ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนพระกุมารร้อยเอ็ด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suthummo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suthummo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
| website = [http://www.holy.ac.th/ holy.ac.th]
}}
 
 
'''โรงเรียนพระกุมารร้อยเอ็ด''' ({{lang-en|The Holy Infant Jesus Roi-Et School}})(อักษรย่อ: พก., PK) เป็นโรงเรียนเอกชน แบ่งเป็น 3 แผนก คือแผนกอนุบาล แผนกประถม แผนกมัธยม ตั้งอยู่เลขที่ 218 ถนนรอบเมือง ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร้อยเอ็ดเขต ๑ เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ๑ ถึงระดับ มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ตั้งอยู่บริเวณชานเมืองร้อยเอ็ด อยู่สองฝั่งถนนเลี่ยงเมือง มีสะพานลอยเชื่อมต่อสองฝั่ง
 
==ประวัติความเป็นมา==
 
ในปีพุทธศักราช 2520 - 2526 บาทหลวงหลุยส์ เลอดึก ซึ่งขณะนั้น ดูแลกลุ่มคริสตชนที่ร้อยเอ็ด ได้มองเห็นประโยชน์ในการให้บริการการศึกษา ได้เป็นอาจารย์พิเศษช่วยสอน วิชาภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส ที่โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย และขณะเดียวกันก็พยายามสำรวจหาพื้นที่เหมาะสม เพื่อสร้างโบสถ์ คาทอลิกให้เป็นศูนย์ของชาวคาทอลิก ในร้อยเอ็ด แต่ความคิดดังกล่าวไม่อาจเป็นจริงขึ้นมาได้เพราะขาดงบประมาณและบุคลากร ต่อมาในปีพุทธศักราช 2528 กลุ่มคริสตชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ยังไม่มีโบสถ์หรือสถาบันโรงเรียนคาทอลิก ที่คริสตชนจะใช้เป็นสถานที่รวมกันประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พระสงฆ์และคริสตชนต้องอาศัยบ้านเป็นที่ประกอบพิธีในวันอาทิตย์ ต่อมาได้เช่าบ้าน เลขที่ 55 ถนนรัชชูปกร เป็นสถานที่ประกอบพิธี และยังได้ใช้บ้านหลังนี้ เป็นที่พัก ของคณะผู้บริหาร ในระยะแรกที่มาเริ่มงานโรงเรียน ต่อมาทางสังฆมณฑล อุบลราชธานี ซึ่งมีพระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ เป็นมุขนายกได้พิจารณา เห็นว่า สมควรจะมีสถาบันคาทอลิก ในจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเป็นศูนย์รวมของกลุ่มคริสตชน ประกอบกับกลุ่มคริสตชน มีความต้องการอย่างมาก ในการสร้างโบสถ์ และขณะเดียวกัน ควรเปิดโรงเรียน ให้บริการทางด้านการศึกษา แก่ชุมชนไปด้วย เพื่อที่จะได้มีส่วนร่วม ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ของชาติ ให้มีความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญารวมถึงการ อบรมสั่งสอนให้เพียบพร้อม ไปด้วยคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อที่จะเติบโตเป็นพลเมืองดีของชาติสืบไป จากนั้นทางสังฆมณฑล ได้เริ่มสำรวจ พื้นที่ที่เหมาะสม ในการสร้างโรงเรียนและได้เลือกสถานที่บริเวณ ถนนรอบเมือง ตรงหมู่บ้านเหล่าขี้เหล็ก ซึ่งเป็นพื้นที่นา ได้ทำสัญญาจากนางนิ่มนวล พิมแสนไชย มีพื้นที่ 5 ไร่ 1 งาน 64 ตารางวา เป็นเงินทั้งสิ้น 270,000 บาท (ไร่ละ 50,000 บาท) ขณะนั้นทางสังฆมณฑลฯ ได้มอบหมายให้บาทหลวงไพศาล ใจดี เป็นผู้รับผิดชอบ โดยดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
 
