ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทับศัพท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 15:
ส่วนการทับศัพท์ภาษาไทยไปเป็นภาษาอังกฤษ ถึงแม้อักษรไทยบางตัวจะสามารถแทนได้ด้วยอักษรโรมันแบบหนึ่งต่อหนึ่งได้เช่นกัน แต่ก็มีอักษรไทยจำนวนมากที่กำหนดให้แทนด้วยอักษรตัวเดียวกัน หรือต้องใช้อักษรโรมันมากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาประกอบ เช่น ฐ-ฑ-ฒ-ถ-ท-ธ=th, ง=ng, สระเอือ=uea บางครั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกดก็ใช้อักษรโรมันต่างกันด้วย เช่น บ ถ้าเป็นพยัญชนะต้นใช้ b ถ้าเป็นพยัญชนะสะกดใช้ p เมื่อแปลงอักษรไปทั้งหมดแล้วทำให้ไม่สามารถถอดกลับมาเป็นอักษรไทยอย่างเดิมได้ และอาจทำให้คำอ่านเพี้ยนไปบ้าง ตัวอย่างเช่น ''บางกอก'' ทับศัพท์ได้เป็น ''Bangkok'' แต่ชาวต่างประเทศอาจจะอ่านว่า ''แบงค็อก'' ซึ่งก็เป็นเพียงเสียงอ่านที่ใกล้เคียงเท่านั้น ไม่ใช่เสียงที่แท้จริง
 
นอกจากนี้ยังมีมาตรฐาน [[ISO 11940]] สำหรับการถอดอักษรแบบปริวรรตจากอักษรไทยไปเป็นอักษรโรมัน แต่ระบบนี้ก็ไม่เป็นที่นิยมใช้ เนื่องจากไม่เป็นไปตาม[[อักขรวิธี]] คือเมื่อถอดอักษรไปแล้วอาจจะอ่านไม่ออกไปเลย เช่น ''เครื่อง'' เมื่อถอดอักษรด้วยระบบนี้จะได้ ''{{unicode|ekhrụ̄̀xng}}'' ซึ่งสามารถแปลงกลับเป็นคำเดิมได้แต่อ่านไม่ออกได้ ในขณะที่หลักของราชบัณฑิตยสถานทับศัพท์ได้ว่า ''khrueang'' ซึ่งพออ่านออกได้บ้าง
 
== อ้างอิง ==