ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
พงศาวดารฉบับชุลมุนว่าแค่ ๓ วัน
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
| footnote = ในอดีตเป็นวัดที่ชุมนุมของ [[ชุมนุมพระเจ้าฝาง]]ในสมัยธนบุรี
}}
'''วัดพระฝาง''' หรือชื่อเต็มว่า '''วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ''' ตั้งอยู่ที่บ้านฝาง หมู่ที่ 3 ต.ผาจุก [[อำเภอเมืองอุตรดิตถ์|อ.เมือง]] [[จ.อุตรดิตถ์]] เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่[[สมัยสุโขทัย]] ตามทะเบียนวัดระบุว่า ประมาณปี [[พ.ศ. 1700]] (ก่อนสมัย[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]]) วัดพระฝางนับว่าเป็นกลุ่มโบราณสถานของเมืองฝางสวางคบุรี '' (สว่างคบุรี เพี้ยนมาจาก สวรรคบุรี) ''เพียงแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ วัดนี้ได้รับพระราชทาน[[วิสุงคามสีมา]]ในสมัยสุโขทัย และเป็นวัดพระมหาธาตุประจำเมืองสว่างคบุรี เมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัย[[กรุงสุโขทัย]] และเคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ “[[เจ้าพระฝาง]]” เมืองสวางคบุรี ซึ่งอยู่ผู้นำชุมนุมเจ้าพระฝางในสมณเพศแต่นุ่งห่มผ้าแดงและมิได้สึกเป็นฆราวาส ท่านได้ซ่องสุมผู้คนคราวเสียสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]แตกครั้งที่ 2 เพื่อจะกู้เอกราช
 
วัดพระฝาง มีปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดคือพระมหาธาตุเจดีย์ บรรจุ[[พระบรมสารีริกธาตุ]] ตั้งอยู่กลางกลุ่มโบราณสถานวัดพระฝาง สันนิษฐานว่าพระเจดีย์องค์นี้สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นพระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์สำคัญของอาณาจักรมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]] [[มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์]] ราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านว่า พระมหาธาตุองค์นี้ได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นพุทธปูชนียสถานสำคัญของอาณาจักรคู่กับ[[รอยพระพุทธบาทสระบุรี]] จนในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงเสด็จขึ้นทำศึกชนะเจ้าพระฝางและตั้งงานสมโภชพระมหาธาตุเมืองพระฝางถึง 3 วัน เทียบเท่างานนมัสการพระพุทธชินราช แต่ความศรัทธาในพระมหาธาตุเมืองฝางคงได้เสื่อมถอยลงในช่วงหลัง จากความเสื่อมของเมืองสวางคบุรี หลังชุมนุมเจ้าพระฝางถูกตีแตกใน[[สมัยธนบุรี]] จนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์องค์เดิมได้ปรักหักพังไปมาก ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะพระมหาธาตุเมืองพระฝางใหม่ แปลงเป็นแบบเจดีย์ทรงลังกาดังที่เห็นในปัจจุบัน
 
นอกจากนี้ วัดพระฝางยังมี[[อุโบสถ]]มหาอุด (มีประตูทางเข้าบานเดียว) อยู่ด้านทิศตะวันตกของกลุ่มโบราณสถาน ตัวอุโบสถมีสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเดิมภายในอุโบสถเคยเป็นที่ประดิษฐาน[[พระพุทธรูปพระฝาง]] ซึ่งปัจจุบันตัวอุโบสถยังคงมีบานประตูไม้และหน้าบันแกะสลักศิลปะสมัยอยุธยาอันสวยงามอยู่ (บานปัจจุบันเป็นบานจำลอง) และด้านทิศตะวันออกของกลุ่มโบราณสถานมีพระวิหารหลวง เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป[[เชียงแสน]] ปัจจุบันในพระวิหารหลวงมีบานประตูไม้แกะสลักวัดพระฝาง (เป็นบานประตูบานจำลอง สร้างเสร็จในปี [[พ.ศ. 2551]] เพื่อนำมาติดตั้งแทนที่บานประตูเดิมที่ได้นำไปเก็บรักษาที่[[วัดธรรมาธิปไตย]]ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2494]])