ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บาศกนิยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''บาศกนิยม''' ({{lang-en|Cubism}}) เป็นความเคลื่อนไหวทางศิลปะอาวองการ์ดในศตวรรษที่ 20 ริเริ่มโดย[[ปาโบล ปีกัสโซ]] (Pablo Picasso) และ[[จอร์จส์ บราค]] (Georges Braque) ได้เปลี่ยนรูปโฉมของจิตรกรรมและประติมากรรมสไตล์ยุโรป รวมไปถึงดนตรีและงานเขียนที่เกี่ยวข้อง สาขาแรกของบาศกนิยมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Analytic Cubism (บาศกนิยมแบบวิเคราะห์)เป็นความเคลื่อนไหวทางศิลปะที่มีอิทธิพลรุนแรงและมีความสำคัญอย่างมากในฝรั่งเศส แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ไม่นานนักระหว่างค.ศ.1907 และ 1911 ความเคลื่อนไหวในช่วงที่สองนั้นถูกเรียกว่า Synthetic Cubism (บาศกนิยมแบบสังเคราะห์)ได้แพร่กระจายและตื่นตัวจนกระทั่ง ค.ศ. 1919 เมื่อความเคลื่อนไหวของลัทธิเหนือจริงเป็นที่นิยม
 
นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษนาม [[ดักลาส คูเปอร์]] (Douglas Cooper) ได้อธิบายสามระยะของบาศกนิยมในหนังสือของเขาชื่อ The Cubist Epoch (ยุคสมัยของบาศกนิยม)ตามแนวคิดของคูเปอร์นั้น มันเคยมีระยะเริ่มต้นของบาศกนิยม (Early Cubism) ตั้งแต่ ค.ศ.1906 ถึง 1908 เมื่อความเคลื่อนไหวนั้นได้เริ่มพัฒนาในห้องทำงานของปิกาซโซ่และบราค ในระยะที่สองนั้นเรียกได้ว่าเป็นช่วงเฟื่องฟูของบาศกนิยม (High Cubism) ตั้งแต่ ค.ศ. 1909 ถึง 1914 ขณะที่[[ยวน กริซ]] (Juan Gris)ปรากฏขึ้นเป็นผู้สนับสนุนหลัก และระยะสุดท้ายนั้นคูเปอร์เรียกว่าช่วงหลังของบาศกนิยม(Late Cubism)ตั้งแต่ค.ศ.1914 ถึง1921 ซึ่งเป็นที่ความเคลื่อนไหวอาวองการ์ดได้ถึงจุดสูงสุด<ref>Douglas Cooper, "The Cubist Epoch", pp. 11–221, Phaidon Press Limited 1970 in association with the [[Los Angeles County Museum of Art]] and the [[Metropolitan Museum of Art]] ISBN 0 87587041 4</ref>
 
ในผลงานศิลปะของบาศกนิยมนั้น วัตถุจะถูกทำให้แตกเป็นชิ้น วิเคราะห์ และประกอบกลับขึ้นมาใหม่ในรูปลักษณ์ที่เป็นนามธรรมแทนที่จะแสดงวัตถุให้เห็นจากเพียงแค่มุมมองเดียว จิตรกรนั้นได้ถ่ายทอดวัตถุจากหลายแง่มุมเพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงวัตถุที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่กว้างขึ้น บ่อยครั้งนักที่ผืนราบดูเหมือนจะตัดกันในมุมที่เป็นไปโดยบังเอิญ ปราศจากความสอดคล้องของความลึก ส่วนพื้นหลังและผืนราบแทรกเข้าไปในระหว่างกันและกันเพื่อที่จะทำให้เกิดพื้นที่ที่ไม่ชัดเจนอย่างผิวเผิน ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะเฉพาะของบาศกนิยม
บรรทัด 16:
วิทยาการของบาศกนิยมนั้นเกิดขึ้นจากความพยายามร่วมกันของปีกัสโซและบราค ตามมาด้วยชาวเมือง Monmartre ในปารีส จิตรกรเหล่านี้เป็นผู้บุกเบิกสำคัญสำหรับความเคลื่อนไหว และชาวสเปนที่มาร่วมสมทบในภายหลังคือ ยวน กริซ หลังจากได้พบกับปีกัสโซ และบราคในปี 1907 โดยเฉพาะการเริ่มที่จะพัฒนาบาศกนิยม ปีกัสโซเป็นแรงผลักดันและแรงบันดาลใจที่ชักจูงบราคให้ออกจากลัทธิโฟวิสม์ (Fauvism) จิตรกรทั้งสองนี้เริ่มต้นที่จะทำงานด้วยกันอย่างใกล้ชิดในช่วงปลายปี 1908 ถึงช่วงต้นปี 1909 จนกระทั่งเกิดการจลาจลขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1914 ความเคลื่อนไหวนี้ได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วทั่วทั้งปารีสและยุโรป
 
