ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แซนแอนโทนีโอสเปอส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MelancholieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: sw:San Antonio Spurs
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: lt:San Antonijaus Spurs; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 5:
| สีตาราง1 = silver
| สีตาราง2 = white
| ภาพ = [[ภาพไฟล์:SA_827.gif|100px|ซานแอนโตนิโอ สเปอรส์]]
| ก่อตั้ง = [[พ.ศ. 2510]] (ค.ศ. 1967)
| สนาม = [[เอทีแอนด์ทีเซนเตอร์]]
| ประวัติ = '''ดัลลัส ชาพาร์ราลส์''' <br /> ([[ค.ศ. 1967|1967]]-[[ค.ศ. 1970|1970]], [[ค.ศ. 1971|1971]]-[[ค.ศ. 1973|1973]]) <br /> '''เทกซัส ชาพาร์ราลส์''' <br /> ([[ค.ศ. 1970|1970]]-[[ค.ศ. 1971|1971]]) <br /> '''ซานแอนโตนิโอ สเปอรส์''' <br /> ([[ค.ศ. 1973|1973]]-ปัจจุบัน)
| สีทีม = ดำ ขาว และ เงิน
| ชนะเอ็นบีเอ = 4 ([[ค.ศ. 1999|1999]], [[ค.ศ. 2003|2003]], [[ค.ศ. 2005|2005]], [[ค.ศ. 2007|2007]])
บรรทัด 21:
== ประวัติทีม ==
=== สมัยเริ่มแรกในลีกเอบีเอ ===
[[ภาพไฟล์:DAL 4722.gif|100px|left]]
[[ภาพไฟล์:DAL 4723.gif|100px|left]]
ซานแอนโตนิโอ สเปอรส์ เดิมคือทีม '''[[ดัลลัส]] ชาพาร์ราลส์''' (ชาพาร์ราล เป็นนกชนิดหนึ่ง มีอีกชื่อว่า [[โรดรันเนอร์]], Roadrunner) หนึ่งใน 11 ทีมก่อตั้งลีกเอบีเอ (American Basketball Association, ABA) เมื่อปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) ในยุคแรกนำทีมโดย คลิฟฟ์ เฮอแกน (Cliff Hagan) ซึ่งเป็นทั้งผู้เล่นและโค้ช ฤดูกาลที่สอง ทีมมีผลงานที่น่าผิดหวัง ทำสถิติได้อันดับ 4 ของลีกด้วยสถิติ 41-37 และตกรอบเพลย์ออฟโดยแพ้ทีม นิวออร์ลีนส์ บัคคาเนียรส์ มีผู้ชมในสนามน้อยและไม่ได้รับความสนใจเท่าไรในดัลลัส ในฤดูกาล 1970-71 ทีมเปลี่ยนมาใช้ชื่อ '''เทกซัส ชาพาร์ราลส์''' เพื่อพยายามผลักดันให้เป็นทีมประจำภูมิภาคแทน โดยเล่นทั้งในเมือง [[ฟอร์ตเวิร์ต]] เทกซัส ที่สนาม ทาร์แรนต์เคาน์ตีโคลีเซียม (Tarrant County Coliseum) และเมือง [[ลับบ็อค]] เทกซัส ที่สนาม ลับบ็อคมิวนิซิพาลโคลีเซียม (Lubbock Municipal Coliseum) แต่ก็ล้มเหลวและกลับไปเล่นในดัลลัสอย่างเต็มตัวเหมือนเดิมในฤดูกาลถัดมา โดยแยกเล่นที่สนาม มูดีโคลีเซียม (Moody Coliseum) และ ดัลลัสคอมเวนชันเซ็นเตอร์อะรีนา (Dallas Convention Center Arena) <ref>[http://www.remembertheaba.com/Dallas-Chaparrals.html Dallas Chaparrals History]</ref>
 
บรรทัด 36:
 
