ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความประมาทเลินเล่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zambo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Zambo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
ผู้กระทำการโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ({{lang-en|gross negligence}}) กฎหมายไม่อภัยให้เลย และจะเรียกร้องใด ๆ ก็มิได้ด้วย เช่น ผู้ได้รับความเสียหายจากการทำสัญญาซื้อขาย โดยที่ตอนทำสัญญานั้นไม่อ่านข้อความในหนังสือสัญญาให้ถี่ถ้วนก่อน เป็นต้น
 
[[ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์)]] ผู้เขียนพจนานุกรมกฎหมายเล่นแรกของ[[ประเทศไทย]] ว่า
 
<blockquote>"ประมาท ตามธรรมดาหมายถึง กิริยาที่กระทำลงโดยมิได้ตั้งใจจะให้เกิดผลเช่นนั้น แต่ได้กระทำการอย่างใดซึ่งคนธรรมดาจะไม่กระทำ หรือละเว้นกระทำการอย่างใดซึ่งคนธรรมดาจะกระทำ จนเกิดผลอันเนื่องจากการกระทำนั้น</blockquote>
บรรทัด 9:
<blockquote>ผู้ใดกระืทำลงโดยความประมาท อาจจะต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายก็ได้ ไม่อาจต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายก็ได้ เช่น ผู้ที่ขับรถโดยไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างธรรมดา ขับรถไปทับคนเข้า ผู้ขับจะต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าผู้ใดเดินหลับตาจะไปยังที่แห่งหนึ่ง แต่กลับเดินลงไปในคลอง ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะฉะนั้น การประมาทที่จะใช้ได้ตามกฎหมายนั้น หมายถึง ผู้ใดมีหน้าที่ใช้ความระวังตามกฎหมาย ผู้นั้นไม่ใช้ความระวัง กลับกระทำผิดหน้าที่ กระทำให้ผู้อื่นต้องเสียหายอันเป็นผลโดยตรงหรือใกล้ชิดกับเหตุ โดยที่ผู้กระทำมิได้ตั้งใจจะให้เกิดผลเช่นนั้น...</blockquote>
 
คำว่า "ประมาทเลินเล่อ" เป็นคำีที่ใช้ในทาง[[กฎหมายแพ่ง]] ส่วนทางอาญาจะใช้ว่า "[[ความประมาท|ประมาท]]" ({{lang-en|recklessness}}) เฉย ๆ
 
== อ้างอิง ==
{{เริ่มอ้างอิง}}
* [[ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์)]]. (2549). ''พจนานุกรมกฎหมาย.'' (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : วิญญูชน. หน้า 202-204.
* [[ราชบัณฑิตยสถาน]]. (2544). ''พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน.'' (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. หน้า 219.
* [[ราชบัณฑิตยสถาน]]. (2546). ''พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.'' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <[http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp คลิก]>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).