ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิธีบายศรีสู่ขวัญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''พิธีบายศรีสู่ขวัญ''' บางครั้งก็เรียกว่า ''พิธีบายศรี, พิธีสู่ขวัญ, พิธีทำขวัญ, พิธีรับขวัญ'' เป็น[[ประเพณี]]อย่างหนึ่ง[[คนไทย]] ด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกคนเกิดมาพร้อมกับสิ่ง[[นามธรรม]]อย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า “ขวัญ” ซึ่งมีหน้าที่รักษาประคับประคองชีวิตและติดตามเจ้าของไปทุกหนแห่ง การทำพิธีสู่ขวัญจึงเป็นการเชิญขวัญที่หนีหายไปให้เข้ามาอยู่กับตัว และเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง มีสติและไม่ประมาท <ref>[http://www.thaifolk.com/doc/bysri.htm พิธีบายศรีสู่ขวัญ]</ref>
 
ประเพณีบายศรีสู่ขวัญใช้เครื่องเชิญขวัญที่เรียกว่า '''บายศรี''' ทำด้วย[[ใบตอง]] รูปคล้าย[[กระทง]] เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญ ([[ไข่ต้ม]]) เสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายประเภท เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่ ([[ภาษาเขมร]] บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ) <ref>พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542</ref> มีการพัน[[สายสิญจน์]]ไว้โดยรอบเพื่อใช้ผูกข้อมือผู้รับขวัญ ผู้นำทำพิธีเรียกว่า ''หมอขวัญ''
 
== ประวัติ ==