ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศรัทธาในศาสนาพุทธ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bpitk (คุย | ส่วนร่วม)
Bpitk (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
 
(จะเห็นว่าส่วนใหญ่ จะขึ้นด้วยศรัทธา และมีปัญญากำกับอยู่ด้วย)
==สัทธาเจตสิก==
ในคัมภีร์พระ[[อภิธรรม]] มีการกล่าวถึงสัทธา ในลักษณะที่เป็น[[เจตสิก]](คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า '''สัทธาเจตสิก''' มีลักษณะดังนี้ คือ
* มีความเชื่อในกุศลธรรม เป็น'''ลักษณะ'''
* มีความเลื่อมใส เป็น'''กิจ'''
* มีความไม่ขุ่นมัว เป็น'''ผล'''
* มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ เป็น'''เหตุใกล้'''
 
สัทธานี้จัดเป็นธรมเบื้องต้น ในอันที่จะทำให้บุคคล ได้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญกุศลขึ้นมา และสัทธาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ ได้แก่ พระรัตนตรัย ผลของกรรม เป็นต้น สัทธานั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้เกิดความผ่องใส ไม่ขุ่นมัว
 
เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งคความเลื่อมใสศรัทธา ได้แก่
* รูปปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม
* ลูขปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อยเคร่งในธรรมวินัย
* โฆสฺปปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้ฟังเสียงอันไพเราะ
* ธมฺมปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้สดับฟังธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง
==เอกสารอ้างอิง==
* พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
* [http://84000.org/tipitaka/dic/ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".]
* "พระอภิธัมมัตถสังคหะ".และ"อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา".