ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอุรุเวลกัสสปะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
→‎อ้างอิง: คนละองค์ อันนั้นพระมหากัสสปะ อันนี้อุรุเวลากัสสปะ
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
กล่องข้อมูล +ภาพ
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล บุคคลในพระพุทธประวัติ
{{รอการตรวจสอบ}}
| name = พระอุรุเวลกัสสปะ
{{พุทธ}}
| img = ชฎิล ๓ พี่น้อง.jpg
| img_size =
| img_capt = ภาพวาดพระอุรุเวลกัสสปะ ขณะยังเป็นชฏิล ๓ พี่น้อง
| ชื่อเดิม = อุรุเวลกัสสปะ
| พระนามเดิม =
| ชื่ออื่น = อุรุเวลกัสสปะ, อุรุเวลชฎิล
| พระนามอื่น =
| วันเกิด =
| วันประสูติ =
| สถานที่เกิด =
| สถานที่ประสูติ =
| สถานที่บวช = [[อุรุเวลาเสนานิคม]]
| วิธีบวช = [[เอหิภิกขุอุปสัมปทา]]
| สถานที่บรรลุธรรม = [[คยาสีสะ]]
| ตำแหน่ง =
| เอตทัคคะ = ผู้มีบริวารมาก
| อาจารย์ =
| ลูกศิษย์ =
| เสียชีวิต =
| นิพพาน =
| สถานที่เสียชีวิต =
| สถานที่นิพพาน =
| ชาวเมือง =
| นามบิดา =
| นามพระบิดา =
| นามพระราชบิดา =
| นามมารดา =
| นามพระมารดา =
| นามพระราชมารดา =
| วรรณะเดิม = พราหมณ์ (กัสสปะโคตร)
| ราชวงศ์ =
| การศึกษา =
| อาชีพ =
| ชื่อสถานที่ = [[คยาสีสะ]] สถานที่ชฏิล 3 พี่น้องบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
| หมายเหตุ =
}}
'''พระอุรุเวลกัสสปะ''' เป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องเป็นพระ[[อสีติมหาสาวก]]ผู้เป็น[[เอตทัคคะ]]ในด้านผู้มีบริวารมาก
 
== ชาติกำเนิด ==
'''พระอุรุเวลกัสสปะ''' เกิดในตระกูลพราหมณ์กัสสปโคตร มีน้องชาย 2 คน ชื่อ กัสสปะ เหมือนกัน เมื่อเจริญวัยขึ้นมา ได้ศึกษาจบไตรเพท คือ พระเวท 3 อย่าง ซึ่งเป็นคัมภีร์
ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของพราหมณ์ ได้แก่
# [[ฤคเวท]] (อรุพเพท) ประมวลบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า
# [[ยชุรเวท]] (ยชุพเพท) บทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่าง ๆ
# [[สามเวท]] ประมวลบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ
 
'''กัสสปะพี่ชายคนโต'''นั้นมีบริวาร 500 คน '''กัสสปะ คนกลาง''' มีบริเวณ 300 คน และ'''กัสสปะ คนเล็กสุดท้าย''' มีบริวาร 200 คน ต่อมาทั้งสามพี่น้องมีความเห็นตรงกันว่า “ลัทธิที่พวกตนนับถืออยู่นั้นไม่มีแก่นสาร” จึงพากันออกบวชเป็นฤๅษีชฎิล เกล้าผมเซิง บำเพ็ญพรตบูชาไฟตั้งอาศรมอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ เนรัญชรา ตามลำดับกัน พี่ชายคนโต ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำตอนเหนือ ณ ตำบลอุรุเวลา จึงได้ชื่อว่า “'''อุรุเวลกัสสปะ'''” น้องชายคนกลาง ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำถัดไป ณ ตำบลนที จึงได้ชื่อว่า “'''นทีกัสสปะ'''” ส่วนน้องชายคนเล็ก ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำ ณ ตำบลคยา จึงได้ชื่อว่า “'''คยากัสสปะ'''”
 
