ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศิวนาฏราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Malakoa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Malakoa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพ:NatarajaMET.JPG|thumb|right|เทวรูปศิวนาฏราช]]
'''ศิวนาฏราช''' (Nataraja) เป็นเทพปางหนึ่งของ[[พระศิวะ]] เป็นบรมครูของศิลปะการร่ายรำหรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย ความเชื่อว่าการเต้นรำของพระศิวะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการสร้างโลกและมนุษย์ ศิวนาฏราชจะปรากฏในท่าย่างสามขุม (ตรีวิกรม) ซึ่งเป็น 1 ใน 108 ท่าที่ออกแบบโดยพระศิวะ โดยมีสัญลักษณ์ที่พระกรขวาถือกลองคือการสร้างโลก พระกรซ้ายมีเปลวเพลิงล้อมเป็นกรอบคือการสิ้นสุดที่ไฟจะเผาผลาญโลก พระศิวะได้ทรงพนันกับพระอุมาว่าโลกที่สร้างใหม่แข็งแรงหรือไม่ โดยพระศิวะทรงยืนขาเดียวบนก้อนหินโดยที่ขาต้องไม่ตก ในขณะที่พญานาคแกว่งลำตัววิดน้ำในมหาสมุทรให้สะเทือน พระศิวะทรงชนะ พระองค์ทรงสร้างโลกใหม่ด้วยการเต้นรำบนก้อนหินนั้น ในระหว่างที่ทรงเต้นรำเกิดเปลวไฟและน้ำหลั่งไหลจากพระวรกายกลายเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต
== ศิวนาฏราชในศิลปะอินเดีย ==
[[ไฟล์:41-03-19-Nataraja 1-000.jpg|left|350px]]
นาฏราช (Nataraja) หรือพระศิวะในฐานะของบรมครูองค์แรกแห่งการร่ายรำ พระหัตถ์ขวาด้านบน ทรงถือกลองรูปร่างคล้ายๆ นาฬิกาทราย (เอวคอด) กลองเล็กๆ ใบนี้ให้จังหวะประกอบการฟ้อนรำของพระศิวะ และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เสียงกลองเป็นสัญลักษณ์แทนธาตุแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในจักรวาล นั่นคือ กลองเป็นสัญลักษณ์แห่งการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ทั้งมวล
พระหัตถ์ซ้ายด้านบน ถืออัคนี อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการทำลายล้าง โดยคำว่า ทำลายล้าง ในที่นี้ หมายถึง ล้างความชั่ว ล้างอวิชชา ให้หมดไป เพื่อเปิดทางการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาใหม่ พระกรและพระหัตถ์คู่ซ้าย-ขวา ซึ่งแทนการสร้างสรรค์และการทำลายล้างนี้ กางออกไปในระดับเสมอกัน อันบ่งบอกถึงความหมายที่ว่า "มีเกิด ก็ย่อมมีดับ" นั่นเอง
พระหัตถ์ขวาด้านล่างแบออก เรียกว่า ปางอภัย (abhaya pose) ซึ่งมีความหมายว่า "จงอย่าได้กลัวเลย" (do not fear) เพราะไม่มีภัยใดๆ จะมากล้ำกลาย ท่านี้บ่งว่าพระศิวะเป็นผู้ปกป้องอีกด้วย
ส่วนพระกรซ้ายด้านล่างพาดขวางลำตัวระดับอก ในลักษณะคล้ายๆ งวงช้าง ซึ่งบางคนตีความว่า เป็นงวงของพระคเณศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ และเป็นบุตรของพระศิวะอีกต่างหาก
ปลายนิ้วของพระกรที่เป็นงวงช้างนี้ชี้ไปที่พระบาทซ้ายที่ยกขึ้น มาจากพื้น ก็ตีความกันว่า พระบาทที่ยกขึ้นมานี้บ่งถึงการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร
ส่วนพระบาทขวานั้นเหยียบอยู่บนอสูรมูลาคนี ซึ่งเป็นตัวแทนของอวิชชา เมื่ออวิชชาถูก 'เหยียบ' ไม่ให้โผล่ขึ้นมาบดบังความจริง ความรู้แจ้ง (วิชชา) ก็จะปรากฏขึ้นนั่นเอง
วงกลมๆ ที่ล้อมพระศิวะอยู่ก็คือ ขอบเขตแห่งการร่ายรำ อันเป็นตัวแทนของจักรวาลทั้งมวล โดยมีขอบด้านนอกเป็นเปลวไฟ และมีขอบด้านในเป็นน้ำในมหาสมุทร
พระศิวะในปางนาฏราชนี้ยังแสดงคู่ตรงกันข้ามกันเอาไว้ทั้งแบบตรง ไปตรงมา และแบบซุกซ่อน โดยคู่ตรงกันข้ามแบบตรงไปตรงมา ก็อย่างเช่น กลอง = สร้าง vs ไฟ = ทำลาย ที่โม้ให้ฟังไปแล้วในตอนต้น
แม้พระศิวะจะร่ายรำ ขยับมือ ขยับเท้าและแขนขาอย่างต่อเนื่อง แต่พระพักตร์กลับสงบนิ่งเฉย เหมือนไร้ความรู้สึก ซึ่งเป็นเสมือนการสอนว่า การเกิด-ดับของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่โดยตลอด
พระเกศาของพระศิวะยาวสยาย สะบัดยื่นออกไปทั้งซ้ายขวา เป็นสัญลักษณ์แทนผู้ละทิ้งชีวิตทางโลก แต่ก็มีพระคงคาและพระจันทร์เสี้ยวอนเป็นสัญญลักษณ์แห่งเทพสตรีประดับอยู่ด้วย
