ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เบญจศีล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: อ้างอิงไตรปิฎก
บรรทัด 15:
ต่อมา[[พระโคดมพุทธเจ้า]]อุบัติขึ้นและประกาศ[[พุทธศาสนา]]ก็ทรงยอมรับเอาข้อห้ามห้าประการตามจักวัตติสูตรมาสั่งสอนในพุทธศาสนาอย่างแพร่หลาย เรียกว่า "ศีล" บ้าง "สิกขาบท" บ้าง แต่ในทางปฏิบัติหมายถึง เจตนางดเว้นจากการกระทำความชั่วห้าประการข้างต้น ไม่เพียงเท่านี้ ครั้งเสด็จออกบรรพชาก็ทรงถือปฏิบัติตามคุณธรรมนักบวชสี่ประการดังกล่าว โดยทรงขนานชื่อว่า "อกรณียกิจ ๔" แปลว่า เรื่องที่นักบวชไม่พึงทำสี่ประการ และทรงนำไปเป็นเกณฑ์บัญญัติพระวินัยอีกด้วย ที่เห็นได้ชัดคือ [[ปาราชิก|ปาราชิก ๔]]<ref name = Royin-02>ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘ : ๓๖๔.</ref>
 
โดยเหตุที่เบญจศีลเป็นหลักธรรมสำหรับอุ้มชูโลก จึงได้รับสมญาต่าง ๆ อาทิ สมญาว่า "มนุษยธรรม" คือ ธรรมของมนุษย์ กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รักษาธรรมะห้าประการนี้แล้ว โลกหรือสังคมก็จะสงบสุข<ref name = Royin-02/>, ว่า "นิจศีล" หรือ "นิตยศีล" คือ ศีลที่บุคคลทั้งนักบวชและฆราวาสพึงรักษาเป็นนิตย์, ว่า "คิหิศีล" คือ ศีลของ[[คฤหัสถ์]], ว่า "อาคาริยวินัย" คือ วินัยของผู้ครองเรือน เป็นต้น<ref name = Royin-03>ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘ : ๓๖๕.</ref> [[ราชบัณฑิตยสถาน]]แห่ง[[ประเทศไทย]] แสดงความเห็นว่า "...น่าจะถือได้ว้าว่า ศีล ๕ เป็นรากฐานของศีลทั้งปวง..."<ref name = Royin-03/>
 
ต่อมา ได้มีผู้นำทางการเมืองของบางประเทศนำคำว่า "ปัญจสีล" ไปใช้ในทางการเมืองโดยเรียกว่า "ปัญจสีละ" และได้ให้นิยามตามความคิดเห็นของตนเอง ได้ความว่าคือการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ({{lang-en|non-alignment}})<ref name = Royin-03/>