ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองไทยรายสัปดาห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.; ซับซ้อนซ่อนเงื่อนจริง ๆ
บรรทัด 1:
[[ภาพไฟล์:YellowTshirt.jpg|thumb|เสื้อเหลืองของ เมืองไทยรายสัปดาห์]]
[[ภาพไฟล์:1171620279.jpg|thumb|200px|right|รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ เมื่อครั้งออกอากาศทางช่อง 9]]
 
'''เมืองไทยรายสัปดาห์''' เป็นรายการวิเคราะห์ประเด็นข่าวที่น่าสนใจในรอบสัปดาห์ ดำเนินรายการโดย นาย[[สนธิ ลิ้มทองกุล]] และ นางสาว[[สโรชา พรอุดมศักดิ์]] เริ่มออกอากาศเมื่อปี [[พ.ศ. 2546]] ทางสถานีโทรทัศน์[[โมเดิร์นไนน์ ทีวี|โมเดิร์นไนน์ ทีวี ]] ต่อมา กลางเดือนกันยายน [[พ.ศ. 2548]] ได้ถูกระงับจากทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้ดำเนินรายการได้วิจารณ์รัฐบาล โดยโยงไปถึงสถาบันเบื้องสูง{{อ้างอิง}} โดยผู้ผลิตได้เปลี่ยนชื่อรายการเป็น '''เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร''' และได้เปลี่ยนชื่อรายการอีกครั้ง เป็น ''' เมืองไทยรายสัปดาห์ คอนเสิร์ตการเมือง''' ซึ่งเป็นการจัดรายการนอกสถานที่ มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม [[ASTV]] [[NEWS1]] และผ่านทาง[[อินเทอร์เน็ต]]
 
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ได้มีการขายเสื้อทีม สำหรับผู้ที่สนับสนุนรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ เป็นเสื้อยืด แขนสั้นและแขนยาว สีเหลืองและสีขาว โดยมีข้อความเขียนบนหน้าอกว่า "เราจะสู้ เพื่อในหลวง" และหลังจากนี้ ก็มีเสื้อรุ่นต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ยามเฝ้าแผ่นดิน เอาประเทศไทยของเราคืนมา และอื่นๆอีกมากมาย
 
== ประวัติ ==
รายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์" ได้เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อ [[4 เมษายน]] [[พ.ศ. 2546]] ทาง[[โมเดิร์นไนน์ทีวี]] ออกอากาศทุกคืนวันศุกร์ เวลา 21.00 - 22.00 น. ในระยะแรก โดยลักษณะแรก จะเป็นการออกอากาศเสนอเรื่องราวการสนทนา การแพร่ข้อมูลสถานการณ์ต่างๆต่าง ๆ และมีการพูดคุยเรื่องราว ที่เกี่ยวกับสาระต่างๆต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์, ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบไทย โดยในอดีต รายการจะเสนอในแนววาไรตี้มากกว่า (ซึ่งคล้ายคลึง รายการ"เมืองไทยรายวัน" ที่ถูกผลิตรายการโดยบริษัทเดียวกันกับ รายการเมืองไทยรายสัปดาห์) ต่อมา ในวันที่ [[4 กรกฎาคม]] ในปีเดียวกัน ทางรายการได้เปลี่ยนลักษณะรายการ มาเป็นการสนทนาที่หนักในด้านการเมืองส่วนใหญ่ โดยยังคงออกอากาศทุกวันศุกร์เหมือนเดิม (ตั้งแต่เดือน เมษายน พ.ศ. 2547 แต่เปลี่ยนไปออกอากาศในเวลา 22.05 - 23.00 น.) ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา โดยได้ออกรายการครั้งสุดท้ายเมื่อ [[9 กันยายน]] [[พ.ศ. 2548]] และหลังจากนั้นทาง [[บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)]] ได้สั่งให้ระงับรายการนับแต่นั้นมา
 
รายการ เมืองไทยรายสัปดาห์ ผลิตโดย บริษัท [[ไทยเดย์ ดอตคอม จำกัด]] บริษัทในเครือ [[หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ]] ภายหลังจากที่ถูกยกเลิก ในช่วงกลางเดือนกันยายน 2548 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร" โดยได้จัดทำนอกสถานที่ โดยออกอากาศทุกวันศุกร์เวลา 18.00 - 20.30 น. ในครั้งแรกๆแรก ๆ จัดขึ้นที่ หอประชุม[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ในครั้งหลังต่อมา ย้ายสถานที่ไปจัดที่ ลุมพินีสถาน เวทีลีลาศ [[สวนลุมพินี]] นอกจากนี้ ยังมีการจัดโทรทัศน์ให้ประชาชนได้ชมการถ่ายทอดสดรายการ ตามศูนย์ข่าว [[หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ]] ประจำจังหวัดต่างๆ โดยสามารถชมผ่านทาง สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ช่อง [[ASTV]] NEWS1 หรือรับฟังได้ทาง[[วิทยุ]] หรือทางอินเทอร์เน็ต
 
และต่อมา รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองไทยรายสัปดาห์คอนเสิร์ตการเมือง” ซึ่งยังคงเสนอข่าวในแง่เดิม แต่ได้เพิ่มรายการข่าวของ [[อัญชลี ไพรีรัก]] และ ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที, รายการ “รู้ทัน...ทักษิณ” ของ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง รักษาการ ส.ว.กรุงเทพฯสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และปิดท้ายด้วย รายการ เมืองไทยรายสัปดาห์ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 17.00-23.00 น. แต่หลังจากที่มีงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ก็ได้กลับมาออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 17.00-22.00 น. ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2549 โดยจะมีสถานีข่าวสวนลุม วงดนตรีต่างๆ และรายการเมืองไทยรายสัปดาห์เช่นเดิม โดยสามารถรับชมและรับฟังได้ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV NEWS 1, คลื่นวิทยุ F.M.97.75 คลื่นยามเฝ้าแผ่นดิน (http://www.managerradio.com/), ทางเว็บไซต์ผู้จัดการ และทางเครือข่ายวิทยุชุมชนบางคลื่น
 
