ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.
บรรทัด 13:
| election_date = [[3 เมษายน]] [[พ.ศ. 2549]]
 
| image1 = [[ภาพไฟล์:Thaksin crop.jpg|150px]]
| leader1 = [[ทักษิณ ชินวัตร]]
| party1 = พรรคไทยรักไทย
| party_colour = no
| leaders_seat1 =
| last_election1 = 375 ที่นั่ง, 60.7%
| seats1 = ''460''
| seat_change1 = ''+85''
| popular_vote1 = ''16,246,368'' (บัญชีรายชื่อ) <br> 15,387,223 (แบ่งเขต) </br>
| percentage1 = ''56%'' (บัญชีรายชื่อ) <br> 53% (แบ่งเขต) </br><br><small> (การเลือกตั้งเป็นโมฆะ) </small>
 
| image2 = [[ภาพไฟล์:No sign.svg|145px]]
| leader2 = ไม่ประสงค์จะลงคะแนน
| party_colour = no
| party2 =
| leaders_seat2 =
บรรทัด 32:
| seats2 =
| seat_change2 =
| popular_vote2 = ''8,399,144'' (บัญชีรายชื่อ) <br> 9,207,230 (แบ่งเขต) </br>
| percentage2 = ''29%'' (บัญชีรายชื่อ) <br> 32% (แบ่งเขต) </br><br><small> (การเลือกตั้งเป็นโมฆะ) </small>
 
| title = นายกรัฐมนตรี
บรรทัด 42:
}}
 
[[ภาพไฟล์:Apisitoo.jpg|thumb|200px|นาย[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] หัวหน้า[[พรรคประชาธิปัตย์]] และนาย[[บรรหาร ศิลปอาชา]] หัวหน้า[[พรรคชาติไทย]] แถลงข่าวในวันที่ [[28 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2549]] ถึงการคว่ำบาตรการเลือกตั้ง ]]
'''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย เมษายน พ.ศ. 2549''' เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดขึ้นในวันที่ [[2 เมษายน]] [[พ.ศ. 2549]] โดยมีสาเหตุเนื่องมาจาก[[นายกรัฐมนตรี]] [[ทักษิณ ชินวัตร|พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร]]ได้ประกาศ[[การยุบสภาผู้แทนราษฎร|ยุบสภาผู้แทนราษฎร]]เมื่อวันที่ [[24 กุมภาพันธ์]] พ.ศ. 2549 เพื่อหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ฝ่ายค้านยื่นอภิปรายซึ่งตนเคยให้สัญญาไว้ก่อนเลือกตั้งว่าพร้อมแบ่งคะแนนเสียงให้ฝ่ายค้านทุกเมื่อหากต้องการนำไปใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจตนเอง แต่เมื่อถึงเวลาดังกล่าวกลับเจอมรสุมการเมืองรุมเร้ามากมาย รวมทั้งรัฐมนตรีของตนไม่สามารถตอบคำถามที่ชัดเจนต่อประชาชนได้จึงจำเป็นต้องประกาศยุบสภาเพื่อมิให้ข้อมมูลต่างๆที่ถูกตรวจสอบถูกเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณะชนมากขึ้นอันจะเป็นผลเสียต่อตนเอง จึงต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 60 วันตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540]] โดยท้ายที่สุด เมื่อการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นโมฆะ จึงทำให้ต้องมี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย ตุลาคม พ.ศ. 2549|การเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง]] โดยกำหนดให้มีขึ้นในในวันที่ [[15 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2549]]
 
== ก่อนการเลือกตั้ง ==
=== สัตยาบันเพื่อปฏิรูปการเมือง ===
ภายหลังการการยุบสภาผู้แทนราษฎร พรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมซึ่งประกอบด้วย [[พรรคประชาธิปัตย์]] [[พรรคชาติไทย]] และ[[พรรคมหาชน]] ได้ทำหนังสือถึง[[พรรคไทยรักไทย]] เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เพื่อขอให้ลงนามในสัตยาบันร่วมกันว่า หลังการเลือกตั้งจะจัดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540]] มาตรา 313 โดยกำหนดให้มีคณะบุคคลที่เป็นกลางเป็นผู้ดำเนินการในการยกร่างรัฐธรรมนูญ <ref>[http://news.sanook.com/crime/crime_16854.php "บรรหาร"ทำหนังสือถึง"ทักษิณ" ทรท.ส่อปัดลงสัตยาบันแก้รธน.]</ref>
 
