ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาวเทียมไทยโชต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thaweesil (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Bang Petro (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงค์เเละภาพประกอบ
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Theosthai.jpg|thumb|250px|ดาวเทียมธีออส]]
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ไฟล์:Commit theos.jpg|thumb|200px|การทำสัญญาระหว่าง GISTDA กับ EADS ASTRAIM ในปี 2547]]
'''ดาวเทียมธีออส''' (THEOS) เป็น[[ดาวเทียม]]สำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจ[[ทรัพยากรธรรมชาติ]]ของ[[ประเทศไทย]]
[[ไฟล์:Launch Dnepr wth Theos .jpg|thumb|200px|จรวด Dnepr ของรัสเซียนำ Theos ขึ้นสู่อวกาศ]]
โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินงานโดย [[สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ]] (สทอภ. หรือ GISTDA) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
[[ไฟล์:Theos athena .jpg|thumb|200px|สถานีรับสัญญาณภาคพื้นที่ อ.ศรีราชา]]
ร่วมกับ บริษัท อี เอ ดี เอส แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6,000 ล้านบาท
'''ดาวเทียมธีออส''' (THEOS : Thailand Earth Observation Satellite) เป็น[[ดาวเทียม]]สำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจ[[ทรัพยากรธรรมชาติ]]ของ[[ประเทศไทย]]
โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินงานโดย [[สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ]] (สทอภ. หรือ GISTDA) กระทรวง[[วิทยาศาสตร์]]และเทคโนโลยี
ร่วมกับ บริษัท อี เอ ดี เอส แอสเตรียม (EADS Astrium) [[ประเทศฝรั่งเศส]] ด้วยงบประมาณ 6,000 ล้านบาท
นับเป็น[[ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร]]ดวงแรกของไทยและ[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]
 
== ลักษณะ ==
ชื่อ THEOS มาจากคำย่อ[[ภาษาอังกฤษ]]ว่า Thailand Earth Observation Satellite หมายถึง ระบบสำรวจพื้นผิวโลกโดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายจากดาวเทียมของ[[ประเทศไทย]]
โดยพ้องกับ[[ภาษากรีก]] แปลว่า [[พระเจ้า]]
 
 
ดาวเทียมธีออส มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม เป็น[[ดาวเทียมวงโคจรต่ำ]] โคจรสูงจากพื้นโลกประมาณ 820 [[กิโลเมตร]] โคจรรอบโลกทุก 26 วัน มีอายุทางเทคโนโลยีขั้นต่ำ 5 ปี แต่อายุการใช้งานจริงมากกว่านั้น
มี[[กล้องถ่ายภาพ]] 2 กล้อง ใช้ระบบ[[ซีซีดี]]
สามารถบันทึกภาพจากการสะท้อนแสงของพื้นโลก (ต้องการแสงอาทิตย์) ได้ทั้ง ภาพแบบขาวดำ (Panchromatic) ที่รายละเอียด 2 เมตร แต่ละภาพกว้าง 22 กม.
เส้น 16 ⟶ 20:
== การส่งขึ้นสู่อวกาศ ==
ดาวเทียมธีออส ขึ้นสู่อวกาศ วันพุธที่ [[1 ตุลาคม]] พ.ศ. 2551 เวลาในประเทศไทย 13:37:16 น. หรือ 6:37:16 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (UTC)
โดยจรวดนำส่ง เนปเปอร์ (Dnepr) ของบริษัท ISC Kosmotras [[ประเทศรัสเซีย]] จากฐานส่งจรวด[[เมืองยาสนี]] (Yasny) ประเทศ[[รัสเซีย]]
 
เหตุการณ์การส่งดาวเทียมไม่สามารถ[[ถ่ายทอดสด]]ได้ เนื่องจากฐานส่งจรวดที่เมืองยาสนีเป็นเขตทหาร จึงเป็นการรายงานสดทางโทรศัพท์มายังสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
จรวดถูกยิงสู่ท้องฟ้าจากไซโลด้วยแรงขับเคลื่อนของจรวดท่อนที่ 1 ไปทางทิศใต้ตามแนวขั้วโลกมีมุมเอียงไปทาง[[ตะวันตก]] 8.9 องศา จรวดท่อนที่ 1 ขับเคลื่อนจากพื้นดินเป็นเวลา 110 วินาทีขึ้นไปที่ระดับสูง 60 กิโลเมตร แล้วแยกตัวออกและตกลงสู่พื้นโลกที่[[ประเทศคาซัคสถาน]] ต่อจากนั้นจรวดท่อนที่ 2 ขับเคลื่อนและนำดาวเทียมขึ้นต่อไปอีกเป็นเวลา 180 วินาที ได้ระดับความสูง 300 กิโลเมตร หรือเมื่อผ่านไป 290 วินาทีจาก Lift-off แล้วจรวดท่อนที่ 2 แยกตัวและตกลงใน[[มหาสมุทรอินเดีย]] จรวดส่วนสุดท้ายพร้อมดาวเทียม เคลื่อนต่อไปตามวิถีการส่งจนถึงระดับความสูง 690 กิโลเมตร ดาวเทียมแยกตัวออกมาโคจรเป็นอิสระจากจรวดส่วนสุดท้าย ที่เวลาใน[[ประเทศไทย]] 15:09 น. สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมที่เมืองคิรูนา (Kiruna) [[ประเทศสวีเดน]] จะเป็นสถานีแรกที่ติดต่อกับดาวเทียมได้ (First Contact) ต่อจากนั้น[[ดาวเทียม]]โคจรผ่านประเทศไทยครั้งแรก เวลา 21:16 น. ซึ่งสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส อ.[[ศรีราชา]] เริ่มปฏิบัติการควบคุมการโคจรดาวเทียมและตรวจสอบการทำงานต่างๆ เพื่อให้ดาวเทียม THEOS มีความสมบูรณ์พร้อมใช้งาน อันเป็นงานและภารกิจหลักในการให้บริการข้อมูลดาวเทียมแก่หน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
[[ไฟล์:]]
 
