ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำนานแทงข้างหลัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
G(x) (คุย | ส่วนร่วม)
→‎จุดกำเนิด: Fix text in first half.
G(x) (คุย | ส่วนร่วม)
→‎จุดกำเนิด: Fix text. Will translate the rest.
บรรทัด 64:
การถือกำเนิดของ "แนวคิดการลอบแทงข้างหลัง" อย่างเป็นทางการนั้นสามารถระบุเวลาได้ว่าอยู่ในช่วงกลางปี 1919 ขณะที่นายพลลูเดนดรอฟรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับนายพลของอังกฤษ เซอร์ นีล มัลคอม ซึ่งเขาได้ถามลูเดนดรอฟถึงสาเหตุที่คาดว่าเยอรมนีจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ลูเดนดรอฟได้ตอบโดยอ้างเหตุผลจากสิ่งที่เขาได้ฟังมาหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการยกเอาประเด็นของตนที่เกี่ยวข้องกับแนวหลังขึ้นมาพูดถึง เซอร์มัลคอมจึงกล่าวว่า ''"ฟังดูเหมือนท่านจะถูกแทงข้างหลังใช่ไหม"'' ประโยคดังกล่าวได้สร้างความถูกใจให้กับลูเดนดรอฟเป็นอย่างมาก เขาได้เผยแพร่ประโยคนี้ให้กับเหล่ากองเสนาธิการทหารโดยกล่าวว่านี่เป็นแนวคิดที่ "เป็นทางการ" ก่อนที่ต่อมาคำนี้จะกระจายไปสู่สังคมเยอรมนีทุกส่วน แนวคิดนี้ได้ถูกพรรคการเมืองฝ่ายขวาทั้งหลายหยิบยกมาเป็นประเด็นเพื่อโจมตีรัฐบาลของสาธารณรัฐไวมาร์ภายใต้การนำของพรรคเอสพีดี นับตั้งแต่การขึ้นสู่อำนาจภายหลัง[[การปฏิวัติเยอรมนี]] ในเดือนพฤศจิกายน 1918
 
ในเดือนพฤศจิกายน 1919 สมาชิกสมัชชาแห่งไวมาร์ได้แต่งตั้งชุด ''Untersuchungsausschuß für Schuldfragen'' ขึ้นเพื่อสืบหาสาเหตุของสงครามโลกและปัจจัยที่นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของเยอรมนี ในวันที่ [[18 พฤศจิกายน]] จอมพลฮินเดนเบิร์กได้ให้การยืนยันต่อหน้าคณะกรรมการของรัฐสภา และได้มีการกล่าวอ้างถึงบทความ ''Neue Zürcher Zeitung'' ในวันที่ [[17 ธันวาคม]] 1918 ซึ่งเป็นการสรุปบทความสองบทความก่อนหน้านั้นใน[[เดย์ลี่ เมล์]] ที่เขียนโดยนายพลชาวอังกฤษ [[เฟรเดอริก บาร์ตัน เมาไรซ์]] ด้วยประโยคที่ว่า กองทัพเยอรมันถูก "แทงเข้าข้างหลังโดยพลเมืองชาวเยอรมันเอง" (เมาไรซ์ปฏิเสธในภายหลังว่าเขาไม่ได้ใช้คำนั้นกล่าวถึงแนวคิดนี้แต่อย่างใด) การให้ปากคำของฮินเดนเบิร์กนี้เองที่ทำให้แนวคิดดังกล่าวแพร่กระจายไปกว้างอย่างมากในเยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
 