- สำรวจประชากร
- จำนวนโรงเรียนของรัฐบาลและเอกชน
- จำนวนนักเรียน,นักศึกษา,เด็กเล็ก
- ทิศทางการศึกษา
- เศรษฐกิจของประชากร
 
เมื่อได้ข้อมูลเป็นที่น่าพอใจแล้ว จึงได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียน เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2528 เป็นอาคารคอนกรีต 2 หลัง หลังที่ 1 เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น หลังที่ 2 เป็นอาคารชั้นเดียว 4 ห้องเรียน ระหว่างอาคารทั้ง 2 มีห้องประกอบอาหาร และโรงอาหาร ซึ่งใช้เป็นห้องประชุมโรงเรียนพระกุมารร้อยเอ็ด ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนเมื่อ วันที่ 16 พฤษภาคม 2529 เปิดรับนักเรียนทั้งสองแผนก คือ แผนกก่อนวัยเรียน และระดับอนุบาล ได้ทำพิธีเปิดศูนย์คาทอลิกและโรงเรียนพระกุมารร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2529 โดยพระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ และรองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธาน รายนามคณะผู้บริหารชุดแรกมีรายชื่อดังต่อไปนี้
 
*1. บาทหลวงไพศาล ใจดี ผู้รับใบอนุญาต
*2. บาทหลวงเติมศักดิ์ เจริญบุญ ผู้จัดการ
*3. ซิสเตอร์บวร จำปารัตน์ ครูใหญ่
*4. ซิสเตอร์นิตยา ใจสุข ผู้ช่วย
*5. ซิสเตอร์วิจิตร ป้องศรี ผู้ช่วย
 
ในปีพุทธศักราช 2529 บาทหลวงไพศาล ใจดี ไปศึกษาต่อต่างประเทศ สังฆมณฑลจึงได้มอบหมายให้บาทหลวงเติมศักดิ์ เจริญบุญ เป็นเจ้าอาวาสวัดคาทอลิกร้อยเอ็ด และบริหารโรงเรียนอนุบาล พระกุมารร้อยเอ็ด ในตำแหน่งผู้จัดการ จนถึงปีการศึกษา 2537
 
ปีการศึกษา 2537 สร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น และขยายโรงอาหาร ในปีเดียวกัน ซิสเตอร์กัลยา หยาดทองคำ ย้ายเพื่อไปศึกษาต่อที่ประเทศฟิลิปปินส์ และซิสเตอร์บังอร ประทุมเทา ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน มีนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษา ที่ 6 จำนวน 1,525 คน เป็นนักเรียนชาย 797 คน นักเรียนหญิง 596 คน ระดับประถม 929 คน ปีการศึกษา 2538 บาทหลวงเติมศักดิ์ เจริญบุญ ย้ายไปเป็นผู้จัดการโรงเรียนอนุบาลพระกุมารอุบล และเป็นเจ้าอาวาสวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล อุบลราชธานี บาทหลวงบุญเลิศ พรหมเสนา เป็นผู้จัดการแทน มีนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,691 คน ชาย 872 คน หญิง 819 คน ระดับอนุบาล 600 คน ระดับ ประถม 1,091 คน
 
ปีการศึกษา 2539 อาคารแม่พระมหาชัย อาคาร 4 ชั้น สร้างเสร็จเรียบร้อย มีจำนวน 16 ห้อง เป็นห้องเรียน 12 ห้อง ห้องประกอบการ 3 ห้อง เป็นโบสถ์ 1 ห้อง ได้จัดทำพิธีเปิดอาคารเรียนฉลองครบรอบ 10 ปี ของโรงเรียนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2539 โดยพระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ และนายวีระ เสรีรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธาน ได้ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน โดยทาสีกันเปื้อนและปูกระเบื้องบริเวณหอประชุม ได้สร้างฐานพระรูปครอบครัวศักดิ์สิทธิ หน้าอาคาร 3 และได้ปรับปรุงสนามเด็กเล่น ได้ซ่อมแซมปูกระเบื้องพื้นห้องเรียน อาคาร 3 ชั้น 3 และได้จัดทำป้ายโรงเรียนใหม่เป็นหินอ่อน ทาสีรั้วกำแพงโรงเรียน – ประตู มีนักเรียน ระดับอนุบาล 603 คน ระดับประถม 1,172 คน รวมทั้งสิ้น 1,775 คน
 
