ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Beum (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Beum (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
== บทย่อ ==
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศฝรั่งเศสภายใต้ระบอบการปกครองสาธารณรัฐที่สี่หลุดพ้นจากความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล และวิกฤตจากสงคราม[[แอลจีเรีย]] โดยมีหลักการสำคัญคือสร้างความแข็งแกร่งให้กับฝ่าย[[อำนาจบริหาร]] [[มิแชล เดอเบร]] (Michel Debré) ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ได้แรงบันดาลใจมากจากระบอบรัฐสภาอังกฤษ โดยเฉพาะความแข็งแกร่งของตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ [[ชาร์ลส์ เดอ โกลล์]] (Charles de Gaulle) ยังได้ขอให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นผู้พิทักษ์สถาบันต่างๆ ของรัฐ ([[สุนทรพจน์บาเยอ]] (discours de Bayeux) เมื่อ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1946 โดย[[ชาร์ลส์ เดอ โกลล์]] (Charles de Gaulle) ซึ่งได้วางรากฐานของหลักการสำคัญๆ ของกฎเกณฑ์ซึ่งภายหลังบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง[[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5]])
 
== บทบัญญัติที่สำคัญ ==
 
บทบัญญัติที่สำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดหลักการในการบริหารแผ่นดินและจัดระเบียบการดำเนินการของสถาบันต่างๆ ของประเทศฝรั่งเศส
 
[[สิทธิขั้นพื้นฐาน]]ได้รับการรับรองโดยการอ้างอิงถึง[[คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789]] อารัมภบทของ[[รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4]] ฉบับวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1946 หลักการพื้นฐานที่ได้รับการรับรองโดยกฎหมายแห่งสาธารณรัฐ (principes fondamentaux reconnus par les lois de la République) รวมถึงกฎบัตรสิ่งแวดล้อม ค.ศ. 2004
 
ในคำวินิจฉัยลงวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1971 ศาลรัฐธรรมนูญได้รับรองว่าบทบัญญัติต่างๆ ข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ กล่าวคือถือเป็นส่วนหนึ่งของแม่บทกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Le bloc de constitutionalité)
 
* มาตรา 2 เกี่ยวกับความหมายของ[[อธิปไตย|อำนาจอธิปไตย]] ;
* มาตรา 3 เกี่ยวกับ[[อำนาจอธิปไตย]]ซึ่งเป็นของ[[ประชาชน]] ;
* มาตรา 4 เกี่ยวกับบทบาทของ[[พรรคการเมือง]] และหลักการเลือกตั้งในระบอบ[[ประชาธิปไตย]]แบบ[[สาธารณรัฐ]] ;
* มาตรา 5 เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของ[[ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส]] ;
* มาตรา 11 เกี่ยวกับบทบาทของ[[ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส]]ในกระบวนการลง[[ประชามติ]] ;
* มาตรา 12 เกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎร ;
* มาตรา 14 เกี่ยวกับความรับผิดชอบของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสในฐานะหัวหน้าด้านความสัมพันธ์ต่างประเทศ ;
* มาตรา 15 เกี่ยวกับความรับผิดชอบของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสในฐานะจอมทัพฝรั่งเศส ;
* มาตรา 16 เกี่ยวกับการใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดีฯ กรณีที่มีการคุกคามอย่างยิ่งยวดต่อสาธารณรัฐ ภายใต้ความควบคุมของ[[รัฐสภา]]และ[[ศาลรัฐธรรมนูญ]] ;
* มาตรา 20 เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของ[[รัฐบาล]]ฝรั่งเศส ;
* มาตรา 21 เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของ[[นายกรัฐมนตรี]]ฝรั่งเศส ;
* มาตรา 47 เกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงโดยรัฐสภาสำหรับร่าง[[รัฐบัญญัติ]]ด้านการเงิน ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน[[กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ]] ;
* มาตรา 49 เกี่ยวกับความรับผิดชอบด้านการเมืองของ[[รัฐบาล]]ต่อหน้ารัฐสภา ;
* มาตรา 55 ซึ่งกำหนดให้[[สนธิสัญญาระหว่างประเทศ]]มี[[ศักดิ์ทางกฎหมาย]]เหนือ[[รัฐบัญญัติ]] ;
* มาตรา 62 ซึ่งกำหนดให้คำวินิจฉัยของ[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]เป็นที่สุดและ[[อุทธรณ์]]ไม่ได้ ;
* มาตรา 72 เกี่ยวกับ[[องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น]]ฝรั่งเศส ;
* มาตรา 88 เกี่ยวกับการทำ[[ความตกลงระหว่างประเทศ]]กับรัฐที่เป็นสมาชิกของ[[สหภาพยุโรป]] ;
* มาตรา 89 เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
 
[[หมวดหมู่:ประเทศฝรั่งเศส]]