ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดเวฬุวัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
เวฬุวัน ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น วัดเวฬุวันมหาวิหาร ทับหน้าเปลี่ยนทาง
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
[[ภาพ:Venuvana1.jpg|200px|thumb|left|กลุ่มป่าไผ่ร่มรื่น ในกลุ่มโบราณสถานวัด[[เวฬุวัน]]มหาวิหาร]]
 
'''วัดเวฬุวันมหาวิหาร''' เป็นอาราม ([[วัด]]) แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพง[[เมืองเก่าราชคฤห์]] (อดีตเมืองหลวงของ[[แคว้นมคธ]]) [[รัฐพิหาร]] [[ประเทศอินเดีย]]ในปัจจุบัน (หรือ [[แคว้นมคธ]] [[ชมพูทวีป]] ในสมัย[[พุทธกาล]]) <ref>Bagri, S.C. Buddhist Pilgrimages & Tours in India. Nodida : Trishul Publication, 1992</ref>
'''เวฬุวัน''' แปลว่า สวน[[ไผ่]] เป็นพระราชอุทยานของ[[พระเจ้าพิมพิสาร]] กษัตริย์[[แคว้นมคธ]]
 
'''เวฬุวัน''' อยู่นอกเมือง[[ราชคฤห์]] แคว้นมคธ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารเข้าไปเฝ้า หลังจากทรงสดับธรรมแล้วทรงเลื่อมใสจึงถวายสวนเวฬุวันเป็นพุทธบูชา ด้วยทรงเห็นว่าเป็นที่สงบร่มรื่น เหมาะสำหรับอยู่บำเพ็ญธรรมของ[[พระสงฆ์]] ถือกันต่อมาว่าสถานที่นี้เป้นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า '''วัดเวฬุวัน'''
 
'''คำว่า เวฬุวัน''' แปลว่า สวน[[ไผ่]] เดิมอารามแห่งนี้เป็นพระราชอุทยานของ[[พระเจ้าพิมพิสาร]] กษัตริย์[[แคว้นมคธ]] ตั้งอยู่นอกเมือง[[ราชคฤห์]] แคว้นมคธ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารเข้าไปเฝ้า หลังจากทรงสดับธรรมแล้วทรงเลื่อมใสจึงถวายสวนเวฬุวันเป็นพุทธบูชา ด้วยทรงเห็นว่าเป็นที่สงบร่มรื่น เหมาะสำหรับอยู่บำเพ็ญธรรมของ[[พระสงฆ์]] ถือกันต่อมาว่าสถานที่นี้เป้นเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฬุวันมหาวิหาร นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดง[[โอวาทปาติโมกข์]]แก่[[พระสาวก]]จำนวน 1,250 รูป แล้วส่งไปเป็นพระธรรมทูตประกาศพระศาสนา อันเป็นที่มาของ[[วันมาฆบูชา]]<ref>[[พระธรรมกิตติวงศ์]] (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ [[ราชบัณฑิต]] ''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด '''คำวัดเวฬุวัน,''' '' [[วัดราชโอรสาราม]] กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548</ref>
'''เวฬุวัน''' เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดง[[โอวาทปาติโมกข์]]แก่[[พระสาวก]]จำนวน 1250 รูป แล้วส่งไปเป็นพระธรรมทูตประกาศพระศาสนา อันเป็นที่มาของ[[วันมาฆบูชา]]
 
'''วัดเวฬุวัน'''มหาวิหาร ปัจจุบันยังคงอยู่ เป็นสวนไผ่ที่ร่มรื่น มีสระน้ำขนาดใหญ่ภายใน มีรั้วรอบด้าน อยู่ในความดูแลของทางราชการ[[อินเดีย]]
 
== วัดเวฬุวันในสมัยพุทธกาล ==
 
เดิมวัดเวฬุวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จประพาสของ[[พระเจ้าพิมพิสาร]] เป็นสวนป่า[[ไผ่]]ร่มรื่นมีรั้วรอบและกำแพงเข้าออก เวฬุวันมีอีกชื่อหนึ่งปรากฏในพระสูตรว่า "พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน"<ref>[http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=10725&Z=11069 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ '''ธนัญชานิสูตร''']</ref> หรือ "เวฬุวันกลันทกนิวาป" (สวนป่า[[ไผ่]]สถานที่สำหรับให้เหยื่อแก่[[กระแต]]) <ref>[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=292 อรรถกถาพระไตรปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ โอปัมมวรรค '''อรรถกถารถวินีตสูตร''']</ref> พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยาน<ref>[http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=1336&Z=1357 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ '''ทรงรับพระเวฬุวันเป็นสังฆิกาวาส''']</ref>แห่งนี้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาหลังจากได้สดับพระธรรมเทศนา[[อนุปุพพิกถา]]และ[[จตุราริยสัจจ์]]<ref>[http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=1216&Z=1276 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑]</ref> ณ พระราชอุทยานลัฏฐิวัน (พระราชอุทยานสวนตาลหนุ่ม) โดยในครั้งนั้นพระองค์ได้บรรลุ[[พระโสดาบัน]] เป็น[[พระอริยบุคคล]]ในพระพุทธศาสนา และหลังจากการถวายกลันทกนิวาปสถานไม่นาน อารามแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์ประชุมจาตุรงคสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา อันเป็นเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา
==อ้างอิง==
 
