ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความคลั่งทิวลิป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่กรอบ
บรรทัด 5:
'''คลั่งทิวลิป''' ({{lang-en|Tulip mania, Tulipomania}}; {{lang-nl|Tulpenmanie, Tulpomanie, Tulpenwoede, Tulpengekte, Bollengekte)}}) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง[[ยุคทองของเนเธอร์แลนด์]] เมื่อเกิดการตั้งราคาสัญญาการค้าขายหัว[[ทิวลิป]]สายพันธุ์ใหม่กันอย่างสูงผิดปกติจนถึงจุดสูงสุดก่อนที่ราคาจะตกฮวบลงมาอย่างฉับพลัน<ref name="MD2001">"Tulipomania: The Story of the World's Most Coveted Flower & the Extraordinary Passions It Aroused." Mike Dash (2001). </ref> ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 ในระหว่างที่ความคลั่งทิวลิปกำลังอยู่ที่จุดสูงสุด ราคาสัญญาการซื้อขายดอกทิวลิปต่อหัวสูงเกินสิบเท่าของรายได้ต่อปีของช่างฝีมือในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นเหตุการณ์แรกของ[[ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่|ภาวะฟองสบู่จากเก็งกำไร]]<ref>{{Harvnb|Shiller|2005|p=85}} More extensive discussion of status as the earliest bubble on pp. 247–48.</ref> คำว่า "ความคลั่งทิวลิป" กลายมาเป็นคำที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอุปมาเมื่อกล่าวถึงภาวะฟองสบู่ขนาดใหญ่<ref>{{Harvnb|French|2006|p=3}}</ref>
 
เหตุการณ์เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปมาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายโดยนักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษชื่อ [[ชาร์ลส์ แม็คเคย์]] ในหนังสือชื่อ ''Extraordinary Popular Delusions and the Madness of Crowds (ความเพ้อฝันอันวิปริตและความบ้าคลั่งของมหาชน) '' ที่เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1841 แม็คเคย์กล่าวว่าในจุดหนึ่งของการขายถึงกับมีผู้เสนอแลกที่ดิน 12 เอเคอร์เพื่อแลกกับหัวทิวลิปสายพันธุ์ "Semper Augustus" เพียงหัวเดียว<ref name=Chap3>"The Tulipomania", Chapter 3, in {{Harvnb|Mackay|1841}}.</ref> แม็คเคย์อ้างว่ามีผู้ลงทุนในการซื้อสัญญาซื้อขายหัวทิวลิปจนหมดตัวเป็นจำนวนมากเมื่อราคาทรุดฮวบลง และผลสะท้อนของตลาดที่ล่มก็ใหญ่พอที่จะสั่นคลอนสภาวะทางเศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์ แม้ว่าหนังสือที่แม็คเคย์เขียนจะกลายเป็นหนังสือคลาสสิคที่ยังคงตีพิมพ์กันอยู่แม้แต่ในปัจจุบันนี้ แต่ความถูกต้องของข้อมูลและข้อสมมติฐานที่กล่าวในหนังสือก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ นักวิชาการสมัยใหม่เชื่อว่าความคลั่งดอกทิวลิปมิได้เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงตามที่แม็คเคย์กล่าว และบ้างก็เสนอว่าเหตุการณ์นี้มิได้ทำให้เกิดความแปรปรวนของเศรษฐกิจขนานใหญ่เกิดขึ้นแต่อย่างใด<ref>{{Harvnb|Thompson|2007|p=100}}</ref>
 
การค้นคว้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปเป็นไปได้ยากเพราะข้อมูลจากคริสต์ทศวรรษ 1630 มีเพียงจำกัด—นอกจากนั้นข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีอยู่ก็ยังขาดความเป็นกลาง และมาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเก็งกำไร<ref name=Kuper/><ref> [http://library.wur.nl/speccol/pamphlet.html A pamphlet about the Dutch tulipomania] Wageningen Digital Library, July 14, 2006. Retrieved on August 13, 2008.</ref> แทนที่จะใช้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่าเป็นความคลั่งของการเก็งกำไรอันไม่มีเหตุผล นักเศรษฐศาตร์สมัยใหม่พยายามให้คำอธิบายอย่างมีเหตุผลถึงสาเหตุของการตั้งราคาอันสูงผิดปกติ แต่คำอธิบายเหล่านี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแนวโน้มของความผันผวนของราคาดอกไม้ชนิดอื่น เช่น [[ดอกไฮยาซินธ์]] ซึ่งก็มีการตั้งราคาที่สูงเกินประมาณเมื่อมีการนำสายพันธุ์เข้าใหม่เข้ามา และราคาก็มาตกฮวบต่อมาเมื่อหมดความนิยมลงเช่นเดียวกับทิวลิป อีกสาเหตุหนึ่งที่อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดทิวลิปล่มอาจจะมาจากการเปลี่ยนแปลงระบบการทำสัญญาการซื้อขายโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ในช่วงนั้น ที่มีจุดประสงค์ในการลดความเสี่ยงในตลาดการลงทุนของผู้ซื้ออนาคต โดยการอนุญาตให้ผู้ซื้อสามารถยุบเลิกสัญญาการซื้อขายได้โดยเสียค่าปรับเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าของสัญญาทั้งหมด แต่บทบังคับนี้กลับได้ผลตรงกันข้ามและทำให้ราคาทิวลิปยิ่งถีบตัวสูงหนักขึ้นไปอีกจนในที่สุดก็เป็นผลให้ตลาดทิวลิปล่มสลายในที่สุด
บรรทัด 12:
[[ไฟล์:Flora's Malle-wagen van Hendrik Pot 1640.jpg|thumb|300px|right|จิตรกรรม[[อุปมานิทัศน์]]ของความคลั่งทิวลิปโดย[[เฮนดริค เกอร์ริทสซ โพต]] (Hendrik Gerritsz Pot) ที่เขียนราว ค.ศ. 1640 เป็นภาพ[[เทพีฟลอรา]]ผู้เป็นเทพีแห่งดอกไม้นั่งบนเกวียนที่ถูกพัดด้วยสายลมที่นำไปสู่ความหายนะในทะเลพร้อมกับคนเมา คนให้ยืมเงิน และสตรีสองหน้า ที่ตามด้วยขบวนช่างทอชาวฮาร์เล็มที่เต็มไปด้วยลุ่มหลงในการลงทุน]]
 
