ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาคารชุนะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MelancholieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: war:Nagarjuna
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: jbo:nagardjunas; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพไฟล์:Gurunagarjuna.jpg|thumb|150px|พระนาคารชุน]]'''นาคารชุน''' (नागार्जुन ; โรมัน: Nāgārjuna ; เตลุกุ : నాగార్జునా ; จีน : 龍樹) (มีชีวิตในช่วงประมาณ พ.ศ. 700 - 800) เป็น[[นักปรัชญาอินเดีย]] เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกาย[[มหายาน]] แห่ง[[พุทธศาสนา]] และนับเป็นนักคิดชาวพุทธที่มีอิทธิพลสูงสุด ถัดจาก[[พระพุทธเจ้า]] เป็นที่ศรัทธาและกล่าวถึงในหมู่นักศึกษาพุทธศาสนาชาวยุโรปมาโดยตลอด ท่านเป็นนักปราชญ์ทาง[[พระพุทธศาสนา]]ที่มีผลงานโดดเด่นในด้าน[[ปรัชญา]]และ[[ตรรกวิทยา ]] ผลงานสำคัญของท่านคือ '''มาธยมิกการิกา''' (มาธยมิกศาสตร์)อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ประกอบด้วยการิกา 400 การิกา ใน 27 ปริเฉท หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องตลอดมา และเป็นที่ยอมรับกันว่านัก[[ตรรกวิทยา]]ที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนาคารชุนไม่เคยมีปรากฏในโลก ศาสนิกชนมหายานทุกนิกายยกย่องท่านในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ อย่างไรก็ตาม ประวัติของท่านกลับไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
 
 
== ประวัติ ==
 
ตามประวัติที่แปลเป็นภาษาจีนโดยพระ[[กุมารชีวะ]]เมื่อประมาณ ค.ศ. 405 ได้กล่าวว่า พระนาคารชุนเป็นชาว[[อินเดีย]]ภาคใต้ เกิดในสกุล[[พราหมณ์]] แต่ข้อมูลที่บันทึกโดย[[พระถังซำจั๋ง]]ระบุว่า ท่านเกิดในแคว้นโกศลภาคใต้, ท่านเป็นพระสหายที่มีอายุไล่เลี่ยกับพระเจ้ายัชญศรีเคาตมีบุตร (ค.ศ. 166-196) ประวัติในตอนต้นไม่แน่ชัด หลักฐานของ[[ทิเบต]]กล่าวว่าท่านออกบวชตั้งแต่วัยเด็กเนื่องจากมีผู้ทำนายว่าจะอายุสั้น บ้างก็ว่าในวัยเด็กมารดาของท่านได้รับคำทำนายว่าท่านนาคารชุนจะไม่อาจมีบุตร ทางแก้คือต้องจัดพิธีเลี้ยงพราหมณ์ 100 คน ครอบครัวของท่านจึงต้องจัดพิธีดังกล่าว แต่หลังจากนั้นพราหมณ์ก็ยังทำนายว่าต้องจัดพิธีเช่นนี้อีกเนื่องจากยังไม่สิ้นเคราะห์ กระทั่งหลังจากที่มารดาทำพิธีเลี้ยงพราหมณ์เป็นครั้งที่สาม มารดาจึงตัดสินใจให้ท่านออกบวชขณะอายุยังไม่ครบ 7 ปี และให้ท่านออกจาริกแสวงบุญเพื่อแสวงหาผู้ที่สามารถช่วยชีวิตท่านให้รอดพ้นจากความตาย ท่านจาริกมาจนถึง[[นาลันทา ]] ท่านได้พบกับท่านราหุลภัทระและได้รับการศึกษาที่นั่น
 