=== ฤดูกาลแรก ๆ ในเอ็นบีเอ ปีของจอร์จ เกอร์วิน (1976-85) ===
[[ภาพไฟล์:SanAntonioSpursOld.png|left]]
ถึงแม้ว่าจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับระดับความเก่งและโอกาสที่จะประสบความสำเร็จของทีมจากเอบีเอ สเปอรส์ ก็พิสูจน์ให้เห็นจากผลงานฤดูกาล 1976-77 ที่ทำสถิตินะ 44 แพ้ 38 เสมอกับทีมอื่นที่อันดับสี่ของคอนเฟอเรนซ์ตะวันออก แม้ว่าจะมีการกำหนดข้อจำกัดจากเอ็นบีเอในการเข้าลีกปีแรก ๆ โดยการจำกัดจำนวนการดราฟและรายได้ทางโทรทัศน์
 
บรรทัด 54:
 
=== ยุคของรอบินสัน (1989-1997) ===
[[ภาพไฟล์:San Antonio Spurs logo 1990-2002.png|right|150px|โลโก้ปี ค.ศ. 1990 ถึง 2002]]
ฤดูกาล 1989-90 ถือเป็นการกำเนิดอีกครั้งของสเปอรส์ เดวิน รอบินสัน เข้ามาเล่นให้สเปอรส์ พร้อมทั้ง เทอร์รี คัมมิงส์ (Terry Cummings) และผู้เล่นจากการดราฟปี 1989 ชอน เอลเลียต (Sean Elliott) จากการเพิ่มผู้เล่นนี้ สเปอรส์ ผลงานปรับปรุงดีที่สุดในประวัติศาสตร์เอ็นบีเอ มาอยู่ที่ ชนะ 56 แพ้ 26 สเปอรส์แพ้เกม 7 ในรอบเซมิไฟนอลคอนเฟอเรนซ์ตะวันตกให้แก่ [[พอร์ตแลนด์ เทรลเบลเซอรส์]] รอบินสัน สร้างผลงานผู้เล่นปีแรกของเซ็นเตอร์ได้ดีด้วยคะแนนเฉลี่ย 24.3 แต้ม 12.0 รีบาวด์ และได้รางวัลผู้เล่นหน้าใหม่ยอดเยี่ยมแห่งปี (Rookie of the Year)
 
บรรทัด 61:
ยุคของลูคัสเริ่มต้นได้ดี พาทีมชนะ 39 แพ้ 22 จบฤดูกาลปกติ เข้ารอบก่อนรองสุดท้ายของคอนเฟอเรนซ์ตะวันตกและแพ้[[ฟีนิกส์ ซันส์]] ฤดูกาล 1992-93 สเปอรส์ย้ายไปเล่นที่สนาม เฮมิแฟร์ อะรีนา ปี ค.ศ. 1993 นักธุรกิจ ปีเตอร์ เอ็ม. โฮลท์ (Peter M. Holt) พร้อมทั้งนักลงทุน 22 คนซื้อทีมสเปอรส์จาก เรด แม็คคอมส์ ด้วยราคา 75 ล้านเหรียญ
 
[[ภาพไฟล์:Alamo Dome CIMG7791.JPG|250px|thumb|left|อลาโมโดม สนามของทีมสเปอรส์ระหว่างปี ค.ศ. 1993 ถึง 2002]]
ฤดูกาลถัดมาเป็นปีแรกที่สเปอรส์ย้ายไปสนามแห่งใหม่ คือ อลาโมโดม (Alamodome) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ก่อนเริ่มฤดูกาลสเปอรส์ได้เทรดเอา เอลเลียต ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของแฟน ๆ ไปยัง[[ดีทรอยต์ พิสตันส์]]เพื่อแลกกับ [[เดนนิส ร็อดแมน]] นักบาสผู้มีชื่อเรื่องการ[[รีบาวน์]] ลูคัส พาทีมชนะ 55 แพ้ 27 แต่ตกรอบแรกให้กับ[[ยูทาห์ แจ๊ส|แจ๊ส]] ลูคัสถูกปลดออกจากการเป็นหัวหน้าโค้ชทันที และแทนที่ด้วยโค้ช [[บ็อบ ฮิลล์]] (Bob Hill) อดีตโค้ชของเพเซอรส์ในฤดูกาล 1994-95 ซึ่งถือว่าเป็นฤดูกาลที่ประสบความสำเร็จฤดูกาลหนึ่ง เอลเลียต ก็ยังกลับมาร่วมทีมหลังเล่นให้พิสตันส์ฤดูกาลหนึ่งซึ่งไม่โดดเด่นเท่าที่ควร จบฤดูกาลทีมได้สถิติดีที่สุดของเอ็นบีเอโดยชนะถึง 62 เกมและแพ้เพียง 20 เกม รอบินสันยังได้รับเลือกเป็น[[ผู้เล่นทรงคุณค่า]] รอบเพลย์ออฟ สเปอรส์ เข้าถึงรอบไฟนอลของสายตะวันตกและแพ้ให้กับทีม [[ฮิวส์ตัน รอกเก็ตส์]] ซึ่งได้แชมป์เอ็นบีเอในปีนั้น ตลอดฤดูกาลโดยเฉพาะรอบเพลย์ออฟ ดูว่ามีความไม่ลงรอยกันระหว่าง ร็อดแมน กับเพื่อนร่วมทีมหลายคน โดยเฉพาะรอบินสัน หลังจบฤดูกาล ร็อดแมน ก็ถูกเทรดไปทีม[[ชิคาโก บุลส์]]
 
