ผลต่างระหว่างรุ่นของ "องค์การแรงงานระหว่างประเทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต ลบ: simple:International Labour Organization; ประทิ่นเปลี่ยนแปลง
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.
บรรทัด 1:
'''องค์การแรงงานระหว่างประเทศ''' หรือ '''ไอแอลโอ''' ([[ภาษาอังกฤษ]]:{{lang-en|International Labour Organization-; ILO}}) องค์การไอแอลโอ ตั้งขึ้นตั้งแต่ยังไม่มี[[องค์การสหประชาชาติ]] คือเมื่อ [[พ.ศ. 2462]] ([[ค.ศ. 1919]]) เป็นองค์การชำนาญเฉพาะเรื่อง องค์การแรกที่เข้าอยู่ในเครือสหประชาชาติ คือเมื่อ [[พ.ศ. 2489]] ([[ค.ศ. 1946]]) องค์การนี้มีอายุได้ 77 ปี ใน [[พ.ศ. 2539]] ในบรรดารัฐสมาชิกสหประชาชาติที่นับว่าเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง มี[[ประเทศไทย]]รวมอยู่ด้วย ประเทศอื่นในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ได้แก่ [[จีน]] [[อินเดีย]] [[ญี่ปุ่น]] และ[[นิวซีแลนด์]]
 
== ภารกิจหลัก ==
ภารกิจหลักของไอแอลโอ คือช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานทั่วโลกให้ได้รับความยุติธรรมจากสังคม ให้มีชีวิต และสภาพการทำงานที่ดีขึ้น ผลงานขององค์การทำให้ได้รับรางวัลโนเบล เพื่อสันติภาพ เมื่อ [[พ.ศ. 2512]] ([[ค.ศ. 1969]]) <ref>[http://nobelprize.org/nobel_prizes/peace/laureates/1969/labour-history.html History of Organization]</ref> ทั้งนี้โดยที่องค์การยึดมั่นในหลักการที่ว่า สันติสุขแห่งโลกจะเกิดขึ้นได้และมีความต่อเนื่องมั่นคงก็ด้วยการที่มีความยุติธรรมในสังคม มีฐานรากคือ ความเคารพในสิทธิมนุษยชน มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี มีสภาพการทำงานซึ่งเกื้อกูลความผาสุกของผู้ใช้แรงงาน การมีโอกาสทำงานและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
 
== ยุทธศาสตร์การปฏิบัติงานของไอแอลโอ ==
บรรทัด 8:
 
ไอแอลโอ จัดลำดับเรื่องสำคัญรีบด่วนไว้สามประการ คือ
* การจัดให้มีงานทำและขจัดความยากจน
* การคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน
* ส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิแห่งมนุษยชน
ในข้อแรกไอแอลโอ ช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในการฝึกอบรมผู้ใช้แรงงานให้มีประสิทธิภาพ ในข้อที่สอง ไอแอลโอ ช่วยประเทศต่างๆ ให้เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัย และให้ตระหนักถึงภัยที่เกิดจากการทำงานในโรงงาน ในข้อที่สามไอแอลโอช่วยเหลือในการออกกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน และอุตสาหกรรมสัมพันธ์ระหว่างแรงงานกับนายจ้าง สนับสนุนองค์การของผู้ใช้แรงงาน ได้กำหนดมาตรฐานสากลเกี่ยวกับแรงงาน ซึ่งช่วยในการสร้างเสริมประชาธิปไตยและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
บรรทัด 21:
 
{{องค์การสหประชาชาติ}}
{{รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ}}
 
[[หมวดหมู่:องค์การระหว่างประเทศ]]