ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กันยา เทียนสว่าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
'''กันยา เทียนสว่าง''' [[นางสาวไทย|นางสาวสยาม]] [[พ.ศ. 2477]] มีนามสกุลจริงคือ เจียเป็งเซ็ง มีชื่อเล่นว่า "ลูซิล" เป็นธิดาของ นายสละ และนางสนอม แม่เธอมีเชื้อสาย[[มอญ]] บิดาของเธอทำงานเป็นนายท่าเรืออยู่ที่ท่าเขียวไข่กา [[บางกระบือ]] พระนคร เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2457 ที่บ้านปากเกร็ด [[จังหวัดนนทบุรี]] เธอเป็นลูกคนโตในพี่น้องทั้งหมด 5 คน ด้วยเหตุที่หน้าตาคมคาย จมูกโด่งเหมือนฝรั่ง พ่อแม่จึงตั้งชื่อให้ว่า “ลูซิล” เธอได้รับการศึกษาจาก[[โรงเรียนวัดสังเวช]] [[โรงเรียนราชินี]] และ[[โรงเรียนสตรีวิทยา]] เมื่ออายุ 10 ปีแม่เธอก็จากไป เธอได้รับการอุปการะจากน้าชาย เข้าประกวดนางสาวสยามเมื่อมีอายุ 21 ปี ขณะนั้นทำงานเป็นครูอยู่ในโรงเรียนประชาบาลทารกานุเคราะห์ ได้ 4 ปีแล้ว
 
ในการประกวด นางสาวสยาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[งานฉลองรัฐธรรมนูญ]] ที่ทางรัฐบาลจัดขึ้น ซึ่งในปี พ.ศ. 2477 ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญปีที่สอง แต่เริ่มจัดการจัดประกวดเป็นปีแรก การประกวดความงาม มิติใหม่ของงานฉลองรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ดูจะเป็นจุดรวมความสนใจของประชาชนมากที่สุด ด้วยเป็นของใหม่และสีสันอันชวนตื่นตา [[หนังสือพิมพ์ประชาชาติ]]ทยอยลงข่าวคราวการประกวดในครั้งนี้อย่างต่อเนื่อง การจัดงานครั้งนี้มีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดำเนินการ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานอันประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นและมีคณะกรรมการตัดสิน อันได้แก่ [[พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา]]และ [[เจ้าพระยารามราฆพ]] เป็นต้น ได้รับการดูแลเรื่องการแต่งกาย และการประกวด โดย[[หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา]] ซึ่งกันยา เทียนสว่าง ได้ตำแหน่งนางสาวพระนคร มาก่อนในคืนวันที่ 9 ธันวาคม และเป็นตัวแทนจังหวัดพระนครเข้าประกวดนางสาวสยามในคืนวันที่ 10 ธันวาคม และตัดสินในคืนวันที่ 12 ธันวาคม รางวัลที่ได้มี[[มงกุฎ]] ทำด้วยผ้ากำมะหยี่ปักดิ้นเงิน ประดับโครงเงินและเพชร ขันเงินสลักชื่อ "นางสาวสยาม ๗๗" ล็อกเก็ตห้อยคอทองคำ(ในภาพ) เข็มกลัดทองคำลงยา อักษรว่า "รัฐธรรมนูญ ๗๗" และเงินสด 1,000 บาท แต่เงินนั้น ทางรัฐบาลขอรับบริจาคเพื่อบำรุงการทหาร การได้รับตำแหน่งของกันยาในครั้งนั้น สร้างความไม่พอใจต่อทางญาติผู้ใหญ่ในเรื่องครอบครัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากคนเชื้อสายมอญ ถือเรื่องศักดิ์ศรี และถือว่าการกระทำเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องน่าอับอาย
 
หลังพ้นจากตำแหน่ง ได้เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่[[หอสมุดแห่งชาติ]] ได้พบกับ ด็อกเตอร์สุจิต หิรัญพฤกษ์ ที่ทำงานอยู่กระทรวงต่างประเทศ พิธีแต่งงานของเธอมีขึ้นเมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2486 โดยมี[[ดิเรก ชัยนาม|นายดิเรก ชัยนาม]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ผู้บังคับบัญชาของฝ่ายชายเป็นเจ้าภาพ ณ บ้านพักของท่าน
 
ชีวิตการครองคู่ของเธอเต็มไปด้วยความรักความเข้าใจอันดีระหว่างกันและกัน เธอมีบุตรธิดา 5 คน คือ สุกันยา (นิมมานเหมินท์) , ทินกร, สุจิตรา, สุวิชา และ สุชาติ ต่อมาสามีของเธอได้เป็น[[สมาชิกผู้แทนราษฎร]]จังหวัดปทุมธานี เป็นผู้ร่วมคณะผู้แทนไทยในการนำประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิก[[องค์การสหประชาชาติ]] และร่วมประชุมสมัชชาใหญ่เป็นครั้งแรก เป็นโฆษกฝ่ายไทยประจำสำนักงานใหญ่ องค์การสหประชาชาติ และครอบครัวเธอดำเนินธุรกิจบริษัทนาคาไข่มุก ทำกิจการเพาะเลี้ยงไข่มุกที่[[เกาะนาคา]] [[จังหวัดภูเก็ต]]
 
กันยา (เทียนสว่าง) หิรัญพฤกษ์ ป่วยด้วยโรค[[มะเร็ง]]ในมดลูก เธอเดินทางไปรักษาตัวที่เยอรมันเพื่อทดลองยาที่เพิ่งค้นพบใหม่ ด้วยความหวังกำลังใจจะหายจากโรคร้าย แต่ยังไม่ทันได้ทำการรักษา สามีก็ต้องประสบมรสุมทางการเมือง เมื่อ เมษายน พ.ศ. 2502 กรณีมีข่าวว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทุจริตเรื่องการพิมพ์ธนบัตร ซึ่งสามีของเธอเป็นเลขานุการรัฐมนตรีฯ เธอรู้ว่าไม่มีโอกาสได้รักษาต่อไปแล้ว เธอจึงกลับมาเป็นขวัญกำลังใจเคียงข้างคู่ชีวิต แม้ว่าในภายหลังผลการสอบสวนจะไม่พบการกระทำผิด เพราะเนื่องจากเป็นเรื่องของการเมืองในขณะนั้น แต่กว่า[[ศาลฎีกา]]จะพิพากษาก็วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2508 เธอจึงไม่มีโอกาศเห็นสามีผู้เป็นที่รักของเธอพ้นมลทิน
 
กันยา (เทียนสว่าง) หิรัญพฤกษ์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 ในวัย 46 ปี ร่างของเธอถูกเก็บไว้ ณ สุสาน[[วัดมกุฎกษัตริยาราม]] ไว้นานถึง 21 ปี เพื่อรอการฌาปนกิจพร้อมกับการพระราชทานเพลิงศพด็อกเตอร์สุจิต คู่ชีวิตผู้เป็นที่รักเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2524