ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นามธารี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
Poonyo (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.
บรรทัด 1:
{{เก็บกวาด}}
 
 
'''นามธารี''' (Namdhari) เป็นนิกายหนึ่งของ[[ศาสนาซิกข์]] (Sikh) ศาสนาซิกข์นั้นเป็นศาสนาซึ่งมีชื่อตามลักษณะคำสอนของศาสนา เพราะคำว่า “ซิกข์” (Sikh) มีรากศัพท์มาจากคำว่า “สิข” เป็นภาษาปัญจาบีซึ่งเป็นภาษาหลักของศาสนา ตรงกับคำใน[[ภาษาบาลี]]ว่า “[[สิกขา]]” หรือใน[[ภาษาสันสกฤต]]ตรงกับคำว่า “ศิษย์” ซึ่งหมายถึง ผู้ศึกษา ผู้ใฝ่เรียน ลูกศิษย์หรือสาวก ดังนั้น ทุกคนจึงเป็นศิษย์ของครู หรือ “[[คุรุ]]” (Guru) ซึ่งหมายถึงองค์พระศาสดา และการเข้าถึงหลักการของศาสนาจะต้องผ่านทาง “[[คุรุ]]” หรือครูเท่านั้น จึงทำให้ต้องมี “[[คุรุ]]” สืบต่อมาโดยตลอดไม่ขาดช่วงจนถึงปัจจุบัน
 
นามธารี แปลว่า ผู้ซึ่งเทิดทูนธำรงค์รักษาให้ทรงไว้ซึ่งพระนามของพระผู้เป็นเจ้า หรือผู้ยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้า (“นาม” หมายถึง พระนามของพระผู้เป็นเจ้า ส่วน “ธารี” หมายถึงการธำรงค์รักษา) จึงกล่าวได้ว่า ชาวซิกข์-นามธารี คือผู้ที่มีความรัก เชื่อถือศรัทธา และยึดมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว โดยเชื่อฟังคำสั่งสอนขององค์พระศาสดาผู้ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ เสมือนอาจารย์ผู้สั่งสอนศิษย์ เพราะชาวซิกข์-นามธารีเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนต้องได้รับการศึกษาวิชาต่างๆ จากครูบาอาจารย์เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของการดำเนินชีวิต และการแสวงหาหนทางสู่ความหลุดพ้น ล้วนแล้วแต่ต้องมีครูผู้นำทางชีวิตทั้งสิ้น ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนในฐานะ “ศิษย์” จึงต้องมี “ครู” เพื่อชี้นำแนะแนวเส้นทางการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดหมายเสมอตลอดอายุขัย และการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าจะสำเร็จได้ก็ย่อมต้องผ่านทาง “[[คุรุ]]” หรือองค์พระศาสดาผู้เทิดทูน และยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น
 
 
== ประเภทศาสนา ==
 
ศาสนาซิกข์-นามธารีเป็นศาสนาประเภท เอกเทวนิยม (Monotheism) คือ เชื่อว่ามีพระเจ้าสูงสุดเพียงพระองค์เดียว แต่พระองค์มีหลายพระนามตามแต่คนจะเรียกขาน อีกทั้งศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารียังเชื่อว่าองค์พระศาสดาทุกพระองค์ล้วนเป็นปางอวตารของพระผู้เป็นเจ้า เสมือนหนึ่งเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้า
 
== ภาษา ==
 
== ภาษา ==
ใช้ภาษาของรัฐปัญจาบ ซึ่งเรียกว่า ภาษา [[ภาษาปัญจาบ| “ปัญจาบี”]] (Punjabi) เป็นหลัก (หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า [[อักษรคุรมุขี| “คุรุ มุขขิ”]] (Gur Mukhi) ซึ่งแปลว่า ภาษาของครู) ส่วนภาษารองขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่ศาสนิกชนอาศัยอยู่
 
== อาหารการกิน ==
 
== อาหารการกิน ==
เนื่องจากหลักของศาสนาซิกข์-นามธารีเน้นสอนให้มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ ศาสนิกชนจึงเป็นนัก[[มังสวิรัติ]]ประเภท [[มังสวิรัติ|Lacto Vegetarian]] คือรับประทานเพียงพืช ผัก ผลไม้ น้ำผึ้ง น้ำนม และผลิตภัณฑ์จากน้ำนมทุกประเภท แต่หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหาร และยาที่มีส่วนผสมของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เช่น ไข่ ปลา ไก่ หมู กุ้ง วัว เป็นต้น และหลีกเลี่ยงอาหารซึ่งมีโทษต่อร่างกาย เช่น ไม่สูบ[[บุหรี่]] ไม่ดื่ม[[เหล้า]] [[เบียร์]] [[ไวน์]] [[สุรา]] เป็นต้น รวมทั้งเครื่องดื่มต่างๆ ซึ่งมีส่วนผสมของ[[แอลกอฮอล์]] และ[[คาเฟอีน]] ([[น้ำอัดลม]] [[ชา]] [[กาแฟ]] [[เครื่องดื่มชูกำลัง]] ฯลฯ) ไม่เสพสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษทุกประเภท
 