ปีการศึกษา 2540 เปิดสอนคอมพิวเตอร์ในระดับอนุบาล 2 ถึง ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 จำนวน 30 เครื่อง และสร้างห้องวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยในการจัดการเรียนการสอนให้กับ นักเรียนปีการศึกษา 2541 มีจำนวนนักเรียนแยกเป็นระดับอนุบาล 609 คน ระดับประถมศึกษา 1,193 คน รวมทั้งสิ้น 1,803 คน มีครูจำนวน 69 คน
 
ปีการศึกษา 2541 ซิสเตอร์สมจิตร ป้องศรี ย้ายไปรับตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนมารดาทรงธรรม จังหวัดศรีสะเกษ ซิสเตอร์รัตนา พันธ์วิไล รับหน้าที่เป็นหัวหน้าสาย อนุบาลแทน มีจำนวนนักเรียนแยกระดับอนุบาล 570 คน ระดับประถม 1,215 คน รวมทั้งสิ้น 1,785 คน ครูจำนวน 71 คน ได้ทำห้องปฏิบัติการทางภาษา มีจำนวน 54 ที่นั่ง ได้ปรับปรุงสนามเด็กเล่น ทำท่อระบายน้ำหน้าห้องอนุบาล 1-2 ซ่อมแซมห้องน้ำแผนกก่อนวัยเรียน ถมดินหน้าโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ปรับปรุงสนามฟุตบอล จัดทำแล็ปธรรมชาติขึ้นหน้าอาคาร 3
 
ปีการศึกษา 2542 ซิสเตอร์บังอร ประทุมเทา ครูใหญ่ ได้ย้ายไปประจำที่อารามคณะรักกางเขนแห่งอุบลราชธานี ทางคณะได้ส่งซิสเตอร์สุดาพร บัวจูม มารับหน้าที่ครูใหญ่ แทน รับสมัครครูใหม่ 6 คน มีจำนวนนักเรียนดังนี้ ระดับอนุบาล 599 คน ระดับประถม 1,292 คน รวมทั้งสิ้น 1,892 คน ได้ปรับปรุงห้องสมุด ระบบการสื่อสารระบบ LAN ภายในโรงเรียน จัดซื้อคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น 2 เครื่อง เพื่อใช้ในงานธุรการ
 
ปีการศึกษา 2543 เปิดรับสมัครครูเพิ่มดังนี้ วิชาเอกคณิตศาสตร์ 2 อัตรา ภาษาอังกฤษ 1 อัตรา ธุรการ 1 อัตรา ย้ายมาจากพระกุมารสารคาม 1 อัตรา คือ ครูปาจารีย์ สืบสกุล ดนตรีนาฏศิลป์ 1 อัตรา วิทยาศาสตร์ 1 อัตรา และย้ายมาจากพระกุมารสารคาม 1 อัตรา คือ นางสาวจีระภา ปิยะมิตร์ รวมเป็นครูที่บรรจุใหม่ 8 อัตรา ห้องเรียน ได้ขยายเพิ่มรวมทั้ง ระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา เป็น 41 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 2,059 คน ครูทั้งหมด 78 คน นักการภารโรงทั้งหมด 25 คน ในปีการศึกษา 2543 โรงเรียนได้ปรับงานเอกสาร บางรายการ ระดับก่อนประถม ออกจากระดับประถมศึกษา เพื่อให้สะดวกในการตรวจสอบ จะได้ง่ายขึ้น งานธุรการได้จัด ปรับเปลี่ยนห้องธุรการ ให้เหมาะกับการใช้งาน และในการเก็บค่าธรรมเนียม การเรียนและอื่น ๆ ได้นำระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการเก็บข้อมูล นักเรียนและออกใบเสร็จรับเงิน เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับความสะดวกรวดเร็ว และทันสมัยยิ่งขึ้น
 