นักวิจารณ์ศิลปะชาวฝรั่งเศสนาม[[หลุยส์ วาเซลส์]] (Louis Vauxcelles)เป็นผู้แรกที่ได้ใช้คำว่า cubism หรือ bizarre cubiques (ลูกบาศก์ที่ประหลาด)หลังจากที่เขาได้เห็นรูปภาพโดยบราค เขาได้อธิบายมันว่า เต็มไปด้วยลูกบาศก์เล็ก ซึ่งศัพท์นี้ได้ถูกใช้กันอย่างกว้างขวางแม้ว่าสองผู้สร้างนั้นจะไม่ได้เป็นคนนำมาใช้แรกเริ่ม นักประวัติศาตร์ศิลปะชื่อ เอิร์นส์ กอมบริ (Ernst Gombrich) ได้อธิบายบาศกนิยมไว้ว่าเป็นความพยายามที่แรงกล้าที่จะขจัดออกซึ่งความคลุมเครือและเพื่อที่จะบังคับให้คนได้อ่านภาพนั้น ที่ซึ่งเป็นการก่อสร้างขึ้นโดยมนุษย์ นั่นก็คือผ้าใบที่ถูกลงสี<ref>[[Ernst Gombrich]] (1960) ''Art and Illusion'', as quoted in [[Marshall McLuhan]] (1964) ''[[Understanding Media]]'', p.12 [http://www9.georgetown.edu/faculty/irvinem/theory/McLuhan-Understanding_Media-I-1-7.html]</ref>
 
บาศกนิยมนั้นได้ถูกใช้โดยจิตรกรมากมายโดยเฉพาะในมองต์ปานาส (Montparnasse) และถูกสนับสนุนโดยผู้ค้างานศิลป์แดเนียล (Daniel-Henry Kahnweiler)และกลายเป็นที่นิยมในเวลาไม่นาน จนภายในปี 1911นั้น นักวิจารณ์หลายท่านได้กล่าวถึงโรงเรียนบาศกนิยมของจิตรกร อย่างไรก็ตามจิตรกรมากมายที่คิดว่าตัวเองเป็นนักบาศกนิยมนั้นได้ไปในทิศทางที่ค่อนข้างจะต่างจากบราคและปีกัสโซ [[กลุ่มของสัดส่วนทอง]] (Puteux Group or Section d'Oro)เป็นการแยกตัวออกมาที่สำคัญของความเคลื่อนไหวบาศกนิยม ซึ่งได้รวมถึง[[กิโยม อาโปลิแนร์]] (Guillaume Apollinaire) [[โรเบิร์ต ดีลูเนย์]] (Robert Delaunay) [[มาร์เซล ดูชอง]] (Marcel Duchamp) พี่ชายของเขาเรมอนด์ ดูชอง (Raymond Duchamp-Villon) [[แยค วิลลอน]] (Jacques Villon) และ[[เฟอร์นา ลีจีร์]] (Fernard Leger) และ[[ฟรานซิส บิคาเบีย]] (Francis Picabia) เหล่าจิตรกรที่สำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับบาศกนิยมได้แก่ [[อัลเบิร์ต เกลซิส]] (Albert Gleizes) [[จีน เมตซิงเกอร์]] (Jean Metzinger) [[มารี ลอเรนซิน]] (Marie Laurencin) [[แม๊กซ์ เวเบอร์]] (Max Weber) [[ดีเอโก้ รีเวร่า]] (Diego Rivera) [[มารี โวโรเบียฟ]] (Marie Vorobieff) [[หลุยส์ มาโคซิส]] (Louis Marcoussis) [[จีน รีจรูโซ่]] (Jeanne Rij-Rousseau) [[โรเจอร์ เด ลา เฟรสเนย์]] (Roger de La Fresnaye) [[อองรีย์ เลอร์ เฟอร์คอนนีเย]] (Henri Le Fauconnier) [[อเล็กซานเดอร์ อาคิเพนโค]] (Alexander Archipenko) [[ฟรานทีสค์ คุปค่า]] (Frantisek Kupka) [[อามีดี โอซอนฟอง]] (Amedee Ozenfant) [[เลโอพอลด์ เซอวาค]] (Leopold Survage) [[แพทริค อองรีย์ บรูซ]] (Patrick Henry Bruce) เซคชั่นดีโอโร่ โดยพื้นฐานแล้วเป็นเพียงแค่ชื่อของจิตรกรที่มีการเชื่อมโยงเข้ากับบาศกนิยมและออฟิสซึม (orphism)
บรรทัด 39:
 
== อ้างอิง ==
{{ต้องการรายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ศิลปะสมัยใหม่]]