ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
น้องท่าเหนือ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
น้องท่าเหนือ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
}}
'''วัดพระฝาง''' หรือชื่อเต็มว่า '''วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ''' ตั้งอยู่ที่บ้านฝาง หมู่ที่ 3 ต.ผาจุก [[อำเภอเมืองอุตรดิตถ์|อ.เมือง]] [[จ.อุตรดิตถ์]] เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่[[สมัยสุโขทัย]] ตามทะเบียนวัดระบุว่า ประมาณปี [[พ.ศ. 1700]] (ก่อนสมัย[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]])วัดพระฝางนับว่าเป็นกลุ่มโบราณสถานของเมืองฝางสวางคบุรี '' (สว่างคบุรี เพี้ยนมาจาก สวรรคบุรี) ''เพียงแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ วัดนี้ได้รับพระราชทาน[[วิสุงคามสีมา]]ในสมัยสุโขทัย และเป็นวัดพระมหาธาตุประจำเมืองสว่างคบุรี เมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัย[[กรุงสุโขทัย]]
[[ภาพ:Phra Fang Songkhrueang (จำลอง).jpg|150px|thumb| พระฝางองค์จำลองในปัจจุบัน]] และเคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ “เจ้าพระฝาง” เมืองสวางคบุรี ซึ่งอยู่ในสมณเพศแต่นุ่งห่มผ้าแดงและมิได้สึกเป็นฆราวาส ท่านได้ซ่องสุมผู้คนสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]แตกครั้งที่ 2 เพื่อจะกู้เอกราช วัดพระฝาง มีโบราณสถานที่สำคัญคือ[[โบสถ์]]มหาอุด (มีประตูทางเข้าบานเดียว) อยู่ด้านทิศตะวันตกของกลุ่มโบราณสถานตัวอุโบสถมีสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเดิมภายในอุโบสถเคยเป็นที่ประดิษฐาน[[พระพุทธรูปพระฝาง]] ซึ่งปัจจุบันตัวอุโบสถยังคงมีบานประตูไม้และหน้าบันแกะสลักสมัยอยุธยาอันสวยงามอยู่ บริเวณกลางกลุ่มโบราณสถานมีพระมหาธาตุเจดีย์ เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระเจดีย์องค์เดิมปรักหักพังไปมากจึงมีการบูรณะใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 และด้านทิศตะวันออกของกลุ่มโบราณสถานมีพระวิหารหลวง เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป[[เชียงแสน]] ปัจจุบันในพระวิหารหลวงมีบานประตูไม้แกะสลักวัดพระฝาง (เป็นบานประตูบานจำลอง สร้างเสร็จในปี [[พ.ศ. 2551]] เพื่อนำมาติดตั้งแทนที่บานประตูเดิมที่ได้นำไปเก็บรักษาที่[[วัดธรรมาธิปไตย]]ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2494]])
ปัจจุบันวัดพระฝางได้รับขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52 ลงวันที่ [[8 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2478]] มีพื้นที่ได้รับประกาศเป็นโบราณสถานประมาณ 32 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00174882.PDF ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน], เล่ม ๑๒๒, ตอนพิเศษ ๑๒๖, ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๒</ref>
 
บรรทัด 50:
 
== ปูชนียสถาน โบราณวัตถุ ==
[[ไฟล์:พระเจดีย์วัดพระฝาง.jpg|thumb|เจดีย์พระธาตุพระฝาง แต่เดิมสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบ[[สุโขทัย]] คาดว่าเปลี่ยนมาเป็นทรง[[ลังกา]]ในสมัย[[พระเจ้าบรมโกศ]][[[ภาพ:Phra Fang Songkhrueang (จำลอง).jpg|150px|thumb| พระฝางองค์จำลองในปัจจุบัน]] และได้รับการบูรณะอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4]] "เจดีย์พระธาตุวัดพระฝาง" ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ
"วิหารใหญ่และพระอุโบสถเก่า" สำหรับวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยลักษณะเดียวกับวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
แต่เดิมมีพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนประดิษฐานอยู่ แต่ปัจจุบันได้ถูกโจรกรรมไปแล้ว ด้านหลังวิหารเป็นองค์พระธาตุ มีกำแพงล้อมรอบ บริเวณหลังสุดมีพระอุโบสถเก่าอยู่อีกหลังหนึ่ง สภาพโดยทั่วไปชำรุดทรุดโทรมมาก เดิมมีบานประตูแกะสลักสวยงาม แต่ก็ได้ถูกขโมยไปแล้วเช่นกัน ด้านหน้าโบสถ์มีต้นมะม่วงใหญ่อายุหลายร้อยปีอยู่ต้นหนึ่ง บริเวณรอบนอกวัดด้านหลังเป็นป่าละเมาะ ส่วนด้านหน้ามีบ้านคนอยู่บ้างแต่ไม่หนาแน่น