ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภิกษุณี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''ภิกษุณี''' ([[บาลี]]: ''ภิกฺขุณี''; [[สันสกฤต]]: ''ภิกฺษุณี'') เป็นคำใช้เรียกนักบวชหญิง ในพระ[[พุทธศาสนา]] คู่กับ [[ภิกษุ]] ที่หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนา คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์ที่มีเฉพาะใน[[พระพุทธศาสนา]] โดยเป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น
 
ภิกษุณี หรือ ภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม 8 ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง 227 ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัย[[พุทธกาล]]ไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน และการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติ[[พรหมจรรย์]]และพระพุทธศาสนาได้ หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช
 
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งวงศ์ภิกษุณีเถรวาทขึ้นใน[[ประเทศไทย]] อย่างไรก็ตามในประเทศพุทธเถรวาทที่เคยมี{{fn|2}}หรือไม่เคยมีวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ในปัจจุบัน{{fn|3}} ต่างก็นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการที่[[อุบาสิกา]]ที่มีศรัทธาโกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว ถือปฏิบัติศีล 8 ([[อุโบสถศีล]]) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า [[แม่ชี]] เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้<ref>'''เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.'''. เอกสาร : ''เอกสารแนะนำวัดคุ้งตะเภา'' . [[อุตรดิตถ์]] : [[วัดคุ้งตะเภา]] , 2549. </ref> โดยส่วนใหญ่แม่ชีเหล่านี้จะอยู่ในสำนักวัดซึ่งแยกเป็นเอกเทศจากกุฎิสงฆ์