ส่วนทางด้านริชาร์ด สไตกมันน์-กัลล์ กล่าวว่า แนวคิดการลอบแทงข้างหลังสามารถย้อนรอยไปจนถึงการให้โอวาทของนายชัพไลน์ บรูโน โดริง เมื่อวันที่ [[3 กุมภาพันธ์]] 1918 หกเดือนก่อนหน้าสงครามจะยุติ นายบอริส บาร์ท เทียบเคียงให้เห็นนักวิชาการชาวเยอรมัน มีความเห็นแย้งกับแนวคิดของสไตกมันน์ว่าสไตกมันน์ โดยกล่าวว่า โดริงไม่ได้กล่าวถึงการลอบแทงข้างหลังแต่อย่างใด เพียงแต่กล่าวถึงการทรยศโดยทั่วไปเท่านั้น บาร์ทพบเขียนเอกสารที่กล่าวถึงแนวคิดการลอบแทงข้างหลังได้ครั้งแรกในบันทึกการประชุมของพรรคการเมืองสายกลางในมิวนิก เลอเวนบรอย-เคลเลอร์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 1918 ซึ่งเอิร์สต์ มึลเลอร์ ไมนิงเกน สมาชิกของรัฐบาลผสมชุดใหม่แห่งรัฐสภาไรซ์สทัก ได้ใช้คำดังกล่าวเพื่อปลุกใจให้ผู้ฟังมีความรู้สึกฮึกเหิม
 
<blockquote style="margin::1em;">''เมื่อการรบในแนวหน้าดำเนินไป พวกเราทุกคนซึ่งมีหน้าที่ที่จะรักษาบ้านเกิดเมืองนอนเอาไว้ เราทุกคนนั้นควรจะมีความละอายในตนเองต่อหน้าลูกและหลานของเราถ้าหากว่าเราโจมตีทหารในแนวหน้าจากข้างหลังโดยการแทงด้วยมีด (wenn wir der Front in den Rücken fielen und ihr den Dolchstoss versetzten.)''</blockquote>
 
บาร์ทได้แสดงให้เห็นอีกว่า คำดังกล่าวเป็นที่นิยมมากในหนังสือพิมพ์เยอรมัน ฉบับหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาแสดงถึงความรักชาติที่ชื่อ ''Deutsche Tageszeitung'' และได้ที่มีการหยิบยกเอาบทความ ''Neue Zürcher'' ซึ่งเป็นคำตอบของฮินเดนเบิร์กต่อหน้าคณะกรรมการไต่สวนของรัฐสภามากล่าวอ้างอยู่บ่อยครั้ง
 
การโจมตีแนวคิดสมคบคิดของชาวยิวในประเด็นความพ่ายแพ้ของเยอรมนีนั้นส่วนใหญ่ตกอยู่กับบุคคลที่มีชื่อเสียง อย่าง [[:en:Kurt Eisner|คุร์ท ไอซเนอร์]] ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว ผู้อาศัยอยู่ในนครมิวนิก เขาได้เขียนเกี่ยวกับสงครามซึ่งผิดกฎหมายนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1916 เป็นต้นมา และนอกจากนี้เขายังมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากในการปฏิวัติมิวนิก จนกระทั่งเขาถูกลอบสังหารในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 สาธารณรัฐไวมาร์ภายใต้การนำของ [[ฟรีดริช อีเบิร์ต]] ได้ปราบปรามการก่อจลาจลของเหล่าชนชั้นแรงงานอย่างรุนแรง และปราบหน่วยทหารเสรีที่จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศเยรมัน นอกจากด้วยความช่วยเหลือจากกุสตาฟ นอร์เก และนายพลแห่งกองกำลังป้องกันแห่งชาติ วิลเฮม โกรเนอร์ แม้ว่าการโจมตีนั้นจะมีการรับฟังความเห็นของผู้อื่นก็ตาม กฎหมายแต่ความชอบธรรมของสาธารณรัฐไวมาร์ยังนั้นก็ได้ถูกโจมตีในเรื่องโดยมีการกล่าวอ้างประเด็นการลอบแทงข้างหลัง โดยผู้แทนดังกล่าวของหน่วยทหารเสรีจำนวนมาก อย่างเช่น มัททิอัส เออร์ซเบอร์เกอร์ และวัลเทอร์ ราเทอนาว ถูกลอบสังหาร ผู้นำของกลุ่มถูกตราหน้าว่าเป็นอาชญากร และชาวยิว โดยสื่อ[[ฝ่ายขวา (การเมือง)|ฝ่ายขวา]]ของ [[อัลเฟรด ฮูเกนเบิร์ก]]
 
== อรรถอธิบายในสหรัฐอเมริกา ==