ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระวรสารนักบุญลูกา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: arc:ܟܪܘܙܘܬܐ ܕܠܘܩܐ; ประทิ่นเปลี่ยนแปลง
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''พระวรสารนักบุญลูค''' หรือ '''พระวรสารนักบุญลูกา''' ([[ภาษาอังกฤษ]]: Gospel of Luke) เป็นเอกสารในชุด [[พระวรสาร]] ของ[[คัมภีร์ไบเบิล|พระคริสตธรรมคัมภีร์]] ภาค[[พันธสัญญาใหม่]]
 
เป็นหนึ่งในสี่ของ “[[พระวรสารกฏบัตร]] ” และเป็นพระวรสารหนึ่งในสามของ “[[พระวรสารสหทรรศ]]” เชื่อกันทั่วไปว่าเขียนโดย [[นักบุญลูคอีแวนเจลลิส]]
 
แม้ว่าจะไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนพระวรสารเล่มนี้ แต่จากหลักฐานที่เชื่อถือได้เป็นจำนวนมากระบุตรงกันว่าเขียนโดย [[นักบุญลูคอีแวนเจลลิส]] ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นชาวยิว แต่น่าจะเป็นชาวกรีก เพราะมีความรู้ในเรื่องวัฒนธรรมของชาวกรีกเป็นอย่างดี เคยเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปประกาศกับเปาโลหลายครั้ง นอกจากนี้[[นักบุญลูคอีแวนเจลลิส]]ยังมีอาชีพเป็นนายแพทย์ในสมัยนั้นด้วย พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นระหว่างปีค.ศ.59 - 63 จากลักษณะของโครงสร้างและภาษาที่ใช้ในพระวรสารเล่มนี้ เหมือนกันกับในพระธรรมกิจการของอัครฑูต ดังนั้นเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า [[นักบุญลูคอีแวนเจลลิส]]เป็นผู้เขียนพระธรรมกิจการของอัครฑูตด้วย
เป็นพระวรสารฉบับที่ยาวที่สุดในสี่ฉบับ เนื้อหากล่าวถึง ชีวประวัติของ[[พระเยซู]]
 
โดยเน้นเหตุการณ์ การเกิด การเทศนา การตาย และการฟื้นจากความตาย จนถึงการเสด็จสู่สวรรค์
จากพระวรสารทั้งหมด 4 เล่ม '''พระวรสารนักบุญลูกา''' เป็นพระวรสารเล่มที่ยาวที่สุด ถูกจัดว่าเป็นพระวรสารที่มีเนื้อหาที่สวยงามที่สุด เขียนเล่าเรื่องราวของ[[พระเยซู]]ได้ครบถ้วนและตามลำดับเหตุการณ์มากที่สุด สาระสำคัญของพระวรสารเล่มนี้คือ ความรู้สึกปิติยินดีที่[[พระเยซู]]นำความหวังและการไถ่บาปมาสู่โลกมนุษย์ ความรักที่[[พระเยซู]]มีต่อมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะคนยากจนและผู้ถูกกดขี่ข่มเหง สังเกตได้จากคำอุปมาที่[[พระเยซู]]ตรัสสั่งสอน ซึ่งผู้อ่านจะรู้สึกได้ตลอดทั้งเล่ม
 
แรกเริ่ม[[นักบุญลูคอีแวนเจลลิส]]เขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่โรมันคนหนึ่งชื่อ เธโอฟิลัส ได้อ่าน<ref>ลูกา 1:1</ref> โดยเขียนขึ้นจากมุมมองของชาวกรีก จากลักษณะการเขียนที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์ต่างๆกับเวลาที่เกิดขึ้น แสดงว่าผู้เขียนต้องเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง เพราะข้อมูลที่เขียนผ่านการค้นคว้ามาอย่างละเอียด ตัวอย่างเช่น "เมื่อปีที่สิบห้า ในรัชกาลทิเบริอัสซีซาร์ ปอนทิอัสปีลาตเป็นเจ้าเมืองยูเดีย เฮโรดเป็นเจ้าเมืองกาลิลี ฟีลิปน้องชายของเฮโรดเป็นเจ้าเมืองอิทูเรียกับเมืองตราโคนิติส ลีซาเนียสเป็นเจ้าเมืองอาบีเลน และอันนาสกับคายาฟาสเป็นมหาปุโรหิต คราวนั้นพระวจนะของพระเจ้ามาถึงยอห์นบุตรเศคาริยาห์ในถิ่นทุรกันดาร"<ref>ลูกา 3:1 - 2</ref> ซึ่งก็ตรงกับคุณสมบัติของผู้ที่มีอาชีพนายแพทย์เป็นอย่างดี [[นักบุญลูคอีแวนเจลลิส]]เขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้นจากการศึกษาและวิจัย<ref>ลูกา 1:3</ref> โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งกับคนที่อยู่แวดล้อมพระเยซูมาตั้งแต่ต้น และประกอบกับเอกสารต่างๆมากมาย
 
[[นักบุญลูคอีแวนเจลลิส]]มีวัตถุประสงค์ในการเขียนพระวรสารเล่มนี้อยู่ 5 ประการ หนึ่งคือ ต้องการให้ประจักษ์ว่า [[พระเยซู]]เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก [[นักบุญลูคอีแวนเจลลิส]]ได้ลำดับพงศ์ของ[[พระเยซู]]ย้อนไปจนถึงสมัยอาดัม<ref>ลูกา 3:23 - 38</ref> นั่นคือตั้งแต่พระเจ้าเริ่มสร้างโลก แม้ว่าข้อมูลนี้จะมีความหมายไม่มากนักสำหรับชาวกรีก แต่ข้อมูลนี้ทำให้[[พระเยซู]]ถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์โลก
 
'''พระวรสารนักบุญลูค''' ใช้ “ลูกา” หรือ “ลก” ในการอ้างอิง