ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ร้านภูฟ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mimo~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
Mimo~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
ขณะนี้ยังไม่มีผู้เขียนบทความเกี่ยวกับภูฟ้า
ขอเชิญชม[เว็บของภูฟ้า http://www.phufa.com/
 
<center>
]
== พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ==
=== การส่งเสริมอาชีพประชาชนในถิ่นทุรกันดาร ===
</center>
 
สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้ดำเนินงานโครงการพัฒนาต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดารห่างไกลคมนาคมให้มี คุณภาพชีวิตดีขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ด้วยทรงเห็นว่าประชาชนในพื้นที่เหล่านี้มีความเป็นอยู่ยากลำบาก ได้รับบริการพื้นฐานต่าง ๆ จากรัฐไม่ทั่วถึง ดังนั้นการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม จึงเป็นไปอย่างช้า ๆ และไม่เพียงพอ ทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตของประชาชนเหล่านี้ไม่เท่าเทียมกับประชาชนใน พื้นที่อื่น ๆ ในการดำเนินงานโครงการเพื่อช่วยเหลือประชาชนเหล่านี้ทรงเน้นการพัฒนาเพื่อ ช่วยแก้ไขปัญหาพื้นฐาน 4 ประการ คือ ความยากจน ปัญหาโภชนาการและสุขภาพอนามัย การขาดโอกาสทางการศึกษา และความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีความเกี่ยวกันเป็นลูกโซ่ ก่อให้เกิดความทุกข์ยากแร้นแค้นอย่างเรื้อรังแก่ประชาชน
 
โดย ที่ทรงเห็นว่าเด็กเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้มากที่สุด ดังนั้นในระยะแรกของการพัฒนา จึงทรงมุ่งพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยทรงเลือกพื้นที่ดำเนินการในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" สังกัดสำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเด็กวัยเตาะแตะในถิ่นทุรกันดาร และพื้นที่อื่น ๆ ตามพระราชประสงค์ ในกระบวนการพัฒนาให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โรงเรียนเหล่านี้จะเป็นแหล่งความรู้พื้นฐานของประชาชนที่จะนำไปพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ในครอบครัวให้ดีขึ้นพร้อมกันไปด้วย
 
ุใน แต่ละปี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานความช่วยเหลือแก่เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เป็นจำนวนเพิ่มขึ้น จนถึงปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2546) มีเด็กและเยาวชนจำนวนทั้งสิ้น 65,058 คน และมีพระราชดำริในการดำเนินงานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ไม่เพียงแต่การส่งเสริมโภชนาการดีและสุขภาพดีของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ การส่งเสริมการผลิตอาหารในพื้นที่เพื่อช่วยลดระดับความรุนแรงของปัญหาการ ขาดสารอาหาร การป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญในแต่ละพื้นที่ การเสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังทรงให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้และพัฒนาทักษะการอาชีพที่เป็นราก ฐานของพึ่งตนเองให้แก่เด็กอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากการที่มีพระราชดำริให้ดำเนินการฝึกอาชีพให้กับเด็กนักเรียน และศิษย์เก่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และจากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ ความว่า
 