== สาเหตุที่ได้เป็นเอตทัคคะ ==
 
=== บุพกรรมในอดีตชาติ ===
ในอดีตกาลพระอุรุเวลกัสสปะเถระ บังเกิดขึ้นในเรือนของผู้มีตระกูลในเมืองหงสาวดี พอเติบโตขึ้นแล้ว ได้ไปฟังพระธรรมเทศนาของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เห็นพระองค์ทรงตั้งพระเถระรูปหนึ่งไว้ ในตำแหน่งอันเลิศที่สุดกว่าพระสาวกทั้งหลายฝ่าย "'''มีบริวารมาก'''" จึงคิดว่าเราจะได้เป็นเช่นพระเถระนั้นบ้างในอนาคต
 
กุลบุตร (อุรุเวลกัสสปะ) เมื่อคิดดังนี้แล้ว จึงจัดการถวายมหาทานแด่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน การถวายมหาทานกระทำอยู่ทั้งหมด 7 วัน และในวันสุดท้ายได้ถวายผ้าไตรจีวรแล้วตั้งความปารถนาว่า '''ขอให้ข้าพระองค์ได้รับตำแหน่งอันเลิศที่สุดด้านมีบริวารมาก ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ด้วยผลของบุญกุศลนี้ ในอนาคตกลาโน้นเถิด พระเจ้าข้า'''
 
พระปทุมมุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพิจารณาเป็นถึงความเป็นไปในอนาคตกาลของกุลบุตรนั้น ไม่มีเหตุขัดข้องแต่ประการใด จึงทรงพยากรณ์ว่า '''เธอจะได้เป็นผู้เลิศฝ่ายมีบริวารมากสมตามความปารถนา ในศาสนาของพระสมณโคดมพุทธเจ้า โดยจะเสด็จขึ้นในหนึ่งแสนกับข้างหน้าโน้น'''
เส้น 29 ⟶ 65:
พอออกพรรษาแล้วพระราชโอรสทั้ง 3 พระองค์ทรงจัดการถวายไทยธรรมด้วยพระองค์เอง ทั้งยังทรงกระทำบุญอยู่จนตลอดพระชนมชีพ ครั้นมาถึงชาติสุดท้ายนี้ พระราชโอรสทั้ง 3 พระองค์ กลับมาเกิดในตระกูลพราหมณ์ '''กัสสปโคตร''' ก่อนพระพุทธเจ้า และมีชื่อเหมือนกันหมดทั้งสามคนคือ กัสสปะ แต่มีคำนำหน้าชื่อที่ต่างกันออกไปตามที่อยู่ เช่นองค์ที่อยู่ที่ ตำบลอุรุเวลา มีชื่อว่า อุรุเวลกัสสปะ องค์ที่อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำมหาคงคานที จึงถูกเรียกว่า นทีกัสสปะ และคนสุดท้องมีชื่อว่า คยากัสสปะ เพราะอาศัยอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ
 
=== การได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในด้านผู้มีบริวารมาก ===
พระอุรุเวลกัสสปะได้รับยกย่องในทางผู้มีบริวารมาก (ที่เป็นพระอรหันต์ 1,002 องค์) เนื่องจากท่านเป็นผู้ประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม อันเป็นธรรมสำหรับผู้ใหญ่ใช้ปกครองดูแลบริวารให้มีความสุข ซึ่งประกอบด้วย
# เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข
# กรุณา ความสงสาร ปรารถนาจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
# มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
# อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ
 
ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ และอีกทั้งรู้จักบำรุงจิตใจบริวารด้วยการสงเคราะห์ ด้วยวัตถุสิ่งของและหลักธรรมะ จึงทำให้ท่านสามารถยึดเหนี่ยวจิตใจบริวารไว้ได้ เป็นที่รักเคารพของบริวาร และก็เป็นพุทธสาวกรูปเดียวที่มีบริวารมากที่สุด พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าพระสาวกทั้งปวง ในฝ่ายผู้มีบริวารมาก
 
== ความสำคัญในพระพุทธศาสนา ==
เมื่อพระพุทธองค์ ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว และจำพรรษาแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในพรรษานั้นมีพระสงฆ์สาวกผู้สำเร็จพระอรหันต์ จำนวน 60 รูป เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว พระบรมศาสดาได้ส่งพระสาวกทั้ง 60 รูปนั้น ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังถิ่นต่าง ๆ ส่วนพระองค์เองเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
 
