ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กถาวัตถุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{พระไตรปิฎกเถรวาท}}
'''คัมภีร์กถาวัตถุ''' เป็นคัมภีร์หนึ่งใน[[พระอภิธรรม]]เจ็ดคัมภีร์ แถลงวินิจฉัยทัศนะต่างๆ ที่ขัดแย้งกันระหว่างนิกายทั้งหลาย สมัย[[สังคายนา]]ครั้งที่สาม '''กถาวัตถุ'''ได้รับขนานนามจากเหล่านักปรัชญาว่าเป็นไข่มุขแห่งปรัชญาตะวันออก เพราะในกถาวัตถุแบ่งเป็น 2 ส่วน คือกถาวัตถุบริสุทธิ์ (ของพระพุทธเจ้า) และที่เติมมาในภายหลังเมื่อครั้งสังคยนาครั้งที่สาม กถาวัตถุส่วนที่บริสุทธินั้นมีลักษณะไม่ใช่แบบโฆษณาชวนเชื่อใดๆ เพราะเป็นหลักตรรกะศาสตร์ล้วน มีลักษณะ ตรัสบอกเรื่องกลไกของภาษา เช่น เท็จ ใน จริง มาวางก็จะได้เท็จในจริง จริงในเท็จ เท็จในเท็จ จริงในจริง ถ้าเราใส่ของ เท็จของจริง ใส่หลัง เท็จหลังจริง เป็นต้น จึงไม่มีลักษณะโน้มน้าวใดๆเลย แม้แต่เรื่องของเหตุผล
 
== กถาวัตถุ 10 ==
 
'''กถาวัตถุ 10''' หมายถึง เรื่องที่ควรพูด เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ ได้แก่
# '''อัปปิจฉกถา''' เรื่องความมักน้อย ถ้อยคำที่ชักชวนให้มีความปรารถนาน้อย
# '''สันตุฏฐิกถา''' เรื่องความสันโดษ ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ไม่ชอบฟุ้งเฟ้อหรือปรนปรือ
# '''ปวิเวกกถา''' เรื่องความสงัด ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายใจ
# '''อสังสัคคกถา''' เรื่องความไม่คลุกคลี ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
# '''วิริยารัมภกถา''' เรื่องการปรารภความเพียร ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำความเพียร
# '''สีลกถา''' เรื่องศีล ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล
# '''สมาธิกถา''' เรื่องสมาธิ ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น
# '''ปัญญากถา''' เรื่องปัญญา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา
# '''วิมุตติกถา''' เรื่องวิมุตติ ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์
# '''วิมุตติญาณทัสสนกถา''' เรื่องความรู้ความเห็นในวิมุตติ ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจ และเข้าใจเรื่องความรู้ ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้น จากกิเลสและความทุกข์
 
== ดูเพิ่ม ==