[[ทิวลิป]]ได้รับการนำเข้ามาใน[[ทวีปยุโรป]]จาก[[จักรวรรดิออตโตมัน]]ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และกลายมาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายใน[[สาธารณรัฐดัตช์]] (ปัจจุบัน คือ [[เนเธอร์แลนด์]]) <ref>{{Harvnb|Garber|1989|p=537}}</ref> การปลูกทิวลิปในสาธารณรัฐดัตช์เชื่อกันว่าเริ่มกันขึ้นอย่างจริงจังราว ค.ศ. 1593 หลังจากที่นักพฤกษศาสตร์เฟล็มมิช[[ชาร์ลส์ เดอ เลอคลูส์]]ได้รับตำแหน่งที่[[มหาวิทยาลัยไลเดน]]และก่อตั้ง “สถาบันพฤกษศาสตร์แห่งไลเดน” (Hortus Botanicus Leiden) ขึ้น<ref>{{Harvnb|Dash|1999|pp=59–60}}</ref> เลอคลูส์ปลูกทิวลิปที่สถาบันจากหัวทิวลิปที่ส่งมาจาก[[ตุรกี]]โดยราชทูต[[โอชีร์ เดอ บูสเบคก์]]ใน[[สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ในราชสำนักของสุลต่าน[[สุลัยมานมหาราช]] ทิวลิปที่ปลูกเป็นสายพันธุ์ที่สามารถทนทานกับภาวะอากาศในบริเวณ[[กลุ่มประเทศต่ำ]]ได้<ref>{{Harvnb|Goldgar|2007|p=32}}</ref> ไม่นานหลังจากนั้นการปลูกทิวลิปก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายโดยทั่วไปในเนเธอร์แลนด์<ref>{{Harvnb|Goldgar|2007|p=33}}</ref>
 
ทิวลิปกลายมาเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยอย่างรวดเร็วและเป็นสิ่งที่เป็นแสดง[[สัญลักษณ์แสดงฐานะ]]ของผู้เป็นเจ้า ซึ่งทำให้เกิดความนิยมในการแสวงหาหัวทิวลิปมาเป็นเจ้าของกันยิ่งเพิ่มมากขึ้น ทิวลิปสายพันธุ์ใหม่ๆ ถูกพัฒนาขึ้นและจัดเป็นกลุ่ม เช่นทิวลิปสีเดียวที่รวมทั้งสีแดง เหลือง และ ขาวอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “Couleren” แต่ทิวลิปที่เป็นที่คลั่งไคล้กันมากที่สุดคือทิวลิปสีผสม หรือ “ทิวลิปแตกสี” (broken tulip) ที่มีลวดลายหลายสีในดอกเดียวกันที่มีชื่อเรียกกันไปต่างๆ แล้วแต่สายพันธุ์เช่น “Rosen” (แดงหรือชมพูบนพื้นสีขาว) “Violetten” (ม่วงหรือม่วงอ่อนบนพื้นสีขาว) หรือ “Bizarden” (แดง น้ำตาลหรือม่วง บนพื้นสีเหลือง) <ref>{{Harvnb|Dash|1999|p=66}}</ref> ทิวลิปสีผสมที่นิยมกันนี้จะออกดอกที่มีสีเด่นสะดุดตาและมีลวดลายเป็นเส้นหรือเป็นเปลวบนกลีบ ลักษณะที่เป็นลวดลายนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตามที่ทราบกันในปัจจุบันที่เรียกว่า “[[ไวรัสทิวลิปแตกสี]]” ซึ่งเป็นไวรัสพืชในกลุ่มไวรัสโมเสก (mosaic virus) <ref>Phillips, S. "[http://image.fs.uidaho.edu/vide/descr849.htm Tulip breaking potyvirus]", in Brunt, A.A., Crabtree, K., Dallwitz, M.J., Gibbs, A.J., Watson, L. and Zurcher, E.J. (eds.) (1996 onwards). ''Plant Viruses Online: Descriptions and Lists from the VIDE Database.'' Version: August 20, 1996. Retrieved on August 15, 2008.</ref><ref>{{Harvnb|Garber|1989|p=542}}</ref>
 