เส้น 45 ⟶ 81:
พระบรมศาสดา เสด็จต่อไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เสด็จเข้าไปยังสำนักของอุรุเวลกัสสปะ ตรัสขอพักอาศัยสักหนึ่งราตรี แต่อุรุเวลกัสสปะ เห็นว่าเป็นนักบวชต่างลัทธิ จึงบ่ายเบี่ยงว่าไม่มีสถานที่ให้พัก พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า “ธรรมดาว่าโคย่อมเข้าไปสู่ฝูงโค นักบวชก็ย่อมเข้าไปสู่สำนักของนักบวช ถ้าท่านไม่มีความหนักใจ ตถาคตจะขอพักอาศัยอยู่ในโรงไฟ ซึ่งเป็นที่บูชายัญของท่านนั้น” “ดูก่อนมหาสมณะ เรามิได้หนักใจ ถ้าท่านจะพักในที่นั้น แต่ว่ามีพญานาคดุร้ายและมีพิษมาก อยู่ในโรงไฟนั้น เกรงว่าท่านจะได้รับอันตรายถึงชีวิตก็ได้” เมื่ออุรุเวลกัสสปะไม่ขัดข้อง พระพุทธองค์จึงเสด็จเข้าไปในโรงไฟ ทรงพิจารณาตรวจดู สถานที่อันสมควรแล้ว ประทับนั่งสมาธิเจริญกรรมฐาน ฝ่ายพญานาค เห็นผู้แปลกหน้าผิดกลิ่นเข้ามาในโรงไฟของตนก็โกรธ จึงพ่นพิษออกมาเป็นควันไฟอบอวลทั่วทั้งโรงไฟ หวังจะทำอันตรายให้สิ้นชีวิต แต่พระพุทธองค์ทรงแสดงพุทธานุภาพให้ปรากฏ ด้วยการบันดาลให้ควันไฟกลับไปสัมผัสเนื้อ หนัง เอ็น และกระดูกของพญานาค ทำให้ฤทธิ์เดชของพญานาคเหือดหายไป บังเกิดความเจ็ดปวดขึ้นมาแทน
 
=== อุรุเวลกัสสปะ ละลัทธิเดิม ===
ในราตรีนั้น พระพุทธองค์ทรงทรมานพญานาค ด้วยวิธีต่าง ๆ ทรงเข้าเตโชกสิณสมาบัติบันดาลให้เปลวไฟรุ่งโรจน์โชตนาการทั่วโรงไฟ เหล่าชฎิลทั้งหลายต่างมองดูด้วยความดีใจว่า “พระสมณะ คงจะวอดวาย ในกองเพลิงด้วยพิษของพญานาค อย่างแน่นอน” ในที่สุด พระพุทธองค์ ก็ทรงปราบพญานาค จนสิ้นฤทธิ์โดยสิ้นเชิงแล้วจับเอาลงไปขดไว้ในบาตรรุ่งเช้า อุรุเวลกัสสปะ พาศิษย์ชฎิลมาตรวจดู เมื่อเป็นเหตุการณ์เช่นนั้นจึงคิดว่า “พระสมณะนี้ มีอานุภาพมาก สามารถปราบพญานาคให้พ่ายแพ้ได้ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมิได้เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา” คิดดังนี้แล้ว จงยังมิยอมรับนับถือ แต่ก็รู้สึกเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์ และนิมนต์ให้พักอยู่ต่อไปได้ โดยพวกตนจะเป็นผู้นำอาหารมาถวายทุกวัน
 
เส้น 54 ⟶ 90:
อุรุเวลกัสสปะ จึงประกาศชักชวนชฎิลบริวารของตนทั้งหมด พากันลอยบริขารดาบส มีเครื่องแต่งผมเป็นชฎา และเครื่องบูชาเพลิง เป็นต้น ลงในแม่น้ำแล้วทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดา ประทานการอุปสมบทด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา พร้อมกันทั้งหมดฝ่าย นทีสัสสปะ และ คยากัสสปะ น้องชายทั้งสองคน ซึ่งตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำตอนใต้ลงไปตามลำดับ เห็นบริขารของพี่ชายลอยมาตามน้ำ ทำให้คิดว่า “อันตรายคงจะเกิดมีแก่พี่ชายของตน” จึงพร้อมด้วยบริวารรีบมาที่สำนักของพี่ชาย เห็นพี่ชายอยู่ในเพศพระภิกษุ จึงสอบถามได้ความว่า “พรหมจรรย์นี้ประเสริฐยิ่งนัก” จึงพากันลอยบริขารลงในแม่น้ำแล้วขออุปสมบทด้วยกัน ทั้งหมด
 
