ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พืชสองปี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: thumb|right|260px|ผักชีพาร์สลีย์ [[ไฟล์:Bartnelke.jpg|thumb|260px|พืชสองปีสวี...
 
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
ถ้าสภาวะอากาศรุนแรงพืชสองปีก็อาจจะจบวัฏจักรภายในระยะเวลาอันสั้นได้ เช่นอาจจะภายในสามหรือสี่เดือนแทนที่จะเป็นสองปี ซึ่งเป็นลักษณะที่พบบ่อยในผักหรือไม้ดอกที่ประสบกับอากาศเย็นจัดก่อนที่จะลงดิน การที่พืชมีลักษณะเช่นนี้ทำให้บางครั้งผู้ปลูกก็ปลูกเป็น[[พืชปีเดียว]]ในบางภูมิภาค พืชสองปีที่เป็นไม้ดอกบางชนิดก็สามารถเร่ง (induce) ให้ออกดอกได้โดยไม่ต้องให้มีอากาศเย็นโดยการให้ฮอร์โมนพืช “[[gibberellin]]” แต่มักจะไม่ทำกันในทางการค้า
 
เมื่อพิจารณาจากมุมมองของคนทำสวนแล้วพืชจะเป็น[[พืชปีเดียว]], พืชสองปี หรือ [[พืชยืนต้น]]ก็มักจะต่างกันออกไปแล้วตามแต่สภาวะอากาศของแต่ละท้องถิ่น พืชสองปีที่ปลูกสำหรับเอาดอก ผล หรือเมล็ดจำเป็นต้องใช้เวลาสองปีในการปลูก พืชสองปีที่ปลูกสำหรับกินใบหรือรากมักจะปลูกให้เป็น[[พืชปีเดียว]] เช่น[[บีท]], [[กล่ำบรัสเซลส์]] (Brussels sprout), [[กล่ำปลี]], [[แครอท]], [[ขึ้นฉ่าย]], [[ผักกาด]], [[พาร์สลีย์]] และ [[คะน้าสวิส]] (Swiss chard) ถ้าพืชที่ตามปกติแล้วเป็นพืชสองปีถูกนำไปปลูกในบริเวณที่มีอากาศหนาวจัดก็มักจะปลูกให้เป็นพืชปีเดียวเพราะไม่สามารถทนฤดูหนาวได้ หรือในทางกลับกันพืชปีเดียวที่ปลูกในบริเวณที่อากาศเหมาะสมก็ทำให้ดูเหมือนเป็นพืชสองปี หรือ [[พืชยืนต้น]]ได้ [[พืชยืนต้น]]ที่มีอายุสั้นบางชนิดจะมีลักษณะคล้ายพืชสองปีแทนที่จะเป็นพืชยืนต้น พืชสองปีแท้ๆ จะออกดอกเพียงครั้งเดียวก่อนที่จะตาย แต่พืชยืนต้นจะออกดอกปีละหนเมื่อโตเต็มที่
 
== อ้างอิง ==