ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำฝนเทียม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Huzzlet the bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ko:인공강우
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''การทำฝนเทียม'''เป็นกรรมวิธี[[การดัดแปรสภาพอากาศ|ดัดแปรสภาพอากาศ]]เพื่อให้เกิด[[ฝน]] การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยทำจาก[[เมฆ]]ซึ่งมีลักษณะพอเหมาะที่จะเกิดฝนได้ จากนั้นจึงเร่งให้เกิด[[การควบแน่นของเมฆ]] ด้วย 3 ขั้นตอน คือ ก่อกวน, เลี้ยงให้อ้วน, และโจมตี มักทำใน 2 สภาวะ คือ การทำฝนเมฆเย็น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 [[องศาเซลเซียส]] และ การทำฝนเมฆอุ่น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส การทำฝนเทียมในสองสภาวะนี้จะใช้สารในการดัดแปรสภาพอากาศที่แตกต่างกัน<ref>[http://www.tkc.go.th/pageconfig/multimedia/showfile.asp?id=167&type=2 การทำฝนเทียม], สื่อการเรียนรู้ โดย[[ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ]]</ref>
 
 
== สารเคมีที่ใช้ในการทำฝนเทียม ==
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
'''สารเคมีประเภทคลายความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น''' (Exothermic chemical)
ปัจจุบันนี้มีใช้ในการทำฝนเทียมในประเทศไทย 3 ชนิด คือ
* แคลเซียมคาร์ไบด์ (Calcium carbide; CaC2)
* แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium Chloride; CaCl2)
* แคลเซียมออกไซด์ (Calcium Oxide; CaO)
'''สารเคมีประเภทดูดกลืนความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิต่ำลง''' (Endothermic Chemicals)
ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีประเภทนี้อยู่ 3 ชนิด คือ
* ยูเรีย (Urea; CO(NH2)2)
* แอมโมเนียไนเตรด (Ammoniumnitrate; NH4N03)
* น้ำแข็งแห้ง (Dry ice; CO2(S))
'''สารเคมีที่ทำหน้าที่ดูดซับความชื้นประการเดียว'''
* เกลือ (Sodium chloride; NaCl)
* สารเคมีสูตร ท.1
 
การทำฝนเทียมนั้นใช้เพื่อประโยชน์หลากหลาย เช่น การเกษตร ดับไฟป่า หรือกระทั่งเพื่อป้องกันการตกของฝนในวันที่กำหนด เช่นใน[[โอลิมปิกฤดูร้อน 2008]] ที่[[ประเทศจีน]]<ref>[http://en.beijing2008.cn/news/dynamics/headlines/n214124996.shtml China practices artificial rain reduction for sunny Olympics], [[สำนักข่าวซินหัว]], [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2550]]</ref>