ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์ของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 31:
ในระยะนี้เกิดนิตยสารเกย์เป็นจำนวนมาก เช่น นิตยสารมรกต (ชื่อเดิมเพทาย) และเกสร (นิตยสารในเครือมิถุนา) ปี 2529 มิดเวย์ ปี 2530 Him ปี 2531 เกิดนิตยสาร My way และในปีต่อมาได้แก่ The Guy ในช่วงกลางศตวรรษที่ 2530 ต่อมาได้พัฒนาเป็นนิตยสารสำหรับผู้อ่านกลุ่มผู้รักร่วมเพศ ได้แก่ Violet ลับเฉพาะชาวสีม่วง เมล์ (Male) ฮีท (Heat) ไวโอเล็ท ฮอทกาย แมน และจีอาร์ เป็นต้น และในช่วงศตวรรษที่ 2540 มีนิตยสารออกหลายฉบับอย่างเอ็มคอร์ เคเอกซ์เอ็ม ดิ๊ก เอชเอ็มแอนด์เอ็ม เกย์ และแม็กซ์ เป็นต้น
 
=== เกย์กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในสื่อ ===
[[ไฟล์:Nongthoomfairtex.jpg|thumb|น้องตุ้ม นักมวยสาวประเภทสอง]]
นอกเหนือจากสิ่งพิมพ์ในยุคเริ่มต้นแล้ว สังคมไทยเริ่มเข้าใจต่อกลุ่มผู้รักร่วมเพศที่ดีขึ้น แม้ในระยะแรกจะมีภาพทางลบ ในสื่อภาพยนตร์ยังถ่ายทอดเรื่องราว อย่างเรื่อง "เกมส์" ในปี พ.ศ. 2519 ซึ่งถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดเรื่องเกย์เป็นครั้งแรก แต่นำเสนอเกี่ยวกับความเสียใจของผู้หญิงที่มีความสัมพันธ์กับผู้ชายที่เป็นเกย์ ต่อมา[[พิศาล อัครเศรณี]] นำเสนอภาพยนตร์เกี่ยวกับสาวประเภทสองคณะโชว์[[คาบาเร่ต์]]แห่งเมืองพัทยา เรื่อง "[[เพลงสุดท้าย]]" ภาคที่ 1 และภาคที่ 2 ในปี พ.ศ. 2528 และปี พ.ศ. 2529 ตามลำดับ และต่อมา [[เสรี วงษ์มณฑา|ดร.เสรี วงษ์มณฑา]] นำเสนอละครเวทีที่โด่งดังอย่างมากเรื่อง "ฉันผู้ชายนะยะ" ในช่วงหลังปี พ.ศ. 2516 เริ่มปรากฏ[[นวนิยาย]]เรื่องรักร่วมเพศ ทั้งนำเสนอเรื่องราวของคนรักร่วมเพศโดยตรง และการนำมาใช้สร้างเป็นตัวละครในนวนิยาย<ref>[http://www.arts.chula.ac.th/~complit/thesis/thesis_th/2526.htm การใช้เรื่องรักร่วมเพศในนวนิยายไทย พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2525]</ref>