บรรทัด 69:
 
=== ยุคทวิน เทาเวอรส์ (1997-2003) ===
[[ภาพไฟล์:Duncan Wallace.jpg|thumb|left|170px|การดราฟ [[ทิม ดังแคน]] เมื่อปี ค.ศ. 1997 เป็นจุดเปลี่ยนของทีม]]
ดังแคน เริ่มฤดูกาลแรก (1997-98) ก็สร้างผลงานดีได้ตำแหน่งผู้เล่นหน้าใหม่ยอดเยี่ยม เล่นได้เฉลี่ย 21.1 แต้ม 11.9 รีบาวด์ต่อเกม ทีมจบฤดูกาลปกติที่สถิติ 56-26 ตกรอบเพลย์ออฟรอบรองสุดท้ายของคอนเฟอเรนซ์ตะวันตกโดยแพ้ให้แจ๊ส ดังแคน ซึ่งเล่นในตำแหน่ง[[เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด (บาสเกตบอล)|เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด]]เล่นประสานงานใต้แป้นกับรอบินสันได้ดี ทำให้ทั้งคู่เป็นที่รู้จักในฉายาร่วมกันว่า '''ทวิน เทาเวอรส์''' (Twin Towers) สเปอรส์ให้ความหวังกับฤดูกาลต่อมาคือฤดูกาล 1998-99 แต่ก่อนที่จะเริ่มฤดูกาล เจ้าของทีมในเอ็นบีเอนำโดยคอมมิชชันเนอร์ [[เดวิด สเตอร์น]] (David Stern) พักการเล่นเพื่อทำข้อตกลงกับสมาคมผู้เล่นเอ็นบีเอ (NBA Players Association, NBAPA) ใหม่ กว่าจะได้ข้อตกลงเรียบร้อยก็เดือนมกราคม ค.ศ. 1999
 
[[ภาพไฟล์:LarryOBrienTrophies.jpg|thumb|230px|ถ้วยรางวัลแชมป์เอ็นบีเอของสเปอรส์]]
ในฤดูกาลที่หดเหลือ 50 เกมนี้ สเปอรส์เล่นได้สถิติ 37-13 และผ่านรอบต่าง ๆ ในเพลย์ออฟอย่างง่ายดายโดยชนะ 11 และแพ้เพียง 1 เกม ในรอบเอ็นบีเอไฟนอลก็ชนะทีม[[นิวยอร์ก นิกส์]]ใน 5 เกม ที่สนามเหย้าของนิกส์ด้วยคะแนน 78 ต่อ 77 คว้าแชมป์เอ็นบีเอสมัยแรกของทีม ในขณะที่ ทิม ดังแคน ได้เป็นผู้เล่นทรงคุณค่ารอบไฟนอล ชัยชนะของทีมถือเป็นครั้งแรกของทีมจากลีกเอบีเอ ซึ่งก่อนหน้านี้ทีมจากเอบีเอยังไม่เคยเข้ารอบไฟนอลเลยสักครั้ง สเปอรส์ยังสร้างสถิติผู้ชมในสนามมากที่สุดในเอ็นบีเอไฟนอล คือ 39,554 คนในเกมที่ 2 และทำลายสถิติที่เพิ่งสร้างก่อนหน้านั้นสองวันคือ 39,514 คนในเกมที่ 1
 