[[ไฟล์:Ambrosius Bosschaert, the Elder 01.jpg|left|thumb|220px|“ภาพนิ่งของดอกไม้” โดย[[อัมโบรเชียส บอสเชิร์ต]] (Ambrosius Bosschaert) (ค.ศ. 1573-ค.ศ. 1621) จิตรกร[[ยุคทองของเนเธอร์แลนด์]]]]
บรรทัด 81:
|}
 
การโต้แย้งเกี่ยวกับพฤติกรรมของความคลั่งทิวลิปของสมัยใหม่เริ่มขึ้นในหนังสือชื่อ ''Extraordinary Popular Delusions and the Madness of Crowds (ความเพ้อฝันอันวิปริตและความบ้าคลั่งของมหาชน) '' ที่เขียนในปี ค.ศ. 1841 โดยนักเขียนวรสารชาวสกอตชื่อ [[ชาร์ลส์ แม็คเคย์]] แม็คเคย์เสนอว่ามหาชนมักจะแสดงพฤติกรรมอันขาดเหตุผล ความคลั่งทิวลิป หรือ[[เหตุการณ์ฟองสบู่แตกเซาธ์ซี]]ของอังกฤษ หรือแผนการล่อนักลงทุนของ[[บริษัทมิสซิสซิปปี]]ของฝรั่งเศสต่างก็เป็นตัวอย่างของพฤติกรรมดังกล่าว
 
แม็คเคย์บรรยายเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยอาศัยแหล่งข้อมูลจากงานเขียน “ประวัติการประดิษฐ์ การค้นพบ และที่มา” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1797 โดย[[โยฮันน์ เบ็คมันน์]] เป็นส่วนใหญ่ และในงานเขียนของเบ็คมันน์ก็ใช้จุลสารอีกสามเล่มที่เขียนโดยนักประพันธ์นิรนามที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1637 ที่เป็นเอกสารที่มีจุดประสงค์เบื้องหลังของการเขียนเพื่อการต่อต้านการเก็งกำไร เป็นแหล่งข้อมูลอีกทีหนึ่ง<ref>{{Harvnb|Garber|1990|p=37}}</ref> หนังสือของแม็คเคย์ที่บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแจ่มแจ้งเป็นที่นิยมกันโดยนักเศรษฐศาสตร์และบรรดาผู้มีบทบาทในการค้าขายหุ้นอยู่หลายชั่วคน และความเป็นที่นิยมนี้ก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อมา แม้ว่าเนื้อหาที่เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปของสภาวะ[[ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่|ฟองสบู่ของการเก็งกำไร]]จะมีความบกพร่อง และแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1980 จะสามารถพิสูจน์ได้ว่าสมมติฐานหลายประการของหนังสือไม่ค่อยถูกต้องนักก็ตาม<ref>{{Harvnb|Garber|1990|p=37}}</ref>
บรรทัด 151:
 
== บรรณานุกรม ==
<div style="overflow:scroll;height:300px;">
* {{nl icon}} P.Cos (1637) – ''Verzameling van een meenigte tulipaanen, naar het leven geteekend met hunne naamen, en swaarte der bollen, zoo als die publicq verkogt zijn, te Haarlem in den jaare A. 1637, door P. Cos, bloemist te Haarlem.'' – Haarlem : [s.n.], 1637. – 75 pl. available online at [http://library.wur.nl/tulips/blauw_content.html Wageningen Tulip Portal]. Retrieved on August 11, 2008.
* {{citation | title = Tulipomania: The Story of the World's Most Coveted Flower and the Extraordinary Passions It Aroused | last = Dash | first = Mike | year = 1999 | publisher = Gollancz | location = London | isbn = 0-575-06723-3 }}
เส้น 169 ⟶ 170:
* {{citation | title = Irrational Exuberance | edition = 2nd | last = Shiller | first = Robert J. | year = 2005 | location = Princeton |publisher = Princeton University Press | isbn = 0-691-12335-7 }}
* {{Citation | title = The tulipmania: Fact or artifact? | last = Thompson | first = Earl | journal = Public Choice | volume = 130 | issue = 1–2 | year = 2007 | pages = 99–114 | url = http://www.econ.ucla.edu/thompson/Document97.pdf |format=PDF| doi = 10.1007/s11127-006-9074-4}}. Retrieved on August 15, 2008.
</div>
 
== ดูเพิ่ม ==