ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป''' ({{lang-en|European Southern Observatory}}; ESO) มีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า ''European Organization for Astronomical Research in the Southern Hemisphere'' หรือ ''องค์การแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยทางดาราศาสตร์ในท้องฟ้าซีกใต้'' เป็นองค์กรวิจัยนานาชาติสำหรับการศึกษาด้าน[[ดาราศาสตร์]] ภายใต้การสนับสนุนของประเทศต่างๆ ในทวีป[[ยุโรป]] 14 ประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1962 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง[[มิวนิก]] ประเทศ[[เยอรมัน]] ส่วนอุปกรณ์สังเกตการณ์เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่[[ประเทศชิลี]] โดยใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้นักดาราศาสตร์จากยุโรปสามารถศึกษาท้องฟ้าซีกใต้ได้ มีชื่อเสียงจาก[[กล้องโทรทรรศน์]]ที่ใหญ่ที่สุดและก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เช่น [[กล้องโทรทรรศน์นิวเทคโนโลยี]] (New Technology Telescope; NTT) ซึ่งเป็นกล้องรุ่นแรกที่บุกเบิกเทคโนโลยี active optics และ[[กล้องโทรทรรศน์ VLT]] (Very Large Telescope) ประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 8 เมตรจำนวน 4 ชุด และกล้องประกอบขนาด 1.8 เมตรอีกจำนวน 4 ชุด
 
อุปกรณ์ทันสมัยจำนวนมากที่หอดูดาวแห่งนี้ได้ช่วยเหลือการค้นพบทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญๆ หลายครั้ง และช่วยสร้างรายการวัตถุทางดาราศาสตร์จำนวนมาก การค้นพบเมื่อไม่นานมานี้รวมถึงการค้นพบ [[แสงวาบรังสีแกมมา]]ที่อยู่ไกลที่สุด และการค้นพบหลักฐานการมีอยู่ของ[[หลุมดำ]]ที่บริเวณใจกลาง[[ทางช้างเผือก]]ของเรา ในปี ค.ศ. 2004 กล้องโทรทรรศน์ VLT ได้ช่วยให้นักดาราศาสตร์จับภาพถ่ายแรกของ[[ดาวเคราะห์นอกระบบ]] [[2M1207b]] ที่โคจรรอบ[[ดาวแคระน้ำตาล]]ดวงหนึ่งซึ่งอยู่ห่างออกไป 173 [[ปีแสง]] นอกจากนี้อุปกรณ์ [[HARPS]] ยังได้ช่วยเหลือการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบอีกเป็นจำนวนมาก รวมถึงการค้นพบ [[กลีส 581 ซี]] ซึ่งโคจรรอบ[[ดาวแคระแดง]] กล้องโทรทรรศน์ VLT ยังช่วยในการค้นพบดาราจักรที่ไกลที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยรู้จัก คือ [[Abell 1835 IR1916]]