แต่อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่าท่านออกบวชในวัยหนุ่ม เหตุเนื่องจากท่านกับสหายใช้[[เวทมนตร์]]ลักลอบเข้าไปในพระราชวังและถูกจับได้ สหายท่านถูกจับประหารชีวิต เนื่องจากตัวท่านอธิษฐานว่าหากรอดพ้นจากการจับกุมในครั้งนี้จะออกบวชในพระพุทธศาสนา หลังจากอุปสมบทแล้วได้ศึกษา[[พระไตรปิฎก]]เจนจบภายใน 90 วัน มีความรอบรู้ในไตรเพทและศิลปศาสตร์นานาชนิด ประวัติท่านปรากฏเป็นตำนานเชิงอภินิหารในพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ จนยากจะหาข้อสรุป ตำนานเล่าว่าท่านได้ลงไปยังเมืองบาดาลเพื่ออัญเชิญคัมภีร์[[ปรัชญาปารมิตาสูตร]]ขึ้นมาจากนาคมณเฑียร และเป็นผู้เปิดกรุพระธรรมเร้นลับของ[[มนตรยาน]]ซึ่งพระวัชรสัตว์บรรจุใส่สถูปเหล็กไว้ ได้มีการอ้างว่าท่านพำนักอยู่ในสถานที่หลายแห่งของอินเดีย เช่น ศรีบรรพตในอินเดียภาคใต้ ในคัมภีร์ทิเบตกล่าวว่าท่านใช้เวลาช่วงหนึ่งอยู่ที่นาลันทาด้วย
บรรทัด 19:
ตัวอย่างในเรื่องนี้ปรัชญามาธยมิกได้ใช้อุปมาว่า เปรียบเหมือนมายาบุรุษคนหนึ่งประหารมายาบุรุษอีกคนหนึ่ง การประหารของมายาบุรุษทั้งสองย่อมเป็นมายาไปด้วยฉันใด ทั้งผู้บรรลุนิพพานและสภาวะแห่งนิพพานย่อมเป็นศูนย์ไปด้วยฉันนั้น หรือเปรียบกิ่งฟ้าซึ่งไม่มีอยู่จริง สิ่งที่แขวนอยู่บนกิ่งฟ้าก็ย่อมจะมีไม่ได้ แล้วเช่นนี้จะมีอะไรอีกสำหรับปัญหาการบรรลุและไม่บรรลุ กล่าวให้ชัดขึ้นอีกคือ เมื่อตัวตน อัตตา [[อาตมัน]] เป็นสิ่งว่างเปล่าไม่มีแก่นสารอยู่จริง เป็นสักแต่คำพูด เป็นสมมติโวหารเท่านั้นแล้ว การประหาร[[กิเลส]]ของสิ่งที่ไม่มีจริงนั้นจะเป็นจริงได้อย่างไร อนึ่ง อุปมาว่ามายาบุรุษผู้ถูกประหารอันเปรียบด้วยกิเลสทั้งหลาย ก็ไม่มีอยู่จริงเช่นนี้แล้ว ถ้าเกิดความเข้าใจผิดว่า มีสิ่งอันตนประหาร หรือมีสิ่งอันตนได้บรรลุถึง (มรรค ผล นิพพาน) แล้วไซร้ จะหลีกเลี่ยงส่วนสุดทั้งสองข้าง (เที่ยงแท้-ขาดสูญ) ได้อย่างไร มาธยมิกะแสดงหลักว่าทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรมมีสภาพเท่ากันคือเป็นสูญยตา เพราะการมีอยู่แห่งสังขตะจึงมีอสังขตะ หากสังขตธรรมเป็นมายาหามีอยู่จริงไม่โดยปรมัตถ์แล้ว อสังขตธรรมอันเป็นคู่ตรงข้ามก็ย่อมไม่มีไปด้วย อุปมาดั่งดอกฟ้ากับเขากระต่าย หรือนางหินมีครรภ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีในโลก เช่นนั้นแล้วบุตรอันเกิดจากนางหินมีครรภ์จะมีอย่างไรได้ แม้แต่ความสูญเองก็เป็นมายาด้วยเช่นกัน แต่กระนั้น ปรัชญาศูนยวาทก็ยังยืนยันในเรื่องนิพพานและบุญบาปว่าเป็นสิ่งมีอยู่ เพียงแต่คัดค้านสิ่งที่ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเองเท่านั้น เพราะสรรพสิ่งเป็นศูนยตานั่นเอง คนทำกรรมดีย่อมได้ดี ทำกรรมชั่วย่อมได้ชั่ว ปุถุชนจึงบรรลุเป็นพระอริยะได้ หาไม่หากสรรพสิ่งเที่ยงแท้อยู่โดยตัวของมันเองแล้วย่อมไม่แปรผัน เมื่อนั้นมรรคผลนิพพานก็จะมีไม่ได้ด้วย
 
== อ้างอิง ==
*ภรัต ซิงห์ อุปัธยายะ.''นักปราชญ์พุทธ''.กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2542.
*[[สุชิน ทองหยวก]].''ปรัชญามาธยมิก''.กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2509.
*[[เสถียร โพธินันทะ]].''ปรัชญามหายาน''.กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2541.
*________.''วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร''. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2540.
*Kalupahana David J. ''Nagarjuna:The Philosophy of the Middle Way''. State University of New York Press, 1986.
บรรทัด 49:
[[it:Nāgārjuna]]
[[ja:龍樹]]
[[jbo:Nāgārjunanagardjunas]]
[[ko:용수]]
[[lt:Nagardžuna]]