พรรคไทยรักไทยแสดงจุดยืนว่า ไม่ต้องการลงสัตยาบันแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน <ref>[http://www.komchadluek.net/news/2006/02-27/p1--68001.html "ทักษิณ"ปัดตอบลงสัตยาบันขอเป็นผู้พิทักษ์ทรท.ถกเช้านี้ ]</ref> และดำเนินการเชิญหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคมาหารือร่วมกัน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่อาคารวุฒิสภา และเสนอให้ทุกพรรคทำสัญญาประชาคมแก้ไขรัฐธรรมนูญในระหว่างการเลือกตั้ง จากนั้นค่อยมาตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางชุดหนึ่งขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ <ref>[http://www.bangkokbiznews.com/specialreport/26Feb/y001_81392.php?news_id=81392 'ทักษิณ'จนมุมอ้อนพรรคเล็กลงสัตยาบัน]</ref> พรรคฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรคเห็นว่าท่าทีของพรรคไทยรักไทย มีเจตนาที่จะถ่วงเวลา จึงประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัคร <ref>[http://tnews.teenee.com/politic/194.html พรรคร่วมฝ่ายค้านปัดประชาคม"แม้ว"-มติคว่ำบาตรเลือกตั้ง]</ref>
 
=== นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ===
เมื่อวันที่ [[11 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2549]] นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ผู้สมัครในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 93 ของพรรคไทยรักไทยได้ยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคพรรคไทยรักไทย อย่างกะทันหัน และเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดพิกุลทอง จากนั้นได้เดินทางไปจำวัดที่[[วัดสวนแก้ว]] [[จังหวัดนนทบุรี]] ซึ่งมี[[พระพยอม กัลยาโณ]] เป็นเจ้าอาวาส
 
การลาออกของนายแพทย์เปรมศักดิ์ ส่งผลให้พรรคไทยรักไทยมี ส.ส.บัญชีรายชื่อ เหลือเพียง 99 คน (คาดการณ์ว่า จะไม่มีพรรคใดได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ถึง 5% ทำให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้ง 100 คน จะมาจากพรรคไทยรักไทยทั้งหมด) เมื่อรวมกับ ส.ส.ระบบเขตอีก 400 คน เป็น 499 คน ไม่ครบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 98 ของรัฐธรรมนูญว่า ''สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคนโดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา 99 จำนวนหนึ่งร้อยคน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา 102 จำนวนสี่ร้อยคน'' และส่งผลให้จำนวน ส.ส.ไม่ครบที่จะเป็นองค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร ไม่สามารถประกอบ[[รัฐพิธี]]เปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร <ref>[http://www.thaipost.net/index.asp?bk=sunday&post_date=12/Mar/2549&news_id=121421&cat_id=110100 'หมอเปรม'บวชผ่าทางตัน!ทรท.ระส่ำกลัวสภาไม่500]</ref> และไม่สามารถประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อคัดเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรีได้
 
== การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ==
[[ภาพไฟล์:02x0.jpg|thumb|200px|right|พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์[[สยามรัฐ]]ลงข่าว 3 พรรคฝ่ายค้านร่วมคว่ำบาตรการเลือกตั้ง]]
=== เหตุการณ์ในช่วงการเลือกตั้ง ===
* 3 พรรคฝ่ายค้าน [[พรรคประชาธิปัตย์|ประชาธิปัตย์]],[[พรรคชาติไทย|ชาติไทย]],[[พรรคมหาชน|มหาชน]] คว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งลงแข่งขัน
บรรทัด 71:
* มีบัตรเสียจำนวนเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้วอย่างผิดปกติ โดยเฉพาะบัตรเสียในบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
 
=== ผลการเลือกตั้ง ===
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2549 ดังนี้
 
* '''การใช้สิทธิเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ''' (ปาร์ตี้ลิสต์)
 
