ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บางระจัน (ภาพยนตร์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 50:
บางระจันฉบับภาพยนตร์เรื่องนี้ ตัดคำว่า "ศึก" ออกไป เหลือแต่ "บางระจัน" อย่างเดียวเพื่อเน้นถึงความเป็นสถานที่ อีกทั้งชื่อของชาวบ้านที่เคยรับรู้ว่าขึ้นต้นด้วยคำว่า "นาย" กลายเป็น "อ้าย" หรือ "อี" เพื่อความสมจริงสำหรับการใช้ภาษาให้คล้องจองกับยุคสมัยนั้น
 
เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉาย กลายเป็นภาพยนตร์ยอดนิยมภายในเวลาไม่นาน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ว่า คงเป็นด้วยการที่เป็นวีรกรรมของบุคคลระดับชาวบ้านจึงง่ายต่อการเข้าใจและในช่วงเวลานั้นใกล้จะถึง[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2544|การเลือกตั้ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544]] ซึ่งเป็นการเลือกตั้งใหม่ครั้งแรกของ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540|รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540]] ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมร่างมากที่สุด {{อ้างอิง}} ทำให้ภาพยนตร์ได้รายได้มหาศาลถึง 150.4 ล้านบาท จนต้องมีการตัดต่อใหม่ ใส่คำบรรยายเป็น[[ภาษาอังกฤษ]]สำหรับคนต่างชาติ เพื่อนำไปฉายต่อในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศ
 
เป็นภาพยนตร์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ ธนิตย์ จิตนุกูล ผู้กำกับอีกครั้ง ซึ่งหลังจากนี้ธนิตย์ได้กำกับภาพยนตร์ในลักษณะตามมาอีกหลายเรื่อง ซึ่งก็มีทั้งประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตการแสดงของ บงกช คงมาลัย ซึ่งต่อมากลายเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียง เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้ให้กับ วินัย ไกรบุตร นักแสดงชายจนได้รับฉายาว่า ''"พระเอกร้อยล้าน"'' หลังจาก[[นางนาก]] ในปี [[พ.ศ. 2542]] และเมื่อนำออกฉายต่างประเทศ เป็นที่ชื่นชอบของ [[โอลิเวอร์ สโตน]] ผู้กำกับฮอลลีวู้ด และได้ติดต่อ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ที่รับบทอ้ายทองเหม็น มารับบทเป็นพระราชาอินเดีย ในภาพยนตร์กำกับของตัวเอง คือ [[อเล็กซานเดอร์ มหาราชชาตินักรบ|Alexander]] เมื่อยกกองถ่ายมาที่เมืองไทยอีกด้วย