"…..เมื่อกาลผ่านมา 10 ปี ความเปลี่ยนแปลงของประเทศมีมากขึ้นอย่างที่เราเห็นได้ชัด ๆ ที่เห็นเป็นตัวเลข อาจจะดูง่าย ๆ เช่น เรื่องเศรษฐกิจ การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การเจริญขึ้นของธุรกิจ เป็นต้น ถึงแม้ว่าแหล่งปฏิบัติงานของเราจะอยู่ไกล แต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รับผลกระทบ ซึ่งไม่ใช่เป็นผลกระทบที่ไม่ดีเสมอไป เป็นผลกระทบทั้งดีและไม่ดี จึงเป็นเหตุให้คิดว่า จะมีอะไรทำเพิ่มเติมในส่วนของเราได้ กับบุคคลในความอารักขาดูแลของเรา คือด้านของความรู้ความสามารถ การศึกษา เมื่อบ้านเมืองเจริญก้าวหน้ามากขึ้นก็เป็นโอกาสให้บุคคลต่าง ๆ ได้สามารถพัฒนาตัวเอง และสร้างฐานะให้ดียิ่งขึ้น บ้านเมือง เหตุการณ์เปิดโอกาสให้มีความก้าวหน้า แต่เราต้องกลับมาย้อนคิดดูว่าบุคคลในความอารักขาของเรานั้น สามารถที่จะพัฒนาก้าวหน้าไปตามโอกาสที่เปิดให้หรือเปล่า ยกตัวอย่าง เช่น ตอนนี้มีการขยายทางด้านการงานขึ้นหลาย ๆ อย่าง หลาย ๆ อาชีพ คนของเราพร้อมหรือยังที่จะสร้างฐานะที่มั่งคง มั่งคั่งขึ้นจากโอกาสหรือตำแหน่งงานที่เปิดขึ้น หรือว่าจะกลายเป็นบุคคลที่ได้รับผลกระทบในทางเสีย คือเสียโอกาสต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่เคยอยู่อย่างสงบในหมู่บ้านของตัวเอง ทำงานไป ก๊อก ๆ แกร็ก ๆ ที่ดินต่าง ๆ อาจหลุดมือไป หรือว่าอาจจะมีคนที่เขาอยู่ในระบบที่ใหม่กว่าเข้ามาให้อิทธิพลบางประการ คนของเราพร้อมหรือยัง …..ส่วนนักเรียนอีกส่วนหนึ่งนั้น เราที่ทำงานอยู่ก็คงจะรู้จักเด็กและเห็นได้ชัด ๆ ว่าบุคคล หรือเด็กเหล่านี้ จะเป็นด้วยสติปัญญาและการเตรียมความพร้อมตั้งแต่เล็กมาก็ตาม ฐานะทางเศรษฐกิจหรือว่าฐานะทางการเมืองและสังคมไม่เปิดโอกาสแน่ ๆ ให้เขาได้ไปศึกษาต่อในระดับมัธยม หรืออย่างน้อยในช่วงนี้ไม่ทันกาล ก็อยากให้อะไรกับเขา เป็นส่วนเพิ่มเติมเข้ามา แม้อาจจะเล็กน้อย แต่ก็ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือเรื่องของการฝึกฝนให้กระทำอาชีพได้….."
 
อย่าง ไรก็ตาม ทรงตระหนักว่าลำพังการพัฒนาเด็กและเยาวชนกลุ่มเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความมั่นคงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในถิ่น ทุรกันดารได้ จำเป็นต้องช่วยเหลือครอบครัวของเด็กและเยาวชนในชุมชนด้วย ทั้งในด้านสุขภาพอนามัยและการศึกษา และให้มีความพร้อมที่จะก้าวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของประเทศ โดยการให้ความรู้ และพัฒนาศักยภาพในงานอาชีพ เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนเหล่านั้นมีงานทำ มีรายได้ที่จะจุนเจือครอบครัว สามารถหาอาหารที่มีคุณค่าได้เพียงพอต่อการบริโภคของสมาชิกในครอบครัวโดย เฉพาะลูกหลาน เพื่อให้มีสุขภาพอนามัยพร้อมที่จะศึกษาเล่าเรียนเป็นคนที่มีคุณภาพของ ครอบครัวและชุมชนต่อไป ดังพระราชดำรัสความว่า "…..ในการดำเนินชีวิตของคนเรานั้น มีอยู่หลายด้านด้วยกัน ทั้งในด้านการทำมาหากิน ในด้านสุขภาพอนามัย และการศึกษา….."2 "…..เมื่อเจ็บไข้แล้ว ที่ทางที่มีอยู่ก็ต้องขายไปเป็นค่ารักษาตัว จากคนที่เป็นชนชั้นปานกลางก็กลายเป็นคนที่ยากจนข้นแค้น เป็นคนเดือดร้อนไป คนเหล่านี้ก็ไม่มีแรงที่จะทำงาน เมื่อไม่มีแรงทำงานก็จน จนก็เหมือนกับเป็นคนขี้เกียจ มันก็เป็นลูกโซ่ไปอย่างนี้….."
 
"…..จะ เห็นได้ว่าพยายามคิดส่งเสริมงานในด้านการงานอาชีพนั้นก็จะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่สำหรับนักเรียนจริง ๆ คือเด็กที่อาจจะถือว่ายังเป็นเด็กเล็ก ๆ อยู่ ก็ให้ความรู้ทางทฤษฎี แล้วก็ให้ได้ฝึกปฏิบัติให้รู้จักใช้ทักษะการใช้มือ ทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน แต่สำหรับเด็กที่โตขึ้น หรือว่าศิษย์เก่าหรือชาวบ้านนั้นก็มีความมุ่งหมายว่าจะให้สามารถทำงานอะไร บางอย่างที่จะเป็นเครื่องดำรงชีวิตหรือหารายได้ เพราะว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสได้เล่าเรียนขึ้นไปในทางสายสามัญ หรือแม้แต่สายอาชีวศึกษา ได้ขึ้นไปถึงขั้นสูง ในเรื่องของการทำมาหากินนั้น ก็อาจจะมีรายละเอียดหรือเกร็ดหลาย ๆ อย่าง แม้แต่ในเรื่องของการค้า การตลาด การสหกรณ์ เรื่องเหล่านี้ก็พยายามที่จะให้มีความรู้ แล้วก็ได้ขยายผลไปจากเด็กที่ได้รับความรู้ความชินนิสัยที่จะร่วมมือกัน หรือว่าในการประกอบอาชีพ มาเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอย่างจริงจัง….."
 
สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงมีพระราชดำริในการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ได้พระราชทานความช่วยเหลือทั้งในด้านการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือ พระราชทานเงินทุนสำหรับการดำเนินงาน การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตที่จำเป็น รวมทั้งทรงช่วยหาตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นด้วย และที่สำคัญมีพระราชดำริให้ประชาชนเหล่านี้รวมกันเป็นกลุ่มอาชีพ เพื่อให้ประชาชนร่วมมือกัน รู้จักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดทักษะในการใช้กระบวนการกลุ่มแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน เป็นการสร้างความเข้มแข็งและให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า "…..โครงการต่าง ๆ ที่เริ่มไว้ตอนนี้ก็ไม่ใช่เฉพาะแต่นักเรียน คนในชุมชน เช่น เรื่องของการฝึกหรือพัฒนาอาชีพชุมชน ซึ่งนักเรียนที่ได้เรียนได้ฝึกแล้ว ก็น่าจะได้รวมกลุ่มหรือคณะศิษย์เก่า ก็อาจจะเป็นการประกอบอาชีพต่อไป เพราะในขณะนี้คนอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไปก็มีหลายคน แม้แต่ที่จบการศึกษาระดับสูง ระดับอาชีวะหรือระดับปริญญาเสียด้วยซ้ำไป ในช่วงนี้ที่จะเข้างานสำนักงานก็อาจจะทำได้โดยยาก ก็มีทางหนึ่งที่จะต้องทำงานอิสระประกอบอาชีพ ครั้นประกอบอาชีพอิสระแต่เพียงลำพังตัวคนเดียว ก็อาจจะไม่มีทุนรอนที่จะทำได้ ต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพราะฉะนั้นในหมู่บ้าน ในชุมชนก็อาจจะเข้าร่วมได้ในเรื่องนี้….."
 
นอกจากนี้ยังทรงเน้นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการประกอบอาชีพนอกเหนือจากการมีรายได้เพิ่มขึ้น คือ ความภาคภูมิใจ ความมั่นใจในตนเอง และความมั่นคงในชีวิตต่อไป
 
ปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ เพิ่มขึ้นมาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจึงมีพระราชประสงค์ที่จะขยายการช่วยเหลือครอบครัวของเด็กและเยาวชนเหล่านี้ ให้มีโอกาสในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพหรือเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มอาชีพที่จัดตั้งอยู่แล้วให้มากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว อันจะช่วยแก้ไขและบรรเทาความรุนแรงของปัญหาพื้นฐานต่าง ๆ ที่ครอบครัวของเด็กและเยาวชนเหล่านี้ประสบอยู่ ซึ่งจะส่งความสามารถในการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเท่าเทียมกับประชาชนในพื้นที่อื่น ๆ และเป็นคนที่มีคุณภาพของชุมชนและประเทศชาติต่อไป ดังพระราชดำรัสความว่า
 
:''"…..เราต้องการให้ทุกคนมีความมั่นคง มีความสุข อยู่ดีกินดี มีโอกาสในชีวิตที่จะได้รับความรู้ แล้วก็ฝึกฝนความสามารถ สามารถที่จะสร้างความก้าวหน้าให้แก่ตนเองได้เท่าเทียมกันทุกคน….."''
 
พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งโครงการร้านภูฟ้า เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆของโครงการ โดยใช้ตราสัญลักษณ์ "ภูฟ้า" เป็นเครื่องหมายการค้า และพระราชทานตำแนะนำในด้านการผลิต โดยเฉพาะการออกแบบผลิตภัณฑ์ว่าต้องสวยงามและประณีต
 
----
เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีผู้เขียนบทความเกี่ยวกับร้านภูฟ้า
ขอเชิญชม[เว็บของภูฟ้าร้่านภูฟ้า http://www.phufa.com/]
 
สำนักงาน ร้านภูฟ้า 123 สุขุมวิทซอย 7 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110
โทร 02 655 6242-3 โทรสาร 02 655 6244 หรือสาขา