ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอมโมนอยด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 137:
 
==แอมโมไนต์ในประเทศไทย==
มีการพบแอมโมไนต์ชนิดใหม่ในประเทศไทย 1 ชนิด คือ ''Tmetoceras dhanarajatai'' Sata in Komalarjun (1964) ซึ่งชื่อชนิดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2502 – 2506 โดยพบในหินยุค[[จูแรสซิก]] บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 109 เส้นทางสายจังหวัดตาก-อำเภอแม่สอด บริเวณบ้านห้วยหินฝน ทางทิศตะวันออกของ[[อำเภอแม่สอด]] [[จังหวัดตาก]]
เป็นแอมโมไนต์ที่มีแพร็กโมโคนเป็นแบบเซอร์เพนติโคน มีปล้องข้อเป็นรูปวงกลมในแนวตัดขวาง ปล้องข้อของวัยแรกเริ่มซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2 มม. จะมีความกว้างมากกว่าความสูง แต่เมื่อโตเต็มวัยแล้วความสูงของปล้องข้อค่อนข้างมากกว่าความกว้าง ระยะห่างระหว่างแผ่นกั้นห้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยแรกเริ่มคือมี 6 ถึง 8 ปล้องข้อโดยไม่มีรอยต่อระหว่างปล้องข้อให้เห็นชัดเจน ร่องทางด้านบนตื้นแต่เห็นได้ชัดเจนตลอดอายุขัยยกเว้นในช่วงแรกเริ่ม ทั้งนี้ไม่ทราบความยาวของห้องลำตัว (ดูภาพประกอบ – [[วิฆเนศ ทรงธรรม]] และคณะ 2549)
 
==หมายเหตุ==