ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Looknarm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
Looknarm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม''' หรือเดิม (ก่อน พรบ.สภาสถาปนิก 2543) เรียกย่อว่า '''ก.ส.''' เป็นเอกสารรับรองของ[[สถาปนิก]]ในการออกแบบและเซ็นต์รับรองแบบ ที่รับรองโดย[[สภาสถาปนิก]] ในปัจจุบันมีอยู่ 4 สาขาด้วยกันได้แก่ [[สถาปัตยกรรมหลัก]] [[สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์]] [[สถาปัตยกรรมผังเมือง]] และ [[ภูมิสถาปัตยกรรม]] ใบประกอบวิชาชีพฯมี 4 ระดับเรียงจากสูงไปต่ำ คือ [[วุฒิสถาปนิก]] [[สามัญสถาปนิก]] [[ภาคีสถาปนิก]] และ [[สถาปนิกภาคีพิเศษ]]ขอบเขตงานที่ควบคุมในสาขาต่างๆ ถูกกำหนดไว้โดยในกฎกระทรวง (พ.ศ.2549)ว่าด้วยการกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
 
กฎกระทรวงการกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมนี้ ได้มีการกำหนดให้งานสถาปัตยกรรมควบคุมสาขาต่างๆ ทั้ง 4 สาขานั้น ผู้ดำเนินการงานออกแบบ ให้คำปรึกษา ตรวจสอบ ศึกษาโครงการ บริหารและอำนวยการก่อสร้าง นั้นต้องมีสถาปนิก(แต่ละสาขา)ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในระดับขั้นต่างๆกันไป ตามขอบเขตของงาน
 
ตัวอย่างงานที่ต้องมีสถาปนิกที่มีใบอนุญาต (ตามกฎกระทรวงปี 2549)ได้แก่
* '''สาขาสถาปัตยกรรมหลัก''' - งานวางผังที่อาคารที่อยู่อาศัย พื้นที่ 150 ตารางเมตร ขึ้นไป, หรืออาคารทางการเกษตร 400 ตารางเมตรขึ้นไป
* '''สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง''' - งานที่มีการบังคับใช้ผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ, งานจัดรูปที่ดิน, การจัดสรรที่ดิน, งานอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม, งานในพื้นที่เขตเพลิงไหม้และเขตภัยพิบัติ, นิคมอุตสาหกรรม, กลุ่มอาคารขนาดใหญ่-ใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ อาคารสูง อาคารพิเศษ พื้นที่รวมกัน 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป
* '''สาขาภูมิสถาปัตยกรรม''' - งานในพื้นที่สาธารณะ บริเวณอาคารสาธารณะ, พื้นที่ที่บุคคลทั่วไปใช้สอยได้ ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร หรือชุมนุมคนได้ 500 คนขึ้นไป, พื้นที่การจัดสรรที่ดิน (ยกเว้นพื้นที่เกษตรกรรม และที่พักอาศัยส่วนบุคคล)
* '''สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์''' - พื้นที่ภายในอาคารสาธารณะ 500 ตารางเมตรขึ้นไป
 
จะเห็นได้ว่าขอบเขตงานที่ต้องใช้สถาปนิกที่มีใบประกอบอนุญาตวิชาชีพจากกฎกระทรวงฯฉบับล่าสุดนั้นเป็นไปได้ยากในการปฏิบัติ เนื่องจากจำนวนสถาปนิกที่มีใบประกอบวิชาชีพมีไม่พอกับงานที่ต้องการควบคุม การตรวจสอบและบังคับใช้เป็นไปได้ยาก และหลายๆงานไม่จำเป็นที่จะต้องมีสถาปนิกที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพก็คงไม่ทำความเสียหาย ตามเจตนารมย์ของการออกกฎกระทรวงแต่อย่างใด ทำให้เกิดการร้องเรียนคัดค้านเกิดขึ้นจากผู้ประกอบวิชาชีพเอง และผู้เกี่ยวข้อง <ref>http://www.bangkokbiznews.com/2006/08/18/news_21375886.php?news_id=21375886 ข่าวการคัดค้านของกลุ่มภูมิสถาปนิกต่อกฎกระทรวง จาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ</ref>, <ref>http://www.land.arch.chula.ac.th/regulation.htm การคัดค้านกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม 2549 ของกลุ่มภูมิสถาปนิกไทย</ref>
 
 
ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม มีลักษณะเหมือนกับ [[ใบประกอบวิชาชีพ]]วิศวกรรม และ ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์