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44,909,562 คน
 
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 29,088,209 คน (64.77%) แยกเป็น
** บัตรเสีย 1,680,101 ใบ (คิดเป็น 5.78%)
** ไม่ประสงค์ลงคะแนน (โนโหวต) 9,051,706 คน (คิดเป็น 31.12%)
** แยกรายพรรค 18,356,402 คะแนน
*** [[พรรคไทยรักไทย]] 16,420,755 คะแนน (คิดเป็น 56.45%)
*** [[พรรคเกษตรกรไทย]] 675,662 คะแนน
*** [[พรรคพลังประชาชน]] 305,015 คะแนน
*** [[พรรคประชากรไทย]] 292,895 คะแนน
*** [[พรรคธัมมาธิปไตย]] 255,853 คะแนน
*** [[พรรคไทยช่วยไทย]] 146,680 คะแนน
*** [[พรรคพัฒนาชาติไทย]] 134,534 คะแนน
*** [[พรรคแผ่นดินไทย]] 125,008 คะแนน
 
* '''การใช้สิทธิเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง'''
 
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44,778,628 คน
 
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 28,998,364 คน (64.76%) แยกเป็น
** บัตรเสีย 3,778,981 ใบ (คิดเป็น 13.03%)
** ไม่ประสงค์ลงคะแนน 9,610,874 คน (คิดเป็น 33.14 %)
** แยกรายพรรค 15,608,509 คะแนน
 
''หมายเหตุ'' ข้อมูลส.ส.แบบระบบบัญชีรายชื่อ 399 เขต (ขาด สมุทรสาคร เขต 3) ขณะที่ข้อมูลส.ส.แบบแบ่งเขต 398 เขต (ขาด นนทบุรี เขต 3 และ สมุทรสาคร เขต 3) และการใช้สิทธิเลือกตั้งบัญชีรายชื่อมากกว่าแบบแบ่งเขต เพราะ จ.นนทบุรี เขต 3 มีการเลือกตั้งเฉพาะส.ส.บัญชีรายชื่อ
 
=== ข้อวิจารณ์การทำงานของ[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] ===
* การประชุมกำหนดการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 น่าจะไม่ชอบ เกี่ยวกับองค์ประชุม ที่กำหนดในพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง 2540 มาตรา 8 ระบุเรื่องการประชุมให้มีไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของเท่าที่มีอยู่ แต่ในวันที่ประกาศ พรฎ นั้น กรรมการ กกต. มีจำนวนเพียง 3 คน จากที่มีอยู่ 4 คน (กกต. จะต้องมี 5 คนตามรัฐธรรมนูญ แต่ มีกรรมการ 1 คนเสียชีวิตเมื่อ พย.2548 ยังไม่มีการสรรหาเพิ่ม, และขณะนั้น 1 คนเดินทางไปต่างประเทศ)
* กำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ใน 40 เขตในวันที่ 23 เมษายน 2549 โดยเปิดรับผู้สมัครใหม่เมื่อวันที่ 8-9 เมษายน แต่ให้ผู้ที่เคยสมัครในการเลือกตั้งรอบแรก ใช้หมายเลขเดิม
* เปิดโอกาสให้ผู้สมัครเวียนเทียนสมัคร โดยผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในเขตการเลือกตั้งหนึ่ง และแพ้การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน และทาง กกต.ยังไม่ได้รับรองการเลือกตั้ง สามารถย้ายไปลงสมัครที่เขตอื่น จังหวัดอื่นได้ ทั้งนี้ผู้อำนวยการเขตเลือกตั้งได้ตัดสิทธิ์ของผู้สมัครเหล่านี้ แต่กลับมีหนังสือเวียนโดยนาย[[วาสนา เพิ่มลาภ]] ประธาน กกต. แจ้งให้รับสมัครได้
บรรทัด 109:
* เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ครบ 90 วัน นับถึงวันรับสมัครรอบแรก ลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายนได้ เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองครบ 90 วัน ในวันรับสมัครรอบที่สอง วันที่ 8-9 เมษายน แล้ว
 
== การเลือกตั้งวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 ==
[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 จำนวน 40 เขตเลือกตั้ง ใน 17 จังหวัด ประกอบด้วย
จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดสตูล จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดกระบี่
 
