ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
หลวงอัคนีนฤมิตร ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น หลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี): ใส่ชื่อจริงด้วย
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''หลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร)''' หรือ '''นายจิตร''' หรือ '''ฟรานซิส. จิตร''' ([[พ.ศ. 2373]] - [[23 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2434]] <ref name="sarakadee">[http://www.sarakadee.com/feature/2002/03/francis.htm ฟรานซิส. จิตร ช่างภาพผู้ยิ่งใหญ่] เอนก นาวิกมูล, สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๔ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ </ref>) เป็นช่างภาพอาชีพคนแรกชาวไทย เป็นผู้เปิดร้านถ่ายรูปขึ้นเป็นแห่งแรก ในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] เมื่อ [[พ.ศ. 2406]] บริเวณเรือนแพหน้า[[วัดกุฎีจีน]] [[ฝั่งธนบุรี]] (ปัจจุบันคือ [[วัดซางตาครูซ]]) ร่วมกับนายทองดี บุตรชาย ชื่อ ร้านฟรานซิศจิตรแอนด์ซัน <ref name="sarakadee"/>
 
นายจิตรเป็นบุตรของนายตึงซึ่งเป็นทหาร แต่ไม่ทราบชื่อมารดา<ref name="เอนก">เอนก นาวิกมูล. ภาพเก่าเล่าตำนาน:หลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)ช่างถ่ายรูปอาชีพคนแรกของไทย. '''ศิลปวัฒนธรรม'''. ปีที่ 17 เล่ม 5 มีนาคม 2539. หน้า 128 </ref> นายจิตรเรียนรู้วิชาการถ่ายรูปจาก [[บาทหลวงหลุยส์ ลาร์นอดี]] (L' abbe Larnaudie) <ref>{{user:2T/ref/ลิ้นชักภาพเก่า}}</ref> และนาย[[จอห์น ทอมสัน]] <ref>{{user:2T/ref/ฝรั่งในเมืองสยาม}}</ref> ช่างภาพชาว[[อังกฤษ]]ที่เดินทางเข้ามาถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์ [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และ[[เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์]] ขณะทรงพระเยาว์ และพระฉายาลักษณ์ของพระบรมวงศานุวงศ์
 
ภาพถ่ายฝีมือนายจิตร มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ คือ ภาพมีสีเหลืองหรือน้ำตาล ดูไม่คมชัด เนื่องจากน้ำยาอัดรูป ต่างจากภาพของช่างภาพร่วมสมัย เช่นภาพของนายจอห์น ทอมสัน ซึ่งมีลักษณะสีเข้ม คมชัด ผลงานถ่ายภาพของนายจิตร มีทั้งพระบรมฉายาลักษณ์ พระฉายาลักษณ์ ภาพถ่ายของขุนนาง ข้าราชการ วัด วัง บ้านเรือน และภาพเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ห้องบุรฉัตร ชั้น 2 [[กองจดหมายเหตุแห่งชาติ]] <ref>{{user:2T/ref/100ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์}}</ref>
บรรทัด 11:
นายจิตร ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ ในรัชกาลที่ 5 <ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกใน จดหมายเหตุแลนิราศลอนดอน ว่า "ขุนฉายาทิศลักษณ"</ref> และได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์และตำแหน่งเป็น หลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป ในปี พ.ศ. 2423
 
หลวงอัคนีนฤมิตร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ [[23 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2434]] ด้วยโรคอหิวาต์<ref name="เอนก"/> รวมอายุได้อายุ 61 ปี เป็นต้นสกุล "จิตราคนี"