ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอมเฟตามีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
drug box
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ
บรรทัด 35:
}}
 
'''แอมเฟตามีน''' ({{lang-en|Amphetamine}}) เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภท 2 ตาม[[พระราชบัญญัติ]]วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ปี [[พ.ศ. 2518]] แต่ในปัจจุบัน[[กระทรวงสาธารณสุข]]ได้ออกประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 135 ปี [[พ.ศ. 2539]] กำหนดให้เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษปี [[พ.ศ. 2522]] เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2539 ([[สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา]] [[กระทรวงสาธารณสุข]] ,2539) แอมเฟตามีน มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมนิดๆ มีสูตรทางเคมีคือ C9H13N
 
 
== ประวัติ ==
เส้น 42 ⟶ 41:
 
ในอดีตที่ [[ประเทศสหรัฐอเมริกา]]แอมเฟตามีนถูก ใช้เป็นยารักษาโรคหลายชนิด ที่นิยมแพร่หลายเป็นยาดมแก้หวัด คัดจมูก ชื่อยาเบนซีดรีน (Ben zedrine) มีไส้กระดาษชุบด้วยน้ำยาบรรจุไว้ใน หลอดให้สูดดม แต่ก็มีผู้นำมาใช้ในทางที่ผิดเพื่อกระตุ้นร่างกาย และลดความอ้วน โดยนำไส้กระดาษซับมาจุ่มน้ำเพื่อละลายตัวยา แล้วนำมาใช้กินแทน ต่อมามีการผลิตแอมเฟตามีนอยู่มาในรูปยาเม็ดใช้กันอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นยาสามัญประจำบ้าน ไม่ต้องมีใบสั่งยาก็ซื้อหามาใช้ได้ ในขณะนั้นมีการโฆษณาสรรพคุณของ แอมเฟตามีนว่าสามารถรักษาโรคได้ถึง 39 โรค เช่น [[โรคจิต]] [[โรคประสาท]] [[โรคซึมเศร้า]] [[โรคปวดศีรษะ]] เป็นต้นโดยไม่ได้ตระหนักถึงฤทธิ์ของยาที่ทำให้เสพติดกันมากนัก และมีประชาชนจำนวนมากที่นำมาใช้ในทางที่ผิด ในปี [[ค.ศ. 1939]] สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยาของสหรัฐอเมริกาประกาศให้ยาจำพวกแอมเฟตามีนเป็นยาควบคุมซึ่งต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์จึงจะซื้อได้ ทำให้การใช้ยาชนิดนี้ลดน้อยลงจากท้องตลาด และเริ่มมีการผลิตและจำหน่ายผิดกฎหมายอย่างแพร่หลาย และได้เข้ามาแพร่ระบาดใน[[ประเทศไทย]] ในช่วงปี [[ค.ศ. 1967]]
 
 
== การออกฤทธิ์ต่อร่างกาย ==
เส้น 48 ⟶ 46:
 
แอมเฟตามีนที่เป็นส่วนประกอบของยาบ้า สามารถ เสพเข้าสู่ ร่างกายทั้งการรับประทาน ฉีดเข้าเส้นเลือด และสูดดมไอ แต่การออกฤทธิ์และความรุนแรงจะแตกต่างกัน หากใช้โดยวิธีรับประทานกว่ายาจะผ่านกระเพาะอาหาร เข้าสู่กระแสเลือดแล้วไปออกฤทธิ์ที่สมองต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 20-30 นาที และยาบางส่วนจะถูกทำลายที่กระเพาะอาหารและที่ตับ ทำให้ความรุนแรงของยาลดน้อยลง การฉีดเข้าเส้นเลือด และการสูบไอ ฤทธิ์ของยาจะผ่านเข้าสู่สมองเร็วมากในระยะเวลาไม่กี่วินาที ทำให้ผู้เสพเกิดอาการกระชุ่มกระชวย และมีความสุข (Euphoria) ทันที เป็นเหตุให้ผู้เสพติดใจในฤทธิ์ของยาอย่างรวดเร็ว ยาบ้าจะออกฤทธิ์อยู่ในร่างกายประมาณ 1 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณการขับถ่ายออกจากร่างกาย การขับจะเร็วกว่าเมื่อปัสสาวะเป็นด่าง ดังนั้นการ รักษาผู้ที่มีอาการจากฤทธิ์ยาบ้า เราจึงให้วิตามินซี หรือสารอื่นๆ ที่ทำให้ปัสสาวะเป็นกรด เพื่อเร่งการ ขับถ่ายทางปัสสาวะ
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{เรียงลำดับ|อแมเฟตามีน}}