บรรทัด 82:
 
=== ยุค บิ๊กทรี (2003-ปัจจุบัน) ===
[[ภาพไฟล์:Spurs White House.jpg|thumb|left|330px|สเปอรส์เข้าพบประธานาธิบดี[[จอร์จ ดับเบิลยู. บุช]] ที่[[ทำเนียบขาว]] ภายหลังการได้แชมป์ปี ค.ศ. 2003]]
ฤดูกาล 2003-04 สเปอรส์มีผู้เล่นใหม่ในทีมมากถึง 9 คน ผลงานช่วงต้นของฤดูกาลทำได้ไม่ดีนัก ชนะ 9 แพ้ 10 ผลจากการที่รอบินสันเลิกเล่น และผู้เล่นใหม่พยายามปรับตัวให้เข้ากับทีม แต่สเปอรส์ก็ปรับตัวได้และชนะติดต่อกัน 13 เกม กลับมาอยู่ทีมอันดับต้น ๆ ในเอ็นบีเออีกครั้ง จบฤดูกาลโดยชนะรวด 11 เกมสุดท้าย ได้สถิติ 57-25 ตามทีมที่สถิติดีที่สุดของฝั่งตะวันตกอยู่หนึ่งเกม รอบเพลย์ออฟ สเปอรส์เอาชนะ[[เมมฟิส กริซลีส์]] 4 เกมรวดผ่านเข้ารอบสองไปพบกับ[[ลอสแอนเจลิส เลเกอรส์]] สเปอรส์ชนะสองเกมแรกที่สนามเหย้าทำให้สเปอรส์มีสถิติชนะติดต่อกันนับรวมฤดูกาลปกติถึง 17 เกม แต่สองเกมถัดไปในซีรีส์นี้กลับไปเล่นที่บ้านของเลเกอรส์และมีปัญหาการทำคะแนน ผลคือแพ้ทั้งสองเกม เกม 5 กลับมายังสนาม เอสบีซี เซ็นเตอร์ ทิม ดังแคน ดูเหมือนจะพาทีมไปสู่ชัยชนะด้วยคะแนน 73 ต่อ 72 จากการชู้ตลูกก่อนหมดเวลา 0.4 วินาที แต่ [[เดเร็ก ฟิชเชอร์]] (Derek Fisher) ของเลเกอรส์กลับชู้ตลูกก็ที่เวลาจะหมดทำให้ชนะพลิกความคาดหมายด้วยคะแนน 74 ต่อ 73 และนำซีรีส์อยู่ 3 ต่อ 2 เกม<ref>"Parker perplexed once again", ''San Antonio Express-News'', 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2004</ref><ref>"S.A. is heartbreak city", ''San Antonio Express-News'', 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2004</ref><ref name=Fisher>[http://www.nba.com/games/20040513/LALSAS/recap.html Fisher’s Jumper Gives Lakers Dramatic Game 5 Win], NBA.com, 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 (เข้าถึงข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007)</ref> สเปอรส์ประท้วงว่านาฬิกาเริ่มเดินช้าทำให้ฟิชเชอร์สามารถชู้ตลูกได้ทันเวลา<ref>[http://www.chron.com/CDA/archives/archive.mpl?id=2004_3764146 Triple Crown bid nabs viewers], ''Houston Chronicle'', 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2004</ref><ref name=Fisher/> กรรมการสามารถตรวจสอบจากเทปที่บันทึกไว้ว่าฟิชเชอร์ชู้ตลูกก่อนเวลาจะหมดแต่ไม่สามารถตรวจสอบเรื่องนาฬิกาไม่เริ่มนับทันทีที่นำลูกเข้าสนาม เกม 6 สเปอรส์กลับไปเล่นสนามเลเกอรส์และแพ้ ตกรอบเพลย์ออฟ
 
