ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 16:
เมื่อ พ.ศ.2420 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาเมือง สิงห์ ทรงบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยคว่าทางประมาณ 7เส้น 8 เส้น ถึงประสาททิศทั้ง 4 ด้าน ทางที่ไปนั้นเป็นต้นไม้ไผ่ครึ้ม ไมสู้รกนักพอเดิน…ทางไปได้ แต่รอบนอกปราสาทนั้น ไม้ขึ้นรกชิดเดินไม่ได้เราเข้าช่องเข้าปรางค์ด้านปีนขึ้นไปตามก้องแลงที่หักลงมา ถึงยอมกลางที่ทลายเป็นกองอยู่ แล้วเลียบไปข้างมุมทิศที่ปรางค์อยู่ยอมหนึ่งแต่ทลายเสียแล้วไม่เห็นว่าอย่างไร ปรางค์ทิศ 4 ทิศรูปร่างเหมือนกับปรางค์ใหญ่ ชักกำแพงแก้วติดกันข้างด้านหน้าสามด้าน ด้านหลังทิศต่อปรางค์ทิศกลาง ทั้งสองข้างนั้นมีหลังคายาวเป็นที่เรือนจันทน์ในร่วมกลางสัก 4 ศอก ที่ปรางค์และกำแพงแก้วเรือนจันทน์ทั้งปวงนี้ก่อด้วยแลงแผ่นใหญ่ๆ1
โบรารสถานเมืองสิงห์ถูกปล่อยทิ้งร้างอยู่อีกหลายสิบปี จึงได้รับความสนใจอีกครั้งหนึ่ง โดยศิลปกรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา และในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2530 จึงได้มีการเปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์อย่างเป็นทางการ2
อ้างอิง 1 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค จ.ศ.1249(พ.ศ.2420).(พระนคร:คุรุสภา, 2504).หน้า 99-101.
2 กรมศิลปากร. อุทยานประวัติศาสตร์. (กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, 2531) หน้า 7
 
== โบราณสถาน ==โบราณสถานปราสาทเมืองสิงห์ ปราสาทเมืองสิงห์ตั้งอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำแควน้อย พื้นที่โดยรอบโอบรอบด้วยภูเขาขนาดไม่สูงมากนัก บริเวณโบราณสถานจะมีกำแพงและคูคันดินเป็นชั้นๆ แนวกำแพงดังกล่าวมีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม คือแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านด้านทิศใต้ ด้งนั้นพื้นที่ด้านนี้จึงขยายออกไปตามแนวแม่น้ำ สำหรับด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ แนวกำแพงต่อกันเป็นรูปสีเหลี่ยม รอบนอกกำแพงจะเป็นคูคันดินล้อมรอบอยู่ โดยเฉพาะด้านตะวันตกปรากฏซากคันดินอยู่ถึง 7 ชั้น กำแพงและคูดินนี้จะล้อมรอบกลุ่มโบราณสถานสำคัญ ซึ่งประกอบด้วยโบราณสถานหมายเลข 1 โบราณสถานหมายเลข 2 โบราณสถานหมายเลข 3 โบราณสถานหมายเลข 4 กำแพงและประตู คูคันดิน สระน้ำ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