ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สตาร์ซอคเก้อร์รายวัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Alexbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ja:スター・サッカー
บรรทัด 30:
เมื่อเดือน[[มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2535]] นาย[[ระวิ โหลทอง]] ประธานกรรมการ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด มีดำริในการเปิดเนื้อที่ให้กับการนำเสนอข่าวสาร เกี่ยวกับการแข่งขัน[[ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป]] [[ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992|ครั้งที่ 9]] ประจำปี ค.ศ. 1992 อย่างครบถ้วนรอบด้าน จึงจัดพิมพ์[[หนังสือพิมพ์]][[สยามกีฬารายวัน]]ฉบับบ่าย ขนาดแท็บลอยด์ขึ้นเป็นพิเศษ โดยใช้ชื่อว่า ''สยามกีฬา/สตาร์ ซอคเก้อร์ เอ็กซ์ตรา ยูโร’92'' ซึ่งได้รับการตอบรับจากแฟน[[ฟุตบอล]]อย่างดีเยี่ยม เนื่องจากมียอดจำหน่ายสูงมาก
 
หลังจากนั้น นายระวิจึงมีดำริในการต่อยอดจากฉบับพิเศษดังกล่าว ด้วยการเปิดเป็นหัวหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ เพื่อนำเสนอผลการแข่งขันฟุตบอล ข่าวสารความเคลื่อนไหวในวงการฟุตบอล โดยเฉพาะระดับสโมสรใน[[ยุโรป]] ในส่วนของกองบรรณาธิการ นายระวิได้นำทีมงานบางส่วนของสยามกีฬารายวัน และ[[นิตยสาร]][[สตาร์ซอคเก้อร์รายสัปดาห์]] มารวมตัวกัน อันเป็นสาเหตุส่วนหนึ่ง ที่ใช้ชื่อว่า ''สยามกีฬา/สตาร์ ซอคเก้อร์'' ฉบับบ่าย ขนาดแท็บลอยด์เช่นเดิม โดยเริ่มออกวางแผงเป็นปฐมฤกษ์ ในราวกลางเดือน[[สิงหาคม]] ปีเดียวกัน ซึ่งก็มียอดจำหน่ายที่ดี และได้รับการสนับสนุนจากผู้อ่านอย่างสูงมาก เช่นเดียวกับเมื่อคราว ยูโร’92
 
หนังสือพิมพ์สยามกีฬา/สตาร์ ซอคเก้อร์ (ที่เปลี่ยนชื่อเป็น ''สตาร์ ซอคเก้อร์ รายวัน'' ในเวลาถัดมา) เริ่มต้นด้วยราคาจำหน่ายฉบับละ 5 บาท จากนั้นได้ปรับราคาขึ้นเป็น 7 บาท, 8 บาท, 10 บาท, 12 บาท และ 15 บาท ตามลำดับ ล่าสุด บมจ.สยามสปอร์ต แจ้งปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์ในเครือทั้งหมด เริ่มในฉบับประจำวันที่ [[16 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2551]] โดยสตาร์ ซอคเก้อร์ รายวัน ปรับขึ้นเป็น 18 บาท, [[สปอร์ตพูล]] [[สปอร์ตแมน]] และ[[ฟุตบอลพูลฉบับตลาดลูกหนัง|ตลาดลูกหนัง]] ปรับขึ้นเป็น 20 บาท แต่สยามกีฬารายวัน ยังคงราคา 12 บาทเท่าเดิม จนมีเสียงวิจารณ์ว่า หนังสือพิมพ์เครือสยามสปอร์ต มีราคาจำหน่ายที่ไม่สมเหตุสมผลกับจำนวนเนื้อหา