ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระองค์แสน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gratium (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Gratium (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
<!--สามย่อหน้าแรก พบว่าซ้ำกับ http://www.danpranipparn.com/web/praput/praput211.html-->
หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน ขัดสมาธิราบ ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทองหน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูงจากฐานถึงพระเมาลี ๓.๒๐ เมตรประทับนั่งบนแท่นสูง๑.๓๕ เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศ ตะวันออก หันพระปฤศฎางค์เข้าหาองค์ พระธาตุเชิงชุมเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาว[[สกลนคร]]คู่มากับพระ ธาตุเชิงชุม ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในพระวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มากอีกองค์หนึ่งของประเทศ จากตำนาน หลวงพ่อพระองค์แสนสร้างขึ้นราวพุทธศักราช ๑๘๐๐ เพื่อแทนหลวงพ่อสุวรรณแสนองค์จริงที่เป็นทองคำทั้งองค์ (สร้างโดยพระเจ้า ชัยวรมันที่ ๓)คือในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เกิดศึกสงครามหลายครั้ง จึงย้ายเมืองไปอยู่ที่[[นครธม]] ก่อนย้ายได้นำพระสุวรรณแสน ทองคำไปซ่อนไว้ในน้ำ ไม่สามารถนำไปได้ด้วยเหตุว่ากลัวข้าศึกจะมาแย่งชิงในระหว่างทาง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้สร้างหลวงพ่อ พระองค์แสน(องค์ปัจจุบัน)แทนไว้ให้ ทำด้วยหินเหล็กเส้นชนิดสี่เหลี่ยมเป็นโครง(ผูกลวด) แล้วฉาบด้วยทรายผสมปูนขาวแช่น้ำเปลือก ไม้(ยางบง) น้ำแช่หนัง - มะขาม - น้ำอ้อย และเถา ฝักกรูด ลงรักปิดทอง มีพุทธลักษณะเท่าเดิม ภายในก็บรรจุเครื่องลาง ของขลังสมัยก่อนไว้มาก ให้นามว่า "หลวงพ่อพระองค์แสน" เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ต่อมามีการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง
ในอดีต เมื่อมีการเฉลิมฉลองสมโพธิ์ราชธานีครบ ๒๐๐ ปีตามประกาศรัฐบาล จะมีการบูรณะปฎิสังขรณ์ขยายโบสถ์ โดยตรงทุบองค์หลวงพ่อออก แล้วสร้างองค์ใหม่ไว้ข้างหลังแทน เมื่อการบูรณะเริ่มขึ้นช่างชาวญวน พยามทุบองค์พระ และพยามลอกทองที่หุ้มออกแต่พอทุบไปครั้งใด ก็ได้ยินแต่เสียงหัวเราะดังกังวานออกมา จนภายหลังถึงกลับต้องล้มป่วยไป ด้วยเหตุนี้จึงต้องล้มเลิกการบูรณะเอาหลวงพ่อออก จากเหตุดังกล่าวเมื่อท่านมาสักการะหลวงพ่อพระองค์แสน จะเห็นมีหลวงพ่อซ้อนกันอยู่ ๒ องค์ องค์หน้าคือหลวงพ่อองค์เดิม ส่วนองค์หลังเป็นองค์ใหม่ที่จะสร้างขึ้นมาแทน จากประวัติหลวงพ่อหลายอย่าง ในสมัยก่อนเคยมีพระมอญ ที่เคยมาบำเพ็ญศีลภาวนาที่วัด แล้วพอจะกลับก็บอกพระที่วัดไว้ว่า หลวงพ่อองค์นี้เป็นองค์ปลอม แต่เป็นองค์ปลอมที่ศักดิ์มาก ปู่ย่าตายายชาวสกลนครและหลายๆคน คงเคยได้ยินตำนานเล่าต่อกันมาว่า บริเวณกลางหนองหานนั้น จะมีจุดที่ลึกมากกว่าปกติ อยู่หลายแห่ง ซึ่งชาวประมงหนองหานจะเรียกว่า ขุม หรือหลุมนั้นเอง และจะมีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น ขุมใหญ่ ขุมเต่าฮาง ขุมก้านเหลือง ซึ่งขุมนี้จะลึกประมาณ ๑๕-๒๐ เมตรทีเดียวเชื่อกันว่าในสมัยก่อนเมื่อพระยาขอม จะย้ายเมืองอพยพผู้คนไปอยู่เขมรนั้น พระองค์ได้เอา หลวงพ่อพระสุวรรณแสน องค์เดิมมาซ่อนไว้ที่ขุมลึกกลาง[[หนองหารหาน]]ชาวประมงจะเรียกจุดนี้ว่า ขุมใหญ่ ซึ่งเป็นขุมที่ลึกที่สุด ในอดีตสมัยรุ่นตา ยาย อาชีพหลักๆของชาวสกลนครก็คือ จับปลา มีอยู่วันหนึ่งมีคนออกทอดแหหาปลา แต่แหกลับติดอะไรบางอย่างใต้น้ำ จึงดำน้ำลงไปดึงออก เมื่อดำลงไปกำลังดึงแหออกนั้นก็เห็นว่าตนเหยียบอยู่บนบ่าพระพุทธรูปองค์ใหญ่อยู่ จากเหตุการณ์นี้ทำให้คนทั้งสกลนครเล่าลือกัน และมีคนพบเห็นเรื่อยมา แต่ในปัจจุบันเวลาผ่านมาหลายปี อาจจะเป็นเพราะ สาหร่าย วัชพืชน้ำ ตะกอนต่างๆทับถมกันสูงขึ้นทุกวัน จึงไม่มีคนพบเห็นอีก ด้วยเหตุนี้ชาวสกลนครจึงถือว่าหนองหาน เป็นหนองน้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดด้วย