ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาอาหรับเลอวานต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox Language |name = ภาษาอาหรับเลอวานต์ |nativename = لهجات شامية |familycolor = Afro-Asiatic |states = [[...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:32, 11 ตุลาคม 2552

ภาษาอาหรับเลอวานต์ (Levantine Arabic; ภาษาอาหรับ: شامي Shami) หรือภาษาอาหรับตะวันออก เป็นกลุ่มของภาษาอาหรับที่มีการพูดแพร่กระจายในฉนวนชายฝั่งยาว 100 กิโลเมตร ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ซึ่งบริเวณนี้เรียกว่าเลอวานต์ ครอบคลุมบริเวณในซีเรีย อิสราเอล ปาเลสไตน์ จอร์แดนตะวันตกและเลบานอน ซึ่งเป็นฝั่งตะวันตกของดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดม ภาษาอาหรับเลอวานต์แบ่งได้เป็น 6 สำเนียงย่อยคือ

ภาษาอาหรับเลอวานต์
لهجات شامية
ประเทศที่มีการพูดซีเรีย, เลบานอน, อิสราเอล, ปาเลสไตน์, จอร์แดน, ไซปรัส
จำนวนผู้พูด35,000,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรอาหรับ
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการไม่มี
ผู้วางระเบียบไม่มี
รหัสภาษา
ISO 639-3apcรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
apc – ภาษาอาหรับเลอวานต์เหนือ
ajp – ภาษาอาหรับเลอวานต์ใต้

ลักษณะที่ต่างจากภาษาอาหรับสำเนียงอื่นๆ ได้แก่

  • รูปแบบการเน้นหนักแบบปิด
  • เปลี่ยนเสียง –ah เป็น –eh
  • มีการออกเสียงและคำศัพท์ของภาษาอราเมอิกปนเข้ามา

สำเนียงย่อยของภาษาอาหรับกลุ่มนี้ อาจมีเอกลักษณ์ที่เป็นของตนเอง เช่น

  • มีเสียง /aː/
  • มีเสียงกล้ำ /aj/ และ /aw/
  • อนุรักษ์เสียง ﺙ /θ/, ﺫ /ð/, และ ﻅ /ðˁ/