ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TobeBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ksh:Häzenfark
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: sq:Pika në zemër; ประทิ่นเปลี่ยนแปลง
บรรทัด 3:
 
== สาเหตุ ==
เกิดจากหลอด[[เลือด]]แดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื่อหัวใจแข็งตัว หรือมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
 
 
== อาการ ==
มักแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น เจ็บกลางหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย เจ็บแบบจุกแน่น คล้ายมีอะไรมาบีบหรือกดทับไว้
 
อาการเจ็บมักร้าวไปที่คอหรือขากรรไกรหรือไหล่ซ้ายมักเป็นมากขณะออกกำลังกายหรือทำงาน เป็นอยู่นานครั้งละ 2-3 นาที อาการจะดีขึ้นถ้าได้หยุดพัก หรืออมยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ บางคนอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เหมือนอาหารไม่ย่อย บางคนอาจมีอาการใจสั่น หอบเหนื่อย ร่วมด้วย
 
 
== การรักษา ==
 
เมื่อมีการตรวจโดยแน่ชัดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การตรวจโดยการเดิน[[ออกกำลังกาย]]บนสายพานหรือโดยวิธีการใส่สายสวนหัวใจเข้าทางหลอดเลือดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ และฉีดดูตำแหน่งการตีบตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เป็นต้น แพทย์จะประเมินภาวะความรุนแรงของโรคและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น
 
* 1. การใช้ยาขยายหลอดเลือด มีทั้งชนิดอมใต้ลิ้น, ยารับประทาน และให้ทางหลอดเลือดดำ
 
* 2. การให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกร็ดเลือดแข็งตัว เช่น แอสไพริน
 
* 3. การให้ยาลดการบีบตัวของหัวใจ เพื่อลดการทำงานของหัวใจ และลดการใช้ออกซิเจน
 
การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องควบคู่ไปกับการรักษาทางยาส่วนใหญ่มักได้ผลดี แต่ในภาวะรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อยา แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ หรือ[[ผ่าตัด]]ทำทางเบี่ยงหลอดเลือด เพื่อให้เลือดเดินทางผ่านจุดที่อุดตัน โดยใช้เส้นเลือดที่บริเวณแขนหรือขา
 
== การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ==
 
* 1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
 
* 2. รับประทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
 
* 3. รับประทานอาหารแต่พออิ่ม และควรพักหลังอาหารประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง
 
* 4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการออกกำลังกายที่ดีที่สุด คือ[[การเดิน]] เริ่มโดยการเดินช้า ๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มระยะทาง แต่อย่าให้เกินกำลังตนเอง
 
* 5. ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน และหาวิธีลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่น การดูเกม[[การแข่งขัน]]ที่เร้าใจ
 
* 6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและเค็มจัด
บรรทัด 40:
* 7. งดดื่มสุรา น้ำชา กาแฟ และหลีกกเลี่ยงการสูบบุหรี่
 
* 8. หลีกเลี่ยงงานหนัก งานรีบเร่ง และงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องนาน ๆ
 
* 9. เมื่อมีอาการเจ็บ[[หน้าอก]] ให้หยุดกิจกรรมนั้น ๆ ทันทีและอมยาใต้[[ลิ้น]] 1 เม็ด
ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลงให้อมยาใต้ลิ้นซ้ำได้อีก 1 เม็ด ห่างกัน 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 3 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นใน 15-20 นาที ให้รีบไปพบแพทย์ได้ทันที
 
* 10. การมี[[เพศสัมพันธ์]]ไม่ควนหักโหม ควรอมยาใต้ลิ้นก่อนมีเพศสัมพันธ์ ถ้ามีอาการใจสั่น หายใจขัด หรือเจ็บหน้าอกนานเกิน 15 นาทีหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์
 
 
== การป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ==
 
* 1. หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมัน - กะทิ รวมทั้งไข่แดง ทำให้มีการสะสมไขมันในหลอดเลือด ก่อให้เกิดแผ่นคราบ[[ไขมัน]]ตามมา
 
* 2. ควรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ปลา ผลไม้ และอาหารที่มีกากมาก ๆ เช่น รำข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ฯลฯ
 
* 3. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 20 นาที แล้วค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาและเพิ่มความถี่ในการออกกำลังกาย
 
* 4. หลีกเลี่ยงการสูบ[[บุหรี่]] เพราะในบุหรี่มีสารนิโคตินและสารอื่น ๆ ที่จะทำอันตรายต่อผนังบุด้านในหลอดเลือด การสูบบุหรี่ ยังทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว
 
* 5. นอนพักผ่อนให้เพียวพอ ไม่เครียดกับงานควรทำ[[สมาธิ]]หรือฟังเพลงเบา ๆ
 
* 6. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน โดยใช้วิธีออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เช่น งดขนมหวาน , ผลไม้รสหวานจัด เพราะหัวใจของคนอ้วนต้องทำงานมากกว่าปกติ
 
* 7. ตรวจเช็คสุภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็น ๆ หาย ๆ ควรปรึกษาแพทย์
 
[[หมวดหมู่:โรคระบบหัวใจหลอดเลือด]]
บรรทัด 108:
[[si:හෘදයාබාධය]]
[[simple:Myocardial infarction]]
[[sq:InfarktiPika miokardialnë zemër]]
[[sr:Срчани удар]]
[[sv:Hjärtinfarkt]]