== ศิวนาฏราชในศิลปขอม ==
ปราสาทหินในศิลปขอม ทับหน้าของปรางค์ประธานจะแกะสลักเป็นรูปพระศิวนาฏราช หรือ พระอิศวรทรงฟ้อนรำ ซึ่งจัดเป็นประติมากรรมที่สำคัญที่สุดในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ในศิลปขอมนั้นภาพพระศิวนาฏราชจะเป็นภาพสลักนูนต่ำทั้งสิ้น ไม่เป็นประติมากรรมชนิดลอยตัว
ส่วนทับหลังของปราสาทจะเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธิ์
== ศิวนาฏราชกับศิลปการแสดง ==
[[ไฟล์:520107-9151BDLC.JPG|right|450px]]
==== นาฏศิลป์ ====
ภาพการร่ายรำของพระศิวะนับว่ามีบทบาทสำคัญในคติความเชื่อของผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ตามตำนานระบุว่าการร่ายรำของพระศิวะเป็นที่เลื่องลือและยกย่องของเหล่าเทพทั้งมวลถึงความสวยงามและน่ายำเกรงในที ในจังหวะลีลาอันเป็นสัญลักษณ์แห่งการเนรมิตสร้างสรรค์ ( Symbolizing Rhythm of Creation )
การร่ายรำนี้ภายหลัง[[พระภรตมุนี]]ได้ทราบ จึงขอร้องให้พระพิฆคเณศไปกราบบังคมทูลให้พระศิวะซึ่งเป็นพระราชบิดาร่ายรำอีกครั้งเพื่อจะได้จารึกท่าการร่ายรำนี้เป็นบทนาฎยศาสตร์สืบไป พระศิวะท่านจึงได้ร่ายรำให้ชมอีกและได้เรียกเหล่าเทพเทวดาทั้งปวงมาชมพระองค์ร่ายรำอีกครั้ง
บางตำนานกล่าวว่า[[พระยาอนันตนาคราช]]ได้ชมการร่ายรำนี้เมื่อองค์พระอิศวรท่านร่ายรำหลังจากปราบฤาษีผู้ฝ่าฝืนเทวบัญญ้ติ และปราถนาจะได้ชมอีก อองค์พระนารายณ์ได้ประทานคำแนะนำให้ไปบำเพ็ญตบะที่เชิงเขาไกรลาสเพื่อบูชาองค์พระศิวะ ด้วยอำนาจแห่งการบูชานี้ องค์พระศิวะจึงโปรดประทานพรให้ และถามในสิ่งที่พระยานันตนาคราชปราถนา พระยานาคราชจึงกราบทูลว่าอยากจะได้เห็นองค์พระศิวะร่ายรำอีกสักครั้ง พระศิวะก็โปรดประทานดังปราถนา และได้เสด็จลงมาร่ายรำยังมนุษยโลก ซึ่งเชื่อกันว่าสถานที่นั้นคือ วิหาร จิทัมพรัม ในรัฐทมฬนาดู ประเทศอินเดีย
ท่าฟ้อนรำทั้ง 108 ท่าขององค์พระศิวะนี้เป็นท่าพื้นฐานสำหรับวิชานาฎยศาสตร์ อันเป็นท่ารำต้นแบบของชาวอินเดีย และแพร่หลายมาถึงเขมร และไทย ผู้รับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมของอินเดียสืบต่อมา
ผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูนั้นเชื่อว่าจังหวะการร่ายรำของพระศิวะอาจบันดาลให้เกิดผลดีและผลร้ายแก่โลกได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องอ้อนวอนให้พระองค์ฟ้อนรำในจังหวะที่พอดี โลกจึงจะร่มเย็นเป็นสุข หากพระองค์โกรธกริ้วด้วยการร่ายรำในจังหวะที่รุนแรงแล้วก็ย่อมจะนำมาซึ่งภัยพิบัติแก่โลกนานัปการ
==== ดุริยางคศิลป์ ====
กลองในพระหัตถ์ของพระศิวะในปางศิวะนาฏราชนี้ เป็นกลองสองหน้า เอวตรงกลางคอด มีลูกตุ้มยึดกับสายสำหรับใช้กระทบหน้ากลองทั้ง 2 ข้าง กลองนี้เรียกว่ากลอง ทมรุ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวที่องค์พระอิศวรท่านเลือกใช้ประกอบการร่ายรำอันยิ่งใหญ่นี้
ผู้ประกอบพิธีในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้นำเอากลองนี้มาใช้ในการประกอบพิธีมงคล และพัฒนามาเป็นเครื่องดนตรีที่เรียกว่า"[[บัณเฑาะว์]]"ในปัจจุบัน คำว่าบัณเฑาะว์มาจากคำบาลีว่า "ปณวะ" หรือ "ตาณฑวะ" ในภาษาสันสกฤต
 
== ข้อมูลเพิ่มเติม ==
*[http://music.tkpark.or.th/bundor.html กลองบัณเฑาะว์]
*[http://library.thinkquest.org/04oct/01260/karanas.html Karanas ]
*[http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/04/K5346163/K5346163.html ตำนานศิวนาฏราช topicstock.pantip.com]
เส้น 11 ⟶ 36:
*[http://www.guide33.com/forum/forum_posts.asp?TID=383&PN=1 นาฏราชผู้ร่ายรำแห่งจักรวาล]
*[http://fda.bpi.ac.th/parata1.html จากภารตวรรษสู่สยามประเทศ:การเดินทางของนาฏศิลป์อินเดียสู่นาฏศิลป์ไทย โดย คมคาย กลิ่นภักดี ]
*[http://www.exoticindiaart.com/article/nataraja Shiva as Nataraja - Dance and Destruction In Indian Art]
 
 
 
== อ้างอิง ==