชุดดังระเบิด ชุดเกิดแก่เจ็บตาย และชุดชายสอนหญิง เป็นต้น
 
คณะหวังเต๊ะ
นายหวังดี นิมา หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม หวังเต๊ะ เกิดเมื่อเดือนมีนาคม2468ปัจจุบันพักอาศัย ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้มีความสามารถเป็นเลิศ ด้านศิลปะเพลงพื้นบ้าน มีความชำนาญเป็นพิเศษในการแสดงลำตัด โดยตั้งชื่อคณะว่า “ลำตัดหวังเต๊ะ” รับงานแสดงเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบันกว่า 40 ปี จนชื่อหวังเต๊ะแทบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของลำตัด กล่าว ได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ให้ยืนยงอยู่ได้อย่างน่าภาคภูมิใจยิ่ง
 
หวังเต๊ะเป็นศิลปินที่มีความสามารถรอบตัวมีความเป็นเลิศทั้งด้านปฏิภาณและความคิดในการแสดงเพลงพื้นบ้านสามารถ ด้นกลอนสดและแต่งคำร้องได้อย่างคมคายเหมาะสมกับลีลาและสถานการณ์สร้างความบันเทิงเริงรมย์แก่ผุ้ฟังผมชอมตลอดเวลายากจะหาใครเทียบได้ ทั้งในอดีตและปัจจุบันหวังเต๊ะได้แสดงให้มหาชนประจักษ์ถึงอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาและการแสดงได้อย่างเชี่ยวชาญสมกับสุนทรียลักษณ ์ของภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณกาล
 
นอกจากนั้นหวังเต๊ะยังเป็นศิลปินผู้มีคุณธรรมได้ใช้ศิลปะการแสดงเป็นสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์ตลอดมา ทั้งได้ถ่ายทอดศิลปะวิชาให้แก้ทั้งบุคคลในคณะและสถาบันต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ นับได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปิน ที่ได้บำเพ็ญประโยชน์ ทั้งด้านสร้างสรรค์และอนุรักษ์ศิลปะ อันเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทยมาตลอด ระยะเวลายาวนาน จนได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี 2531
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ลำตัด"