ปีการศึกษา 2544 ได้รับครูเข้าทำงานในโรงเรียนในสาขาวิชาเอก คณิตศาสตร์ ,วิทยาศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, การประถมศึกษา , ปฐมวัย, พลศึกษา, ดนตรี-นาฏศิลป์ ธุรการ-การเงิน, สังคมศึกษา และวิชาเอกทั่วไป จำนวน 18 คน ได้เพิ่มจำนวนห้องเรียนในระดับสายชั้น ป.4 อีก 1 ห้อง เป็น 5 ห้อง ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียน 2,249 คน คณะครู – ผู้บริหาร จำนวน 98 คน นักการภารโรง จำนวน 26 คน และได้ซื้อที่ดินจำนวน 20 ไร่ ราคา 8 ล้านบาท (ไม่รวมค่าถมที่) เพื่อการขยายการศึกษา สู่ระดับมัธยมศึกษา ในปีการศึกษาต่อไป และได้ติดตั้งแอร์ ในระดับชั้นอนุบาล 1 จำนวน 4 ห้อง
 
ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนได้ขยายการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นปีแรก จำนวน 4 ห้องเรียน เปิดรับสมัครครู จำนวน 20 อัตรา แยกเป็นรายวิชาดังนี้ คณิตศาสตร์ 2 อัตรา วิทยาศาสตร์ทั่วไป 1 อัตรา วิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ 1 อัตรา สังคมศึกษา 1 อัตรา ภาษาอังกฤษ 1 อัตรา ภาษาไทย 2 อัตรา พลศึกษา 1 อัตรา ดนตรี 2 อัตรา ศิลปะ 1 อัตรา ธุรการ-การเงิน 2 อัตรา บรรณารักษ์-สารสนเทศ 2 อัตรา ปฐมวัย 1 อัตรา ครูพี่เลี้ยง 1 อัตรา คอมพิวเตอร์ 1 อัตรา ขยายห้องเรียนชั้น ป.1 เป็น 6 ห้องเรียน รวมห้องเรียนทุกระดับ เป็น 47 ห้อง จำนวนบุคลากรครูทั้งหมด 115 คน นักการภารโรง 30 คน นักเรียนทั้งหมด 2,323 คน
 
ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนขยายการศึกษาระดับมัธยมศึกษาอย่างต่อเนื่องถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2546 นี้ ทั้งหมด 2,673 คน แยกเป็น นักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 720 คน ระดับประถมศึกษา 1,675 คน และระดับมัธยมศึกษา จำนวน 299 คน ในปีการศึกษานี้มีครูย้ายไปทำงาน ที่โรงเรียนพระกุมารสารคาม จำนวน 2 คน ลาออก 2 คน และรับเข้าใหม่อีก 8 คน รวมคณะผู้บริหารและครูทั้งสิ้น จำนวน 119 คน นักการภารโรง จำนวน 32 คน
 
ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนขยายการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาอย่างต่อเนื่องถึง ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2547 ทั้งหมด 3008 คน แยกเป็นนักเรียน ระดับอนุบาล จำนวน 789 คน ระดับประถมศึกษา จำนวน 1761 คน และระดับมัธยมศึกษา จำนวน 458 คน ในปีการศึกษานี้ มีครูย้ายไปทำงาน ที่โรงเรียนพระกุมารสารคาม จำนวน 1 คน ลาออก 3 คน และรับเข้าใหม่อีก 17 คน ผู้บริหาร ย้าย 2 คน คือ ซิสเตอร์ สุดาพร บัวจูม และซิสเตอร์ปิยรัตน์ ศรีหาพล มี ซิสเตอร์อรนุช หอมจันทร์ และ ซิสเตอร์สมจิต ช่างทำ มาดำ