=== พระพุทธเจ้าทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร ===
[[ไฟล์:Gayasisa1.jpg|200px|thumb|left|[[คยาสีสะ]] (หรือเขาพรหมโยนีตามตำนานของฮินดู) สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่หมู่ภิกษุชฏิล 1,003 รูปจนสำเร็จพระอรหันต์ทั้งหมด]]
พระพุทธองค์ ประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พอสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว จึงเสด็จพร้อมด้วยหมู่ภิกษุชฎิลเหล่านั้น จำนวน 1,003 รูป ไปยัง ตำบลคยาสีสะ และประทับอยู่ ณ ที่นั้น ทรงพิจารณาเห็นอินทรีย์ของภิกษุใหม่ แก่กล้าแล้ว จึงตรัสเรียกท่านเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกันแล้วตรัสพระธรรมเทศนา “[[อาทิตตปริยายสูตร]]” ทรงเปรียบเทียบสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อนดุจเดียวกับไฟ เพื่อให้เหมาะสมกับอัธยาศัยของพวกเธอ ที่เคยบูชาไฟมาก่อน
 
เส้น 62 ⟶ 99:
 
 
=== พระอุรุเวลกัสสปะเถระ ตามเสด็จโปรดพระเจ้าพิมพิสารและช่วยประกาศศาสนา ===
พระอุรุเวลกัสสปะ เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้ช่วยกิจการพระพุทธศาสนา และช่วยแบ่งเบาภาระของพระบรมศาสดา ได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ใหม่ ๆ ได้ติดตามเสด็จพระบรมศาสดาไปสู่เมืองราชคฤห์ พระพุทธองค์ประทับณ ลัฏฐิวันสวนตาลหนุ่ม พระเจ้า พิมพิสารทรงทราบ จึงพร้อมด้วยพราหมณ์ และคฤหบดีชาวเมืองมคธ จำนวน 12 นหุต เสด็จเข้ามาเฝ้า กราบถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วปะทับนั่ง ณ ที่อันสมควรแก่พระองค์ ส่วนบริวารที่ติดตามมาเหล่านั้น ต่างก็แสดงกิริยาอาการต่าง ๆ กัน คือ บางพวกก็ถวายบังคม บางพวกก็กราบทูลสนทนา บางพวกก็ประกาศชื่อและตระกูลของตน บางพวกก็นั่งเฉย ๆ เป็นต้น
 
เส้น 68 ⟶ 105:
จากกิริยาอาการและถ้อยคำของพระเถระนั้น ทำให้บริวารของพระเจ้าพิมพิสารทั้งหมดเหล่านั้นหายสงสัย น้อมจิตลงที่ฟังพระธรรมเทศนา ดังนั้น พระบรมศาสดา จึงทรงแสดง “[[อนุปุพพิกถา]]” และ “[[อริยสัจ 4]]” ให้ฟังเมื่อจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวาร 11 นหุตะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ส่วนอีก 1 นหุตะ ดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ
 
== บั้นปลายชีวิต ==
ท่านดำรงอายุสังขารสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน (รายละเอียดไม่มีกล่าวไว้)
 
== อ้างอิง ==
# ชีวประวัติพุทธสาวก ประวัติพระอัจฉริยะมหาเถระเมื่อครั้งพุทธกาล เล่ม 1 จำเนียร ทรงฤกษ์ , 2542 , พิมพ์โดยสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว (สาขาวัดปากน้ำ), พิมพ์โดย สำนักพิมพ์ธรรมสภา
# [http://www.84000.org/one/index.shtml เว็บไซต์ 84000]
# [http://www.dharma-gateway.com/monk-specialist-index-page.htm เว็บไชต ธรรมะ เกตเวย์]
[[หมวดหมู่:พระอสีติสาวก|อุรุเวลกัสสปะ]]
{{เอตทัคคะบุคคล}}