* [[พระธรรมกิตติวงศ์]] (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ [[ราชบัณฑิต]] ''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด '''คำวัด,''' '' [[วัดราชโอรสาราม]] กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
== วัดเวฬุวันหลังการปรินิพพาน ==
 
หลังพระพุทธเจ้าเสด็จ[[ปรินิพพาน]] วัดเวฬุวันได้รับการดูแลมาตลอด โดยเฉพาะ[[มูลคันธกุฎี]]ที่มีพระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏิบัติต่อสถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทุก ๆ แห่ง เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่มิได้ขาด โดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ติดต่อกันกว่าพันปี
 
แต่จากเหตุการณ์ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้งในช่วง [[พ.ศ. 70]] ที่เริ่มจากอำมาตย์และราษฎรพร้อมใจกันถอดกษัตริย์นาคทัสสก์แห่งราชวงศ์ของพระเจ้าพิมพิสารออกจากพระราชบัลลังก์ และยกสุสูนาคอำมาตย์ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวีในกรุงเวสาลีแห่งแคว้นวัชชีเก่า ให้เป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่แล้ว พระเจ้าสุสูนาคจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมืองเวสาลีอันเป็นเมืองเดิมของตน และกษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค ได้ย้ายเมืองหลวงของ[[แคว้นมคธ]]อีก จากเมืองเวสาลีไปยังเมืองปาตลีบุตร ทำให้เมืองราชคฤห์ถูกลดความสำคัญลงและถูกทิ้งร้าง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัดเวฬุวันขาดผู้อุปถัมภ์และถูกทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงพันปีถัดมา<ref>[[พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)]].พุทธสถานในอินเดีย - เวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2541.</ref>
 
โดยปรากฏหลักฐานบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien) ที่ได้เข้ามาสืบศาสนาในพุทธภูมิในช่วงปี [[พ.ศ. 942]] - [[พ.ศ. 947|947]] ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๒ (พระเจ้าวิกรมาทิตย์) แห่งราชวงศ์คุปตะ ซึ่งท่านได้บันทึกไว้ว่า เมืองราชคฤห์อยู่ในสภาพปรักหักพัง แต่ยังทันได้เห็นมูลคันธกุฎีวัดเวฬุวันปรากฏอยู่ และยังคงมีพระภิกษุหลายรูปช่วยกันดูแลรักษาปัดกวาดอยู่เป็นประจำ แต่ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกถึงสถานที่เกิดเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตแต่ประการใด
 
แต่หลังจากนั้นประมาณ 200 ปี วัดเวฬุวันก็ถูกทิ้งร้างไป ตามบันทึกของ[[พระถังซำจั๋ง]] (Hiuen-Tsang) ​ซึ่งได้จาริกมาเมืองราชคฤห์ราวปี [[พ.ศ. 1300]] ซึ่งท่านบันทึกไว้แต่เพียงว่า ท่านได้เห็นแต่เพียงซากมูลคันธกุฎีซึ่งมีกำแพงและอิฐล้อมรอบอยู่เท่านั้น (ในสมัยนั้นเมืองราชคฤห์โรยราถึงที่สุดแล้ว พระถังซำจั๋งได้แต่เพียงจดตำแหน่งที่ตั้งทิศทางระยะทางของสถูปและโบราณสถานเก่าแก่อื่น ๆ ในเมืองราชคฤห์ไว้มาก ทำให้เป็นประโยชน์แก่นัก[[ประวัติศาสตร์]]และนัก[[โบราณคดี]]ในการค้นหาโบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองราชคฤห์ในปัจจุบัน)
 
==== จุดแสวงบุญและสภาพของวัดเวฬุวันในปัจจุบัน ====
 
ปัจจุบันหลังถูกทอดทิ้งเป็นเวลากว่าพันปี และได้รับการบูรณะโดยกองโบราณคดีอินเดียในช่วงที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของ[[อังกฤษ]] วัดเวฬุวัน ยังคงมีเนินดินโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขุดค้นอีกมาก สถานที่สำคัญ ๆ ที่พุทธศาสนิกชนในปัจจุบันนิยมไปนมัสการคือ "พระมูลคันธกุฎี" ที่ปัจจุบันยังไม่ได้ทำการขุดค้น เนื่องจากมีกุโบร์ของชาว[[มุสลิม]]สร้างทับไว้ข้างบนเนินดิน, "สระกลันทกนิวาป" ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้ทำการบูรณะใหม่อย่างสวยงาม, และ "ลานจาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นลานเล็ก ๆ มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปยืน[[ปางประทานพร]]อยู่กลางซุ้ม ลานนี้เป็นจุดสำคัญที่ชาวพุทธนิยมมาทำการเวียนเทียนสักการะ (ลานนี้เป็นลานที่กองโบราณคดีอินเดียสันนิษฐานว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในจุดนี้) <ref>ไพโรจน์ คุ้มไพโรจน์.ตามรอยบาทพระศาสดา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา, 2539.</ref>
 
