ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาบู่มหิดล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:Mamys_u0 - FAO.gif|thumb|right|ภาพลายเส้นปลาบู่มหิดล วาดโดย [[องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ]]|left]]
 
ในราวปี พ.ศ. 2469 ซึ่งเป็นช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีการจัดตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ โดยมีชาวอเมริกัน ชื่อ ดร. ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ เข้ามาปฏิบัติงานด้านการเพาะเลี้ยง และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในประเทศไทย ในตำแหน่ง'''เจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ'''คนแรก
 
[[ไฟล์:Mamys_u0 - FAO.gif|thumb|ภาพลายเส้นปลาบู่มหิดล วาดโดย [[องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ]]|left]]
ผลงานในหน้าที่รับผิดชอบของฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ที่เกี่ยวกับทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย โดยเฉพาะพันธุ์ปลา มีรวมกว่า 60 เรื่อง อีกทั้งยังได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับปลาที่ค้นพบใหม่รวม 67 ชนิด เป็นสกุลใหม่รวม 21 สกุล (Genus) ในจำนวนนี้ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ปลาบู่ โดยให้ชื่อสกุลว่า ''Mahidolia'' เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็น '''''สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์''''' ในการที่พระองค์ทรงสนพระทัย ทรงใคร่ติดตาม และเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อการประมงของประเทศไทย พระองค์ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับคนไทย เพื่อที่จะได้มาทำงานด้านการประมงต่อจากฮิว แมคคอร์มิค สมิธ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยง และการอนุรักษ์พันธุ์ปลา
 
 
== เนื้อหา ==
[[ไฟล์:hole.jpg|thumb|right|ภาพโดย Randall, J.E.]]
ปลาบู่มหิดล ค้นพบเป็นครั้งแรกในรั้วไซมาน ณ [[แม่น้ำจันทบุรี|ปากแม่น้ำจันทบุรี]] ในเขตพื้นที่[[อำเภอแหลมสิงห์]] จังหวัดจันทบุรี <ref>ทศพร วงศ์รัตน์. (2534). ปลาบู่มหิดล, วารสารการประมง, ปีที่ 44 ฉบับที่ 4 หน้า 295-313.</ref> <ref>นายวิทยา โสภิกุล อดีตประมงอำเภอแหลมสิงห์</ref> <ref>ลือชัย ดรุณชู. (2536). การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาบู่มหิดลในแม่น้ำจันทบุรี. กรมประมง. หน้า 7-23.</ref> และปัจจุบันได้รับการ[[สัตว์ป่าคุ้มครอง|คุ้มครอง]]ได้ในลำดับที่ 49 โดยระบุปลาบู่มหิดลทุกชนิดในสกุล ''Mahidolia'' ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับธรณีพิบัติ จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสตูล พ.ศ. 2549 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2549 โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น เพราะปลาบู่มหิดลนอกจากจะค้นพบที่จังหวัดจันทบุรีแล้ว ยังค้นพบที่จังหวัดระนอง และจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย
 
=== สถานการณ์ปลาบู่มหิดล ===
ปลาบู่มหิดลเป็นปลาขนาดเล็กที่หาได้ยาก ไม่สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง ในปัจจุบันป่าชายเลนเสื่อมโทรม อันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่างๆ เช่น การปล่อยน้ำทิ้ง และของเสียจากแหล่งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม และการเลี้ยงกุ้งทะเล เป็นต้น นอกจากนี้แหล่งน้ำต่างๆ เกือบตลอดแขนงชายฝั่งทะเลมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะตื้นเขิน เนื่องจากมีการชะล้างหน้าดิน (soid erosion) บนพื้นที่ดินจากการประกอบกิจกรรมดังกล่าวแล้ว รวมทั้งการทำประมงที่ใช้เครื่องมือประจำที่ประเภทกางกั้นจำพวกโพงพางปีก เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาวะความเปลี่ยนแปลงของแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีผลต่อความเสื่อมโทรมของพันธุ์สัตว์น้ำสำคัญๆ อย่างปลาบู่มหิดล ที่มีให้พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก อาจเป็นผลให้ปลาชนิดนี้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต <ref>ลือชัย ดรุณชู. (2536). การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาบู่มหิดลในแม่น้ำจันทบุรี. กรมประมง. หน้า 4.</ref>
เส้น 36 ⟶ 37:
=== ลักษณะสำคัญของปลาบู่มหิดล ===
ปลาบู่มหิดลมีลักษณะเด่น คือ หัวค่อนข้างโต และแบนข้างมาก ปากกว้างจนมีกระดูขากรรไกรที่ยื่นไปทางข้างเลยขอบหลังตา ฟันมีขนาดเล็ก และมีแถวเดียวที่ขากรรไกรบน แต่มีหลายแถวที่ขากรรไกรล่าง ลำตัวสั้น ไม่มีเกล็ดบนหัว และบนฝาเหงือกมีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ <ref>Smith, H.M. 1945. The Fresh-Water Fishes of Siam, or Thailand. United States Government Printing office, Washington. 512-525</ref> <ref>The Journal of the Siam Society. 1933. Natural History Supplement. Bangkok. 255-262 pp.</ref>
 
=== ถิ่นอาศัยของปลาบู่มหิดล ===
[[ไฟล์:hole.jpg|thumb|right|ภาพโดย Randall, J.E.]]
ปลาบู่มหิดลชอบอาศัยในบริเวณปากแม่น้ำ และป่าชายเลนที่สภาพเป็นอ่าว พื้นทะเลเป็นโคลนปนทราย มักพบเสมอว่า ปลาชนิดนี้มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่กับ[[กุ้งดีดขัน]] (''Alpheas sp.'') โดยกุ้งเป็นผู้สร้างรูเป็นที่อาศัยร่วมกันกับปลา และปลาเป็นผู้ทำความสะอาดภายในรู <ref>สุด แสงวิเชียร. (2531). “ปลาบู่มหิดล บทความพิเศษ” โรงพยาบาลศิริราช ปีที่ 40 เล่ม 9 เดือนกันยายน. หน้า 659 – 666.</ref>
 
== แผนที่การกระจายของปลาบู่มหิดล ==
{| style="float: right;"
[[ไฟล์:mmdm.jpg|thumb|right|การกระจายของปลาบู่มหิดล]]
|-
[[ไฟล์:mmdmThai.jpg|thumb|left|การกระจายของปลาบู่มหิดล]]
| [[ไฟล์:mmdm.jpg|thumb|right|การกระจายของปลาบู่มหิดล]]
| [[ไฟล์:mmdmThai.jpg|thumb|left|การกระจายของปลาบู่มหิดล]]
|}
มีการพบปลาบู่มหิดลกระจายอยู่ในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย อินโดนีเซีย และไต้หวัน<ref>Froese, R. and D. Pauly. Editors (2006) - FishBase, World Wide Web electronic publication. www.fishbase.org, version (01/2006). Map generated on Sunday, October 1st, 2006, 8:45 pm. http://www.practicalfishkeeping.co.uk/pfk/pages/map.php?species_id=1159735557#, (2009). Retrieved on 26 Feb 2009.</ref> ในส่วนของแหล่งที่พบปลาบู่มหิดลในประเทศไทย จากแหล่งข้อมูลเดียวกัน พบว่า แหล่งที่พบปลาบู่ คือ ชายฝั่งจังหวัดจันทบุรี จังหวัดระนอง และจังหวัดภูเก็ต