ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sitplay (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
อายเขา; แจ้งตรวจลิขสิทธิ์
บรรทัด 1:
{{ตรวจลิขสิทธิ์}}
{{รอการตรวจสอบ}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Microscope-IMG 0518.jpg|thumb|กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน]]
 
'''กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน''' หรือ({{lang-en|Electron E.M.microscope}}) ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อปี [[พ.ศ. 2475]] ใน[[ประเทศเยอรมันเยอรมนี]] โดยนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่านคน คือ แมกซ์ นอลล์ และ เอิร์นท์ รุสกา เป็น[[กล้องจุลทรรศน์]]ที่ใช้ลำ[[อิเล็กตรอน]]แทนแสงธรรมดา กล้องแบบนี้มีหลักการทำงานคล้ายกับกล้องจุลทรรศน์ชนิดใช้แสง แต่แตกต่างกันที่ส่วนประกอบภายใน กล่าวคือ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะใช้ลำอิเล็กตรอนซึ่งมีขนาดเล็กมากวิ่งผ่านวัตถุและโฟกัสภาพลงบนจอเรืองแสง เลนส์ต่าง ๆ ในกล้องจะใช้ขดลวดพันรอบ ๆ แท่งเหล็กอ่อน เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะเกิด[[สนามแม่เหล็ก]]ขึ้น ซึ่งสนามแม่เหล็กจะผลักกับประจุของอิเล็กตรอน ทำให้อิเล็กตรอนเบี่ยงเบนไปสู่เป้าหมายได้
 
== '''ระบบเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน''' ==
ใช้เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์แก้วในกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้านั้นประกอบด้วยขดลวดพันรอบแท่งเหล็ก เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น ซึ่งทำให้ลำแสงอิเล็กตรอนเข้มข้นขึ้นเพื่อไปตกอยู่ที่วัตถุที่ต้องการศึกษา เลนส์ของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนนั้นประกอบด้วย เลนส์รวมแสง และโปรเจกเตอร์ เลนส์ โดย โปรเจกเตอร์เลนส์นั้นมีหน้าที่ฉายภาพ จากตัวอย่างที่ต้องการศึกษาลงบนจอภาพ ซึ่งจอภาพจะฉาบด้วยสารเรืองแสง เมื่อลำแสงอิเล็กตรอนตกบนจอภาพจะทำให้เกิดการเรืองแสงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นผู้ศึกษาจึงสามารถมองเห็นภาพบนจอและสามารถบันทึกภาพนั้นด้วยกล่องถ่ายรูปซึ่งประกอบอยู่ในกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนได้
 
== '''แหล่งกำเนิดลำแสงอิเล็กตรอน''' ==
แหล่งกำเนิดลำแสงอิเล็กตรอน คือ ปืนยิงอิเล็กตรอน ซึ่งมีลักษณะเป็นขดลวดตัววีทำจากทังสเตน อิเล็กตรอนจะถูกปล่อยออกมาหลังจากผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวด เนื่องจากอิเล็กตรอนมีขนาดเล็กมาก จึงต้องมีการดูดอากาศออกจากตัวกล้องให้เป็นสุญญากาศ เพื่อป้องกันการรบกวนของลำแสงอิเล็กตรอน และเพื่อป้องกันการเกิดการหักเห เนื่องมาจากการชนกันของมวลอากาศกับลำแสงอิเล็กตรอน
 
== '''ชนิดของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน''' ==
ในปัจจุบันกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมี 2 ชนิด
# กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน (Transmission Electron microscope) หรือเรียกแบบย่อว่า TEM ซึ่งคิดค้นโดย เอิร์นส์ท รุสกา ในปีพ.ศ. 2475 ใช้ศึกษาโครงสร้างภายในของ[[เซลล์]] โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องผ่านเซลล์หรือตัวอย่างที่ต้องการศึกษาซึ่งผู้ศึกษาต้องเตรียมตัวอย่างให้ได้ขนาดบางเป็นพิเศษ
# กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (Scanning Electron microscope) หรือเรียกแบบย่อว่า SEM ซึ่งคิดค้นโดยเอ็ม วอน เอนเดนนี่ สร้างสำเร็จในปีพ.ศ. 2481 ใช้ศึกษาโครงสร้างของผิวเซลล์หรือผิววัตถุ โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องกราดไปบนผิวของวัตถุ ทำให้ไดเภาพที่มีลักษณะเป็น 3 มิติ
 
[[หมวดหมู่:ทัศนศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:อุปกรณ์วิทยาศาสตร์]]