ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เปรียญธรรม 9 ประโยค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
-ปริญญาเอก
บรรทัด 3:
 
'''เปรียญธรรม ๙ ประโยค''' '' (ชื่อย่อ ป.ธ.๙) '' เป็นระดับชั้นสูงสุด ของการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย
ผู้สอบไล่ได้ในชั้นนี้[[กระทรวงศึกษาธิการ]]เทียบวุฒิให้เทียบเท่าระดับ[[ปริญญาตรี]] <ref>[http://www.ago.go.th/interest_law/sub/sub1/sub1_55.html พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗]</ref> คณะสงฆ์เคยมีการขอให้ปรับวุฒิผู้สอบไล่ได้ชั้นนี้ให้เทียบเท่าระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต<ref>[http://www.phrathai.net/node/391 เสนอเทียบเปรียญ 9 เท่าปริญญาเอก.เดลินิวส์]</ref> แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากผู้เกี่ยวข้อง แต่เปรียญธรรม ๙ ประโยค ก็ยังคงเป็นที่นับถือกันโดยพฤตินัยในวงการคณะสงฆ์ไทยว่าผู้สอบได้ในชั้นนี้เป็น "ปริญญาเอก" ของฝ่ายคณะสงฆ์ หรือเปรียบได้กับคฤหัสถ์ผู้ไล่ได้ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ของฝ่ายฆราวาส '' (ปริญญาเอก) ''<ref>ในบางมหาวิทยาลัยยอมรับวุฒิเปรียญธรรม ๙ ประโยคมากกว่าที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง เช่น ที่วิทยาลัยศาสนศึกษา และคณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] วิชาพุทธศาสตร์ฯ หลักสูตรนานาชาติ ซึ่งผู้สอบไล่ได้เปรียญธรรมเก้าประโยค สามารถสอบเพื่อเข้าเรียนต่อในขั้นปริญญาเอกได้ทันที โดยไม่จำต้องมีวุฒิปริญญามหาบัณฑิตได้</ref>
 
[[พระภิกษุ]]สามเณรผู้สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อเข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตร พัดเปรียญ ในพระ[[อุโบสถ]] [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] แล้ว จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ จัดเจ้าพนักงานขับ[[รถหลวง]] ส่งถึงยังอาราม