ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/ภาษา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 1906019 โดย Octahedron80 ด้วยสจห.
บรรทัด 317:
 
หาตัว[[อักษรธรรมล้านนา]]แต๊ๆได้ที่ไหนค่ะ--[[ผู้ใช้:Kammuang|กำเมือง ถ้าบ่อู้ ไผจะอู้]] 19:40, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)
 
อักษรธรรมล้านนามีหลายประเภท เเบ่งได้ใหญ่ๆ 3 ประเภท คือ
1 อักษรล้านนา(ตั๋วเมือง) ใช้สำหรับ เขียนบทความทั่วไปในชีวิตประจำวัน
2 อักษรธรรมล้านนาขอม ลักษณะคล้ายอักษรเขมร ในสมัยโบราณมักเติมศก เป็นเส้นขีดหยักๆใช้สำหรับ เขียนโคลง วรรณกรรม ต่างๆ ที่ ไม่ใช่ของล้านนาอย่างเเท้จริง
3 อักษรธรรมล้านนา เป็นลักษณะเดียวกับ อักษรล้านนา เเตกต่างกันบางพื้นที่ เเต่ไม่มาก เเล้ว ใช้ ตัวเลข เป็น เลขในธรรม ใช้สำหรับเขียน ธรรม โคลง ค่าว หรือ วรรณกรรมพื้นเมือง รวมไปถึง คาถาสวดถอนพื้นเมืองเเละ ธรรมบาลีอีกด้วย
 
ถ้าใช้คำว่า อักษรธรรม เฉยๆ จะหมายถึง อักษรธรรมอีสาน ลักษณะคล้าย ตั๋วเมือง เเตกต่างกันไม่กี่ตัว อักขรวิธีเช่นเดียวกับ ตั๋วเมือง เเละรวมไปถึงอักษรพิเศษต่างๆ ข้อยกเว้นต่างๆ นั้น คล้ายคลึงกันมาก
 
สำหรับ การหา อักษรใดอักษรหนึ่ง ให้ได้ ตัวอักษรจริงๆนั้น คงเป็นไปได้ยากครับ เพราะว่า อักษร ตั๋วเมือง นั้นผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน เเละเริ่ม หายไป ๆ นั่นย่อมนำมาซึ่งการเปลี่ยนเเปลงเรื่อยๆมาครับ เเละก็ ไม่มีกฎตายตัวอย่างที่นักภาษาศาสตร์เค้าว่ากันจริงๆครับ ยกตัวอย่าง ภาษาไทย อังกฤษ
เป็นภาษาในปัจจุบัน ที่ยังใช้ในชีวิตประจำวัน ก็ย่อมมี ชุดเเบบอักษร(ฟ้อนต์) ต่างๆ มากมาย เเต่ที่เป็นสากล มาตรฐานก็ต้องเป็น ฟ้อนต์ราชการ เเต่ฟ้อนต์ราชการ นั้นก็มีอยู่ไม่น้อยครับ เป็นเช่นเดียวกันครับ อักษรในภาษาล้านนาก็เหมือนกันครับ เเม้เเต่อักขระวิธี ก็ยังมีการเปลี่ยนเเปลง ยกตัวอย่างเช่น คำว่า ล้านนา กับ ลานนา ทีนักภาษาศาสคร์หยิบมาเป็นประเด็นว่า ตกลง ล่านนา หรือ ลานนา อันไหนถูก เเล้วก็ได้คำตอบชัดเจน ว่า
ลานนา เป็น อักขระวิธีเเบบเสื่อม (ชื่อเเบบนี้จริงๆครับ) ในโบราณไม่นิยม เขียน ไม้ผัด ไม้ซัด หรือ ไม้อะไรต่างๆนานา เขียนเพียงเพื่อพอให้อ่านออกก็เพียงพอ เเละยังลดเวลา ขนาด พื้นที่วัสดุที่ใช้เขียนได้อีกด้วย เเบบว่าเขียนใครเขียนมัน อักขระวิธีเเบบเสื่อม นั้นไม่มีเเบบเเผนเเน่นอน เเต่ใครถ้าอ่าน ตั๋วเมืองออก ก็ย่อมพออ่านออกครับ เพราะเขียนไม่ครบ อ่านยากมาก เเละยังมีอักษรพิเศษใช้เยอะมากๆ เเบบว่า เดายากมากๆ ต้องดูบริบทข้างเคียงด้วย เช่น ห + สระ อี = เหมี้ยง ร + ไม้ซัด = ฮัก วงกลมมีบวกข้างใน = เวียง อักษรเวียง หายไป 1 มุม = เวียงหวาก
เอ(สระลอย)+เอ (สระจม)= จ๊าง(ช้าง) เป็นต้น
 
คงต้องทำความเข้าใจในเรื่องเเบบนี้ก่อนครับ เเล้วต่อไปท่านจะพบว่า ภาษาไม่มีกฎตายตัว จริงๆครับ
สำหรับท่านใดที่สนใจจริงๆ ผมยินดีสอนให้ตัวต่อตัวครับ ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เเต่ต้องภายในเชียงใหม่นะครับ โทร. 0857153323
 
== ณัฐธิชา ==