ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยเชื้อสายจีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rikker04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
'''ชาวไทยเชื้อสายจีน''' คือ ชาวจีนที่เกิดใน[[ประเทศไทย]] และ เป็น[[เชื้อชาติ|เชื้อสาย]]ของผู้อพยพชาวจีน หรือ [[ชาวจีนโพ้นทะเล]] คนไทยเชื้อสาย[[ชาวจีน|จีน]] มีประมาณ 8 ล้านคนใน[[ประเทศไทย]] หรือ 14% ของประชากรทั้งประเทศ และยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เพราะที่กลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ
 
'''ชาวไทยเชื้อสายจีน''' ส่วนมากบรรพบุรษจะมาจาก [[จังหวัดแต้จิ๋ว]] ใน[[มณฑลกวางตุ้ง]] ทาง[[ตอนใต้ของจีน]] พูด[[ภาษาแต้จิ๋ว]] ซึ่งเป็นภาษากลุ่ม[[หมินหนาน]] รองลงมาคือมาจาก [[แคะ]] [[ฮกเกี้ยน]] และ[[ไหหลำ]]
 
ชาวจีนทางตอนใต้ของ[[ประเทศจีน]]มักประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น ทำสวน ทำไร่ ฯลฯ จีนทางตอนใต้เหล่านี้ถือว่าเป็นชาวจีนที่ยากจน ชีวิตที่ประเทศจีนอยู่อย่างลำบากยากจน จึงแสวงหาถิ่นที่อยู่ที่ดีกว่า การอพยพจึงเป็นทางออก และ ย่าน[[เยาวราช]]เป็นหนึ่งในย่านที่มีคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่มากที่สุด
บรรทัด 20:
 
=== แต้จิ๋ว ===
[[แต้จิ๋ว]] (潮州 ; Teochew ; [[ภาษาจีนกลาง]]: Cháozhōu) เป็นกลุ่มชาวจีนที่มากที่สุด ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามพื้นที่รอบๆ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]และตาม[[ภาคกลาง]] ได้มาที่สยามตั้งแต่ยุค[[กรุงศรีอยุธยา]]แล้ว โดยมาจาก [[มณฑลฝูเจี้ยน]] และ [[มณฑลกวางตุ้ง]] ส่วนมากจะทำการค้าทางด้าน [[การเงิน]] ร้านขายข้าว และ [[ยา]] มีบางส่วนที่ทำงานให้กับภาครัฐ ในสมัย[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] พ่อค้าจีนแต้จิ๋วจำนวนมากได้รับสิทธิพิเศษ ชาวจีนกลุ่มนี้จึงเรียกว่า จีนหลวง (Royal Chinese) สาเหตุเนื่องจาก [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] ทรงมีเชื้อสายแต้จิ๋ว เช่นกัน ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์การอพยพของชาวแต้จิ๋วจึงมีมากขึ้น และในประเทศไทยเองก็มีคนแต้จิ๋วเป็นจำนวนมาก
 
=== แคะ ===
บรรทัด 26:
 
=== ไหหลำ ===
[[ไหหลำ]] (海南 ; [[ภาษาจีนกลาง]]: Hǎinán) เป็นชาวจีนที่อพยพมาจากเกาะ[[ไหหลำ]]ของจีน ชาวไหหลำจะมีเป็นจำนวนมากที่ [[เกาะสมุย]] จังหวัด[[สุราษฎร์ธานี]]และ[[ปากน้ำโพ]] จังหวัด[[นครสวรรค์]] และชาวจีนกลุ่มนี้จะ[[ชำนาญ]]ทางด้าน [[ร้านอาหาร]] และ [[โรงงาน]]
 
=== ฮกเกี้ยน หรือ ฝูเจี้ยน ===
[[ฝูเจี้ยน|ฮกเกี้ยน หรือ ฝูเจี้ยน]] (福建 ; Hokkien ; [[ภาษาจีนกลาง]]: Fújiàn) จะเชี่ยวชาญทางด้านการ[[ค้าขายทางเรือ]] หรือ[[รับราชการ]] และชาวจีนกลุ่มนี้จะมีจำนวนมากในพื้นที่[[ภาคใต้]] และจังหวัดทั่วๆไป
 
=== ฮ่อ ===
บรรทัด 48:
=== สมัยกรุงธนบุรี ===
 
เมื่อครั้นเสีย[[อาณาจักรอยุธยา|กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2]] ระหว่างปี [[พ.ศ. 2310]] - [[พ.ศ. 2312]] จักรวรรดิจีนได้ถูกรุกรานโดย[[พม่า]]ที่กำลังขยายแสนยานุภาพ จักรพรรดิจีนในสมัยนั้นได้ส่งกองกำลังไปปราบปรามพม่าถึง 4 ครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่ฝ่ายจีนก็ได้เบนความสนใจมาที่กองทัพพม่าใน[[อาณาจักรอยุธยา]] ซึ่งกำลังถูกพม่ายึดครอง ขุนพลไทยนาม "สิน" ซึ่งมีบิดาเป็นคนจีน และมารดานาม นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาว[[สยาม]] ได้ใช้สถานการณ์ที่ได้เปรียบนี้ทำให้สามารถกอบกู้เอกราชให้[[สยาม]]ได้สำเร็จ ขุนพลท่านนั้นต่อมาได้ขึ้น[[ครองราชย์]]เป็น [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] แห่งกรุงธนบุรี หรือที่ชาวจีนขนามนามว่า แต้อ๊วง ด้วยความที่ว่าบิดาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นคนจีน
 
เมื่อ[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] ได้ทรงขึ้น[[ครองราชย์]]แล้ว ชาวจีนแต้จิ๋วได้เข้ามาทำการค้า และ[[อพยพ]]มายัง[[กรุงธนบุรี]]เป็นจำนวนมาก ทำให้ประชากร[[ชาวจีนโพ้นทะเล]]ในไทย เพิ่มขึ้นจาก 230,000 คนใน พ.ศ. 2368 เป็น 792,000 คนใน พ.ศ. 2453 และใน พ.ศ. 2475 ประชากรไทยถึง 12.2% เป็น[[ชาวจีนโพ้นทะเล]]
 
=== สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ===
การอพยพของชาวจีนยุคแรก ส่วนมากเป็นผู้ชาย เมื่อเข้ามาตั้งรกรากแล้วก็จะแต่งงานกับผู้หญิงไทย และกลายเป็นค่านิยมในสมัยนั้น ลูกหลานจากการแต่งงานข้ามเชื้อชาตินี้เรียกว่า ลูกจีน แต่ในสมัย[[กรุงรัตนโกสินทร์]]นี้ กระแสการอพยพเริ่มเปลี่ยนไป ผู้หญิงจีนอพยพเข้ามาใน[[สยาม]]มากขึ้น จึงทำให้การแต่งงานข้ามเชื้อชาติลดลง
 
การ[[คอรัปชั่น]] ในรัฐบาล[[ราชวงศ์ชิง]] และการเพิ่มขึ้นของประชากรใน[[ประเทศจีน]] ประกอบกับการเก็บ[[ภาษี]]ที่เอาเปรียบ ทำให้ชายชาวจีนจำนวนมากมุ่งสู่[[สยาม]]เพื่อหางานและส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวใน[[ประเทศจีน]] ขณะนั้นชาวจีนจำนวนมากต้องจำยอมขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บ[[ภาษี]]เพาะปลูกของทางการ
 
ในรัชสมัยปลาย[[รัชกาลที่ 3]] [[ประเทศไทย]]ต้องระวังผลกระทบจากการที่[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]ได้ดินแดนฝั่งซ้าย[[แม่น้ำโขง]] และ[[สหราชอาณาจักร|อังกฤษ]]ได้มลายูเป็นอาณานิคม ในขณะเดียวกัน ชาวจีนจาก[[มณฑลยูนนาน]]ก็เริ่มไหลเข้าสู่[[ประเทศไทย]] กลุ่มชาวไทยชาตินิยมจากทุกระดับจึงได้เกิดความคิดต่อต้านชาวจีนขึ้น หลายร้อยปีก่อนหน้านี้ ชาวจีนกุมเศรษฐกิจการค้าส่วนใหญ่ไว้ และยังได้รับอำนาจผูกขาดการค้าและรวมถึงการเป็นนายอากรเก็บภาษีซึ่งเริ่มในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] ด้วย ในขณะนั้นอิทธิพลทางการค้าของชาติตะวันตกก็สูงขึ้น ทำให้พ่อค้าขาวจีนหันไปขายฝิ่นและเป็นนายอากรมากขึ้น นอกจากนี้ เจ้าของโรงสีและพ่อค้าข้าวคนกลางชาวจีนยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสยามในปีซึ่งกินเวลาเกือบ 10 ปี หลังปี [[พ.ศ. 2448]] ด้วย
 
การให้สินบนขุนนาง กลุ่มอันธพาล[[อั้งยี่]] และการเก็บภาษีอย่างกดขี่ ทั้งหมดนี้จุดประกายให้คนไทยเกลียดชังคนจีนมากขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราการอพยพเข้า[[ประเทศไทย]]ก็มากขึ้น ใน[[พ.ศ. 2453]] เกือบ 10 % ของประชากรไทยเป็นชาวจีน ซึ่งผู้อพยพใหม่เหล่านี้มากันทั้งครอบครัวและปฏิเสธที่จะอยู่ในชุมชนและสังคมเดียวกับคนไทย ซึ่งต่างกับผู้อพยพยุคแรกที่มักแต่งงานกับคนไทย [[ซุน ยัตเซ็น]] ผู้นำการปฏิวัติ[[ประเทศจีน]] ได้เผยแพร่ความคิดให้ชาวจีนในประเทศไทยมีความคิดชาตินิยมจีนให้มากขึ้นเพื่อต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ ชุมชนชาวจีนจะสนับสนุนการตั้งโรงเรียนเพื่อลูกหลานจีนโดยเฉพาะโดยไม่เรียนรวมกับเด็กไทย ในปี [[พ.ศ. 2452]] [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงให้ชาวต่างชาติใน[[ประเทศไทย]]จดทะเบียนเป็นคนต่างด้าว เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวจีนจำนวนมากต้องเลือกว่าจะเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์หรือจะยอมเป็นคนต่างด้าว
 
ชาวไทยเชื้อสายจีนจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารซึ่งเริ่มในประมาณพ.ศ. 2475 ในสมัย[[จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] มีการประกาศอาชีพสงวนของคนไทยเท่านั้น เช่น การปลูกข้าว ยาสูบ อีกทั้งประกาศอัตราภาษีและกฏการควบคุมธุรกิจของชาวจีนใหม่ด้วย
 
ในขณะที่มีการปลุกระดมชาตินิยมจีนและไทยขึ้นพร้อมกัน ในปี [[พ.ศ. 2513]] ลูกหลานจีนที่เกิดในไทยมากกว่า 90 % ถือสัญชาติไทยโดยสมบูรณ์ และเมื่อมีการเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง[[ประเทศไทย]]และ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]อย่างเป็นทางการแล้วในปี พ.ศ. 2518 ชาวจีนที่ไม่ได้เกิดใน[[ประเทศไทย]] ก็มีสิทธิที่จะเลือกที่จะถือสัญชาติไทยได้
 
== ภาษาและวัฒนธรรม ==