=== เหตุการณ์ในช่วงการเลือกตั้ง ===
* ผู้อำนวยการ กกต.เขต จังหวัดสงขลา ประกาศลาออกจากตำแหน่งทั้ง 7 เขต เนื่องจากไม่พอใจการทำงานของ กกต. กลาง
* กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 7 หน่วยเลือกตั้ง ประท้วงการเลือกตั้ง โดยบางหน่วยไม่ไปรับบัตรเลือกตั้งที่ กกต.จังหวัด และบางหน่วยไปรับบัตรเลือกตั้ง แต่ไม่เปิดทำการ
* มีผู้ฉีกบัตรเลือกตั้ง เพื่อประท้วงการเลือกตั้ง ในจังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดยะลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
* มีผู้ประท้วงการเลือกตั้ง โดยลงชื่อและรับบัตรเลือกตั้ง แล้วส่งบัตรเลือกตั้งคืนให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง โดยไม่มีการกาเครื่องหมายใดๆ ที่จังหวัดพัทลุง
 
== รายชื่อตัวอย่างผู้ฉีกบัตรเลือกตั้ง ==
==การเพิกถอนการเลือกตั้ง และการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่==
 
#[[ไชยันต์ ไชยพร|รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร]]
#[[รัฐเอกราช ราษฎร์ภักดีรัช|นายรัฐเอกราช ราษฎร์ภักดีรัช]]
#[[ทศพร กาญจนะภมรพัฒน์|นายทศพร กาญจนะภมรพัฒน์]] (ศาลจังหวัดตรัง ตัดสินยกฟ้องเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 คำวินิจฉัยระบุว่าเป็นการกระทำเพื่อแสดงออกถึงสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งบุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ)
#[[เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา|นพ.เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา]] (อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่)
#นายนิกร ยอดหนูขุน
#นางปราณี วีรวงศ์ (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
#น.ส.จินตนา จินเดหวา (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
#นางสุมล ตุลา (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
#นางสอาด จินเดหวา (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
#น.ส.วลัย ยนประเสริฐ (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
#นายศฦงคาร ชูวงศ์วุฒิ (ประธานชมรมโรงกลึงยะลา และรองประธานมูลนิธิสง)
#นายนิคม ชูวัฒนะ (อดีตผู้ใหญ่บ้าน ม.ภ ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร)
#นายยงค์ ยังพลขันธุ์ (เจ้าของสวนปาล์มขนาดใหญ่ จ.ชุมพร)
#นายกฤช เทพบำรุง (นักธุรกิจ จ.ภูเก็ต)
#นายบุญชัย จรัสรัศมี
#นายสมมาตร หมั่นคิด
#นายวิกรม อิศรางกูร
#นายสนชัย ฤทธิชัย
#นายพรเทพ จันทร์ทองแก้ว
#นายแสวง กลิ่นคง
#น.ส.บุญนำ จันทรุพันธ์ (ข้าราชการบำนาญ)
 
== การเพิกถอนการเลือกตั้ง และการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ==
การเลือกตั้งในครั้งนี้ [[ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา]] ขอให้ [[ศาลรัฐธรรมนูญ]] พิจารณาวินิจฉัย ตาม [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540|รัฐธรรมนูญ]] [http://www.parliament.go.th/con40/sec-67.htm มาตรา 198] กรณีการดำเนินการของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เกี่ยวกับ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้ เพิกถอนการเลือกตั้ง เพื่อจะได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดย ศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดการพิจารณาวินิจฉัย ใน[[วันจันทร์]]ที่ [[8 พฤษภาคม]] พ.ศ. 2549
 
เส้น 126 ⟶ 150:
ในส่วนของการพิจารณา เพิกถอนการเลือกตั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 9 ท่าน วินิจฉัยว่า ให้มีการเพิกถอนการเลือกตั้ง และต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ <ref>http://www.concourt.or.th/concourt/files/news08_05_49.pdf</ref>
 
== กกต.ดำเนินการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ และคำพิพากษาจำคุก กกต. ==
จากกรณีที่นาย[[ถาวร เสนเนียม]] รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กกต.ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ได้นำมาซึ่งคำพิพากษาให้ กกต.ต้องโทษจำคุก และออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม [http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0106260749&day=2006/07/26 ข่าวคำพิพากษาจาก นสพ.มติชน] จนมีการสรรหา กกต.ใหม่ และคาดว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ได้ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[รายชื่อผู้ฉีกบัตรเลือกตั้งเพื่อประท้วงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549]]
* [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548]]
* [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย ตุลาคม พ.ศ. 2549]]
* [[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]
 
== อ้างอิง ==
<references />