บรรทัด 88:
สเปอรส์จบฤดูกาลปกติด้วยสถิติอันดับสองของสายตะวันออก ชนะ 59 แพ้ 23 และสถิติดีที่สุดของดิวิชัน ในฤดูกาลเพลย์ออฟ สเปอรส์ชนะ[[เดนเวอร์ นักเก็ตส์]]ในรอบแรก 4 ต่อ 1 เกม [[ซีแอตเติล ซุปเปอร์โซนิค]]ในรอบสอง 4 ต่อ 2 เกม และ [[ฟีนิกส์ ซันส์]] 4 ต่อ 1 เกมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศและคว้าแชมป์เป็นสมัยที่สามในรอบเจ็ดปี เอาชนะแชมป์เก่าคือ [[ดีทรอยต์ พิสตันส์]] ไป 4 ต่อ 3 เกม ทิม ดังแคน ได้รับเลือกเป็นผู้เล่นทรงคุณค่ารอบไฟนอล และเป็นคนที่สี่ที่ได้รับรางวัลนี้สามครั้ง (ถัดจาก [[แมจิก จอห์นสัน]], [[ไมเคิล จอร์แดน]] และ [[แชคิล โอนีล]]) ฤดูกาลนี้ มานู จิโนบิลี ก็กลายเป็นดาราในทีม และได้รับคำสรรเสริญจากแฟนทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ (โดยเฉพาะ[[อาร์เจนตินา]]บ้านเกิดของเขา) เขาได้ลงเล่นในเกมรวม[[ดาราเอ็นบีเอ]]ในปีนั้น
 
[[ภาพไฟล์:ATTCenter.jpg|250px|thumb|right|สนามเอทีแอนด์ทีเซ็นเตอร์ ตอนกลางคืน]]
ฤดูกาล 2005-06 นำโดย ทิม ดังแคน, มานู จิโนบิลี และที่เพิ่งได้เล่นในเกมรวมดาราปีนั้นคือ โทนี พาร์เกอร์ ทีมได้ทำลายสถิติชนะมากที่สุดของแฟรนไชส์ โดยชนะ 69 แพ้เพียง 19 เกม และเข้าเพลย์ออฟติดต่อกัน 9 ปี สเปอรส์ตกรอบสองในเพลย์ออฟจากระบบการจับคู่ที่ไปพบกับ[[ดัลลัส แมฟเวอริกส์]]ทั้งที่สองทีมเป็นทีมอันดับดีที่สุดในคอนเฟอเรสซ์
 
ฤดูกาล 2006-07 สเปอรส์จบฤดูกาลปกติที่สถิติ 58-24 เข้าเพลย์ออฟชนะ[[เดนเวอร์ นักเก็ตส์]]ด้วย 4 ต่อ 1 เกม ชนะ[[ฟีนิกส์ ซันส์]] 4 ต่อ 2 เกม ชนะ[[ยูทาห์ แจ๊ส]] 4 ต่อ 1 เกม และเข้ารอบไฟนอลชนะ[[คลีฟแลนด์ คาวาเลียส์]]4 ต่อ 0 เกม คว้าแชมป์สมัยที่สี่ในรอบเก้าปี อย่างสวยงาม
 
ฤดูกาล 2007-08 สเปอรส์จบฤดูกาลปกติที่อันดับ3ของสายตะวันตกสถิติ 56-26 เข้ารอบเพลย์ออฟรอบแรกพบ[[ฟีนิกส์ ซันส์]]ชนะไป 4 ต่อ 1 เกม ชนะ รอบ 2 พบ[[นิวออรีนส์ ฮอร์เนตส์ ]] ชนะไป4 ต่อ 3 เกม และเข้ารอบไฟนอลของสาย แต่แพ้ให้กับ[[ลอสแอนเจลิส เลเกอรส์]]4 ต่อ 1 เกม ตกลอบไฟนอลไปอย่างหน้าผิดหวัง
 
== ผู้เล่นที่มีชื่อเสียง ==
บรรทัด 140:
[[ja:サンアントニオ・スパーズ]]
[[ko:샌안토니오 스퍼스]]
[[lt:San AntonioAntonijaus Spurs]]
[[nl:San Antonio Spurs]]
[[no:San Antonio Spurs]]