[[ไฟล์:]]
== สถานีรับสัญญาณ ==
สถานีรับสัญญาณดาวเทียม อยู่ที่ [[เขตลาดกระบัง]] [[กรุงเทพมหานคร]]
เส้น 27 ⟶ 32:
== ผลประโยชน์ ==
* สิทธิการใช้งาน ตัวดาวเทียมธีออส และสถานีควบคุมและรับสัญญาณภาคพื้นดิน
** ใช้สำรวจทรัพยากรทั้งภายในประเทศ ซึ่งมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน แสดงความประสงค์นำข้อมูลดาวเทียมธีออสไปใช้ประโยชน์ในการสำรวจหาข้อมูล และใช้ทำแผนที่ในภารกิจที่รับผิดชอบ เช่น เช่น การสำรวจหาชนิดของพืชผลการเกษตร, การประเมินหาผลผลิตการเกษตร, การสำรวจหาพื้นที่ป่าไม้, การสำรวจหาพื้นที่ป่าถูกบุกรุกทำลาย, การสำรวจหาพื้นที่ป่าถูกไฟไหม้, การสำรวจหาพื้นที่สวนป่า, การสำรวจหาชนิดป่า, การสำรวจหาพื้นที่ทำนากุ้งและประมงชายฝั่ง, การสำรวจหามลพิษจากคราบน้ำมันในทะเล, การสำรวจหาแหล่งน้ำ, การสำรวจหาแหล่งชุมชน, การสำรวจหาพื้นที่ปลูกฝิ่น, การวางผังเมือง, การสร้างถนนและวางแผนจราจร, การทำแผนที่, การสำรวจหาบริเวณที่เกิด[[อุทกภัย]], การสำรวจหาพื้นที่ที่เกิดดินถล่ม, การสำรวจหาพื้นที่ประสบภัยจาก[[คลื่นยักษ์สึนามิ]]
** ลดค่าใช้จ่ายการสั่งซื้อภาพจากดาวเทียมต่างประเทศ และสามารถขายข้อมูลการสำรวจทรัพยากรระหว่างประเทศ
 
เส้น 33 ⟶ 38:
** การพัฒนาระบบดาวเทียม ระบบภาคพื้นดิน การควบคุมรับสัญญาณ และการจัดทำผลิตภัณฑ์ภาพ
** ได้สิทธิ์ในการรับสัญญาณและการให้บริการข้อมูลดาวเทียม SPOT-2, 4, และ 5 ก่อนดาวเทียมธีออสจะขึ้นสู่อวกาศ
** ได้สิทธิ์ในการพัฒนาบุคลากร ทั้งจากการได้ทุนการศึกษา ตลอดระยะเวลา 10 ปี โดยเป็นทุนฝึกอบรมใน[[ฝรั่งเศส]] สำหรับเจ้าหน้าที่ไทย ในด้านเทคโนโลยีดาวเทียมและการประยุกต์ใช้ จำนวน 80 ทุน และทุนการศึกษาระดับปริญญาโท-เอก จำนวนทั้งสิ้น 24 ทุน
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากฝรั่งเศสจะเดินทางมาเพื่ออบรม และจัดสัมมนาให้แก่เจ้าหน้าที่ไทยทุกปี
 
==ภาพอื่นๆ==
<gallery>
ภาพ:THEOS before launch.jpg|ดาวเทียมที่ประกอบเสร็จสมบูรณ์พร้อมทำการปล่อยสู่วงโคจร
ภาพ:First THEOS image.jpg|ภาพถ่ายจากดาวเทียมธีออส
ภาพ:Theos sat.jpg|ส่วนประกอบของดาวเทียมธีออส
</gallery>
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}