ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพไฟล์:ปางทุกรกิริยา2.jpg|thumb|200px|พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา]]
 
'''ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา''' เป็นชื่อเรียก[[พระพุทธรูป]]ในลักษณะอิริยาบทนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย มองเห็นพระวรกายซูบผอมจนพระอัฐิ (กระดูก) และพระนหารุ (เส้นเอ็น) ปรากฏ ลักษณะพระวรกายผ่ายผอมเห็นหนังติดกระดูก
 
== ประวัติ ==
[[การบำเพ็ญทุกรกิริยา]] (กิริยาที่ทำได้โดยยาก ได้แก่การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ ด้วยวิธีการทรมานตนด้วยวิธีต่างๆ เป็นวิธีของ[[โยคี]]) หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์ (พระพุทธเจ้าก่อนบรรลุธรรม) เมื่อพระองค์ทรงศึกษาจนสำเร็จสมาบัติ 7 จากสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และสมาบัติ 8 จากสำนักอุทกดาบส รามบุตร และอุทกดาบสได้ตั้งพระบรมโพธิสัตว์ไว้ในตำแหน่งอาจารย์เสมอด้วยตนเอง แต่พระบรมโพธิสัตว์เห็นว่าวิชาที่ศึกษามายังมิใช่หนทางแห่งโพธิญาณ จึงอำลาออกจากสำนัก ทรงแสวงหาหนทาง ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มีปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ เป็นอุปัฏฐาก พระบรมโพธิสัตว์ทรงกระทำทุกรกิริยา เช่น ลดอาหารลงทีละน้อยจนถึงงดเสวย ร่างกายซูบผอม พระโลมา ( ขน ) มีรากเน่าหลุดออกมา แลเห็นพระอัฐิได้ชัดเจน ไปทั่วพระวรกาย การกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาติดต่อกันเป็นเวลา 6 ปี จนมีพระวรกายผ่ายผอมแต่ก็ยังคงไม่ได้พบหนทางหลุดพ้นจากทุกข์ได้ เพราะเป็นการปฏิบัติฝ่าย[[อัตตกิลมถานุโยค]] ในที่สุดพระองค์จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา
 
== ลักษณะพระพุทธรูป ==
<gallery>
ภาพไฟล์:ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา.jpg|ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา จากถ้ำเขาดงคะศิริ อินเดีย
ภาพไฟล์:ปางทุกรกิริยา2.jpg|พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา สมัยคันธาระ
ภาพไฟล์:FastingGandharan.jpg|ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา สมัยคันธาระด้านหน้า
ภาพไฟล์:FastingGandharanDetail.jpg|ปางบำเพ็ญทุกรกิริยสมัยคันธาระด้านหลัง
</gallery>
 
== ความเชื่อและคตินิยม ==
การสร้างพระพุทธรูปลักษณะปางทุกรกิริยานี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเพียรที่ปฏิบัติได้ยากยิ่งหาที่เปรียบไม่ได้
== อ้างอิง ==
# สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ [[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]. '''[[ตำนานพุทธเจดีย์]]'''. ธนบุรี : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
# เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
# สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
# ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล
# [http://www.dhammathai.org/pang/pang.php เว็บไซต์ธรรมะไทย]
# [http://www.lekpluto.com/index02/special06.html เว็บไซต์ เล็กพลูโต]
# [http://www.banfun.com/ เว็บไซต์ บ้านฝัน]
 
{{ปางพระพุทธรูป}}