== ประเด็นข่าว ==
ประเด็นพูดคุยจะเปลี่ยนไปในแต่ละสัปดาห์ ขึ้นกับข่าวเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยในช่วงเดือน ตุลาคม 2548 - กันยายน 2549 หัวข้อการพูดคุยได้เน้นไปในทางด้านการวิจารณ์พฤติกรรมของ[[ทักษิณ ชินวัตร]] นายกรัฐมนตรี และ การทำงานของรัฐบาลขณะนั้น หลังจากมีการปฏิรูปการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 รายการยังคงเน้นประเด็นการเมืองตามสถานการณ์ปัจจุบัน มีการวิจารณ์การทำงานของ[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ]] (คมช.) และรัฐบาลชุดใหม่ ดังเช่นที่เคยวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลที่ผ่านมา
 
== รายการยามเฝ้าแผ่นดิน ==
หลังจาก[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] ได้ยึดอำนาจ [[ทักษิณ ชินวัตร]]แล้ว รูปแบบรายการก็ยังคงดำเนินการวิจารณ์ถึงการทุจริตของรัฐบาลชุดที่แล้ว รวมทั้ง ผู้ดำเนินรายการยังเดินสายไปยังต่างประเทศ เพื่อชี้แจงถึงสาเหตุการปฏิรูป รวมทั้งเปิดเผยถึงความมิชอบในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลชุดที่แล้ว ให้ต่างประเทศรับทราบ รวมทั้งนอกจากจะมี [[สนธิ ลิ้มทองกุล]] และ [[สโรชา พรอุดมศักดิ์]] ดำเนินรายการแล้ว ยังมีผู้ดำเนินรายการรับเชิญ อาทิ ดร.[[เสรี วงศ์มณฑา]], อ.[[เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง]], [[การุณ ไสงาม]] เป็นต้น โดยในระหว่างมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก ผู้ดำเนินรายการได้ยกเลิกการจัดรายการในลักษณะการชุมนุมไว้ชั่วคราว แต่จะจัดในห้องส่งของสถานีแทน
 
ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2550 สนธิ ลิ้มทองกุลและทีมงาน ได้เปลี่ยนชื่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ไปเป็น รายการ '''ยามเฝ้าแผ่นดิน''' โดยออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ทางสถานีวิทยุผู้จัดการและโทรทัศน์ ASTV และในเดือนกุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ได้มีการต่อสัญญาณไปออกอากาศทาง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย]] [[กรมประชาสัมพันธ์]] แต่ออกอากาศได้เพียง 2 สัปดาห์ (14-27 ก.พ.) เท่านั้น กลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท. [[ทักษิณ ชินวัตร]]ได้เรียกร้องให้ถอดรายการนี้ออก เนื่องจากหาว่าไม่เป็นกลางและใส่ร้าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สร้างความอึดอัดใจให้แก่ พล.อ.[[สุรยุทธ์ จุลานนท์]] นายกรัฐมนตรี ซึ่งนายสนธิก็ได้เป็นฝ่ายถอนรายการออกไปเอง โดยภายหลังนายสนธิกล่าวว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้โทรศัพท์มาบอกให้ตนถอดรายการนี้ออกไป{{อ้างอิง}}
 
ต่อมา รายการยามเฝ้าแผ่นดิน ยังคงออกอากาศในเวลาเดิม ทุกวันจันทร์-ศุกร์ โดยนายสนธิจะเป็นผู้ดำเนินรายการเองเฉพาะวันศุกร์ ด้วยเหตุผลเรื่องสุขภาพ ส่วนวันอื่นๆอื่น ๆ ให้ผู้อื่นดำเนินรายการแทน เช่น [[คำนูณ สิทธิสมาน]], [[ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์]], [[สโรชา พรอุดมศักดิ์]] เป็นต้น และกลับมารายการ ยามเฝ้าแผ่นดินอีกครั้ง เมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552 แทน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
 
== รายการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ==
ก่อนที่[[การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551|พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะชุมนุมอีกครั้งในวันที่ 25 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2551]] รายการยามเฝ้าแผ่นดินออกอากาศเมื่อครั้งสุดท้ายเมื่อวันศุกร์ที่ [[23 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2551]] และตลอดระยะเวลาการชุมนุม รายการนี้ก็มิได้มีขึ้นอีกเลย จนกระทั่งการชุมนุมอย่างยาวนานถึง 193 วันยุติลง รายการนี้ก็มีขึ้นอีกครั้งในห้องส่งของ ASTV อีกเช่นเคย และได้เปลี่ยนชื่อรายการใหม่เป็น รายการ '''พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย''' โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกจะเป็นการพูดคุยกับแกนนำหรือแนวร่วมพันธมิตรฯพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และช่วงที่ 2 จะเป็นการแสดงดนตรีของวงดนตรีหรือศิลปินต่าง ๆ ที่เคยขึ้นเวทีในการชุมนุมมาแล้ว
 
ปัจจุบัน รายการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จัดขึ้นเฉพาะวันศุกร์ในเวลาเดิม โดยเป็นการจัดนอกห้องส่งภายในบริเวณ[[บ้านเจ้าพระยา]] ในลักษณะของการชุมนุมย่อย
 
== ดูเพิ่ม ==