== ศูนย์กลางแห่งศาสนา ==
 
== ศูนย์กลางแห่งศาสนา ==
เมือง “ศิริ แภณี ซาฮิบ” (Sri Bhani Sahib) ในจังหวัดลุเธียนา (Ludhiana) [[รัฐปัญจาบ]] ([[รัฐปัญจาบ|Punjab]]) ประเทศ[[อินเดีย]] ([[India]]) ซึ่งในปัจจุบันนอกจากจะเป็นที่ประทับขององค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ ยัคยีต ซิงห์ ยี แล้ว ยังมีศาสนสถาน และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในประวัติศาสตร์ซึ่งศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารี ตลอดจนนักจาริกแสวงบุญจากทั่วโลกมานมัสการ ร่วมบำเพ็ญเพียรสวดมนต์ และอ่านพระคัมภีร์อยู่เป็นประจำ
 
 
== ศาสนสถาน สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ==
 
ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีในประเทศไทยมักเรียกศาสนสถานของตนว่าวัด หรือ “คุรุ ทวารา” (Gur Dwara) ในภาษาปัญจาบีซึ่งหมายถึงประตูสู่หนทางแห่งพระผู้เป็นเจ้า โดยมีสถานที่ตั้งกระจายอยู่ตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่มีศาสนิกชนอาศัยรวมตัวกัน และถือว่า “คุรุ ทวารา” ทุกแห่งล้วนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
 
เส้น 32 ⟶ 29:
ใน “คุรุ ทวารา” นอกจากจะมีพื้นที่สำหรับให้ศาสนิกชนประกอบศาสนกิจแล้ว ยังมี “โรงทาน” (Langar) อยู่ภายในด้วย โดยก่อนเข้าโรงทาน ให้ทุกคนถอดรองเท้า และล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ซึ่งในโรงทานจะบริการอาหารโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายสำหรับศาสนิกชนทุกคน รวมไปถึงนักธุดงค์ นักเดินทาง และคณะที่มาเยี่ยมเยียน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเสมอภาค และความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง ในโรงทานแห่งนี้ไม่ว่าผู้เข้ามาจะมีฐานะสูงหรือต่ำ ยากดีมีจน ทุกคนล้วนรับประทานอาหารโดยใช้ จาน ช้อน แก้วน้ำ เหมือนกัน นั่งบนพี้นเสมอภาคร่วมกันเพื่อลบล้างความเชื่อเกี่ยวกับการแบ่งชั้นวรรณะในสังคม และจะมี “อาสาสมัครเพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทน” (Sewa Dar) คอยบริการเดินตักอาหาร หรือแจกน้ำดื่มให้ทุกคน และผู้มีจิตศรัทธายังสามารถผลัดเวรกันตักอาหาร แจกน้ำดื่มได้ตามความสมัครใจ ตลอดจนสามารถบริจาคทรัพย์ หรืออาหารสำเร็จรูป รวมไปถึงวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารได้ตามแรงศรัทธาด้วย โรงทานนี้ดำเนินการด้วยความร่วมใจ เสียสละของศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีโดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนมากไปกว่าการเติมเต็มความต้องการในด้านอาหารให้แก่ร่างกายของทุกคน
 
== พระ และนักบวชในศาสนา ==
 
== พระ และนักบวชในศาสนา ==
ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนสามารถประกอบศาสนพิธีต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกันเสมือนเพื่อนร่วมชั้นเรียนซึ่งมีเพียง “[[คุรุ]]” หรือองค์พระศาสดาเป็นผู้สั่งสอน พระองค์สนับสนุนให้ครองเรือน ไม่สนับสนุนการใช้ชีวิตโดดเดี่ยวสละโลก ศาสนาซิกข์-นามธารีจึงไม่มีพระหรือนักบวชในศาสนา ศาสนิกชนทุกคนต้องทำงานหาเลี้ยงชีพตนเองโดยสุจริต และทำงานเพื่อช่วยกันพัฒนาสังคม
 
เส้น 42 ⟶ 39:
ฉะนั้น สมณะ หรือพระสงฆ์ รวมถึงนักบวช และความคิดเรื่องการมีสมณะเพศ อันตรงข้ามกับคฤหัสถ์นั้นจึงไม่มีในศาสนาซิกข์-นามธารี ผู้สอนศาสนาจึงไม่มีเครื่องแบบเฉพาะพิเศษแตกต่างจากคนอื่น แม้นักบุญผู้หลุดพ้นก็ไม่ได้ถูกกำหนดให้ครองพรหมจรรย์ ในศาสนสถาน ศาสนิกชนทุกเพศทุกวัยสามารถร่วมประกอบศาสนพิธีได้อย่างเท่าเทียมด้วยความสมัครใจ ผู้อ่านพระคัมภีร์ หรือผู้ร้องเพลงสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าต่างล้วนไม่มีตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น
 
== วิถีชีวิต ==
 
== วิถีชีวิต ==
ชาวซิกข์-นามธารีทุกคนถูกปลูกฝังคุณธรรมเข้าไปในชีวิต และจิตวิญญาณตั้งแต่แรกเกิดเสียด้วยซ้ำ เพราะเหตุที่บิดามารดา และบรรพบุรุษก็ดำรงชีวิตอันเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม และความดีงาม รวมทั้งสอดคล้องต่อหลักธรรมชาติ และเน้นความเรียบง่ายตลอดมา ดังคำกล่าวที่ว่า “Simple living, High thinking”
เส้น 61 ⟶ 58:
{{commonscat|Sikhism|ศาสนาซิกข์}}
 
[[หมวดหมู่:ศาสนาซิกข์|นามธารี]]
 
{{โครงศาสนา}}