== จุดที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา (ลานจาตุรงคสันนิบาต) ==
 
ถึงแม้ว่าเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตจะเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งที่เกิดในบริเวณวัดเวฬุวันมหาวิหาร แต่ทว่าไม่ปรากฏรายละเอียดในบันทึกของสมณทูตชาวจีนและใน[[พระไตรปิฎก]]แต่อย่างใดว่าเหตุการณ์ใหญ่นี้เกิดขึ้น ณ จุดใดของวัดเวฬุวัน รวมทั้งจากการขุดค้นทางโบราณคดีก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการทำเครื่องหมาย (เสาหิน) หรือสถูประบุสถานที่ประชุมจาตุรงคสันนิบาตไว้แต่อย่างใด (ตามปกติแล้วบริเวณที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา มักจะพบสถูปโบราณหรือเสาหิน[[พระเจ้าอโศกมหาราช]]สร้างหรือปักไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายสำคัญสำหรับผู้แสวงบุญ) ทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทราบโดยแน่ชัดว่าเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตเกิดขึ้นในจุดใดของวัด
 
ในปัจจุบันกองโบราณคดีอินเดียได้แต่เพียงสันนิษฐานว่า "เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดในบริเวณลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป" (โดยสันนิษฐานเอาจากเอกสารหลักฐานว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีพระสงฆ์ประชุมกันมากถึงสองพันกว่ารูป และเกิดในช่วงที่พระพุทธองค์พึ่งได้ทรงรับถวายอารามแห่งนี้ การประชุมครั้งนั้นคงยังต้องนั่งประชุมกันตามลานในป่าไผ่ เนื่องจากเสนาสนะหรือโรงธรรมสภาขนาดใหญ่ยังคงไม่ได้สร้างขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป เป็นลานกว้างลานเดียวในบริเวณวัดที่ไม่มีโบราณสถานอื่นตั้งอยู่) โดยได้นำพระพุทธรูปยืนปางประทานพรไปประดิษฐานไว้บริเวณซุ้มเล็ก ๆ กลางลาน และเรียกว่า "ลานจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าลานจาตุรงคสันนิบาตที่แท้จริงอยู่ในจุดใด และยังคงมีชาวพุทธบางกลุ่มสร้างซุ้มพระพุทธรูปไว้ในบริเวณอื่นของวัดโดยเชื่อว่าจุดที่ตนสร้างนั้นเป็นลานจาตุรงคสันนิบาตที่แท้จริง แต่พุทธศาสนิกชนชาวไทยส่วนใหญ่ก็เชื่อตามข้อสันนิษฐานของกองโบราณคดีอินเดียดังกล่าว โดยนิยมนับถือกันว่าซุ้มพระพุทธรูปกลางลานนี้เป็นจุดสักการะของชาวไทยผู้มาแสวงบุญจุดสำคัญ 1 ใน 2 แห่งของเมืองราชคฤห์ (อีกจุดหนึ่งคือพระมูลคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ) <ref>อมตานันทะ,พระ และคณะ. เอกสารโครงการค้นคว้าพุทธสถานในแดนพุทธองค์ทางวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : เอกสารตีพิมพ์ถ่ายสำเนาจากต้นฉบับ, ม.ป.ป.</ref>
 
<gallery>
ไฟล์:Rajgirbuddha.jpg|พระพุทธรูปยืนกลางมณฑล[[โบราณสถาน]]วัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร อินเดีย (เป็นพระพุทธรูปสร้างใหม่ ปัจจุบันเป็นปูชนียวัตถุสำคัญของวัดเวฬุวัน)
ไฟล์:Venuvana1.jpg|กลุ่มป่าไผ่ในวัดเวฬุวันมหาวิหาร ที่มาของชื่อเวฬุวัน (วัดป่าไผ่ หรือวัดไผ่ล้อม)
ไฟล์:Venuvana.jpg|สระโบกขรณีกลันทกนิวาป (สระน้ำ) กลางวัดเวฬุวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าเคยแสดงพระสูตรหลายพระสูตรที่นี่
ไฟล์:Buddha-image at Venuvana Rajgir, Bihar, India.jpg|ซุ้มพระพุทธรูปภายในโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร
</gallery>
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ]]
* [[วันมาฆบูชา]] เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวัดเวฬุวันมหาวิหาร
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:สถานที่แสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ]]
[[หมวดหมู่:รัฐพิหาร]]
[[หมวดหมู่:สถานที่ทางพุทธศาสนา|วเวฬุวัน]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์พุทธศาสนา|วเวฬุวัน]]